SHARE

คัดลอกแล้ว

ปี 2561 ผู้นำหญิงของบริษัทต่าง ๆ ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นจาก 31% เป็น 42% ทำให้ไทยมีสัดส่วนผู้นำหญิงในภาคเอกชนเป็นอันดับ 3 ของโลก ตามรายงานของ Woman in Business 2018 ของ Grant Thornton International

ทีมข่าวเวิร์คพอยท์พามาดูสัดส่วนผู้นำหญิงในภาครัฐกันบ้าง

ที่มา:
[1] Grant Thornton International Business Report’s Woman in Business 2018

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดที่ 6 ซึ่งเป็นชุดปัจจุบัน ปรากฏรายชื่อสมาชิกหญิง 13 คนจาก 250 ที่นั่ง คิดเป็น 5.3% ส่วนอีกเกือบ 95% ที่เหลือเป็นชาย

ตัวเลขของผู้ออกกฎหมายหญิงในสภาชุดนี้น้อยจนติดอันดับโลก โดยจากการจัดอันดับขององค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ (Inter-Parliamentary Union) พบว่า อยู่ที่อันดับ 184 จาก 190 ประเทศ ซึ่งประเทศที่มีสัดส่วนผู้หญิงในสภาน้อยกว่าไทย ได้แก่ เกาะโซโลมอน คูเวต เฮติ โอมาน เยเมน วานูอาตู ปาปัวนิวกินี และไมโครนีเซีย ที่ครองอันดับต่ำสุดร่วมกัน เนื่องจากไม่มีผู้หญิงในสภาเลย

สำหรับก่อนหน้านี้ พบว่าประเทศไทยเคยมีผู้แทนหญิงในสภามากที่สุดในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยในสภาผู้แทนราษฎรมีผู้หญิง 79 คน และในวุฒิสภามีผู้หญิงอีก 23 คน

ที่มา:
[1] รายชื่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ชุดที่ 6) 2557 จากเว็บไซต์สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
[2] ใครออกกฎหมาย? 2: ส่องสนช. ‘สภาอาวุโส’ วัยหลังเกษียณ 75% พบแก่สุด 92 ปี อ่อนสุด 51 ปี โดย iLaw
[3] ฐานข้อมูล Inter-Parliamentary Union

คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบัน ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีกระทรวงต่าง ๆ จำนวน 36 ตำแหน่ง พบว่า 35 ตำแหน่งเป็นเพศชาย มีเพียงรัฐมนตรีช่วยกระทรวงพาณิชย์เท่านั้นที่เป็นเพศหญิง

อย่างไรก็ดี รัฐมนตรีชุดก่อนหน้าในสมัยของ พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา ชุดก่อน ๆ เคยมีการแต่งตั้งสตรีเป็นรัฐมนตรีอีก 3 คน ได้แก่ นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นางอภิรดี ตันตราภรณ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ ดร.อรรชกา สีบุญเรือง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 60 ตลอดสมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีการแต่งตั้งรัฐมนตรีหญิง 8 คน ส่วนคณะรัฐมนตรีที่ 59 สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีการแต่งตั้งรัฐมนตรีหญิงทั้งสิ้น 5 คน

ที่มา:
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

ด้านตำแหน่งปลัดกระทรวงซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดฝ่ายข้าราชการพลเรือน พบว่าปัจจุบันมีปลัดกระทรวงหญิงจำนวน 3 กระทรวงจากทั้งหมด 20 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักนายกรัฐมนตรี

ที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์เคยมีปลัดกระทรวงหญิงติดต่อกันถึง 7 ปี และในหลายกระทรวง เช่น กระทรวงยุติธรรม สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม เป็นต้น ต่างก็เคยมีปลัดกระทรวงเป็นเพศหญิง ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง

มีเพียงบางกระทรวงที่ไม่เคยปรากฏมีปลัดกระทรวงเป็นเพศหญิงเลย เช่น กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน และกระทรวงมหาดไทย

นอกจากกรุงเทพมหานครแล้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดอีกทั้ง 76 จังหวัดเป็นชายเสียส่วนใหญ่ มีเพียง นางสุกานดา วรเชษฐบัญชา ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงครามเพียงคนเดียวที่เป็นเพศหญิง

ประเทศไทยมีผู้ว่าราชการจังหวัดหญิงคนแรกตั้งแต่ปี 2536 กินเวลา 3 ปี จึงจะมีผู้ว่าราชการจังหวัดหญิงคนที่ 2 ในปี 2539 เมื่อผู้ว่าฯ หญิงทั้งสองเกษียนอายุราชการในปี 2543 ก็ไม่มีสตรีดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ อีกเลยเป็นเวลา 7 ปี และสถิติการตั้งผู้ว่าฯ หญิงตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา ไม่เคยเกินปีละคนสองคน

อย่างไรก็ดี ปัจจุบันมีผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นเพศหญิงจำนวน 10 คน ทำให้มีแนวโน้มว่าความหลากหลายทางเพศในตำแหน่งนี้ จะดีขึ้นในอนาคต

กรณีเพศหลากหลาย ไม่เคยมีบันทึกอย่างเปิดเผยในตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด แต่ก็ปรากฏผู้หญิงข้ามเพศดำรงตำแหน่งข้าราชการท้องที่ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 3 ตำบลท้ายบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ อย่างเปิดเผย

ที่มา:
[1] รายนามผู้ว่าราชการจังหวัด กระทรวงมหาดไทย 
[2] https://www.thairath.co.th/content/226058

องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และองค์การปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ (กรุงเทพ และพัทยา) รวมทั้งสิ้น 7851 หน่วยงาน

ในที่นี้ มีผู้ดำรงตำแหน่ง “นายก” เป็นเพศหญิงทั้งหมด 529 คน คิดเป็น 6.74% นอกจากนี้ยังมีที่ว่าง 674 ที่นั่ง เนื่องจากมีการระงับการเลือกตั้งส่วนท้องถิ่นหลังการเข้ามาของคสช.

ส่วนตำแหน่งนายกฯ ที่เป็นเพศลากหลายยังไม่มีข้อมูลที่รวบรวมอย่างเป็นทางการ ก่อนหน้านี้เคยมี “นก ยลลดา” สมาชิกสภา อบจ.น่าน เป็นผู้หญิงข้ามเพศ

*ตัวเลขจำนวนองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศที่เผยแพร่ใน เว็บไซต์กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ระบุว่ามีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด 7,852 ส่วนข้อมูลที่ทีมข่าวเวิร์คพอยท์ใช้ ได้รับมาจากกองการเลือกตั้งท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น

จากข้อมูลของกระทรวงการต่างประเทศ พบว่ามีเอกอัครราชทูตไทยที่อยู่ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ทั้งหมด 53 ราย ในจำนวนนี้มีเอกอัครราชทูตหญิง 10 ราย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า