SHARE

คัดลอกแล้ว

เครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ เปิดข้อมูลลับบ้านป่าแหว่ง เดินหน้านำหลักฐานยื่น ป.ป.ช. และ สตง. ตรวจสอบการประมูล – สัญญาจ้างเอกชน ปกปิดข้อมูล

วันที่ 29 กันยายน 2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ จัดประชุมเรื่อง “จะปิดบัญชีป่าแหว่งอย่างไร” โดยมีแกนนำสำคัญ อาทิ นายธีรศักดิ์ รูปสุวรรณ ผู้ประสานงานเครือข่ายฯ นายบัณรส บัวคลี่ โฆษกเครือข่ายฯ และตัวแทนจากองค์กรต่างๆ ที่เป็นเครือข่ายฯ ร่วม เข้าร่วมประชุมเพื่อสรุปประเด็นปัญหา กรณีการก่อสร้างบ้านข้าราชการตุลาการ 45 หลัง และอาคารชุด 9 หลัง บริเวณเชิงดอยสุเทพ ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

หลังการประชุมเครือข่ายฯ ได้จัดแถลงข่าว ระบุเครือข่ายมีมติให้ส่งตัวแทนยื่นร้องเรียน กรณีการคัดเลือกผู้รับเหมาออกแบบและก่อสร้างโครงการบ้านพักข้าราชการตุลาการ “บ้านป่าแหว่ง” ไม่โปร่งใส ไม่ได้แจ้งรายละเอียดการประมูลให้ครบถ้วน เข้าสู่ระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (e-GP) ปิดบังข้อมูลในขั้นตอนคัดเลือก และส่อว่าอาจจะมีการเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนผู้รับเหมาทั้งในระยะออกแบบ และการก่อสร้าง

กรณีแรก เครือข่ายฯ พบว่า นายวิทยา เกื้อกูลธเนศ ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานออกแบบและก่อสร้างสำนักงานศาลยุติธรรม เป็นเพื่อนร่วมรุ่นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย (อุเทน 46) กับ นายวิศัลย์ ศศิธรานนท์ ผู้บริหารและกรรมการผู้มีอำนาจ บริษัท เกทเวย์ อาร์คิเท็ค จำกัด ซึ่งได้รับคัดเลือกเป็นผู้ออกแบบโครงการบ้านพักข้าราชการตุลาการ มีหลักฐานภาพถ่ายและข่าวในสื่อมวลชนแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของคนทั้งคู่ ได้ร่วมกิจกรรมต่างๆ ด้วยกัน

ข้อสงสัยสำคัญคือ การได้รับการคัดเลือกให้รับงานออกแบบโครงการ “บ้านป่าแหว่ง” ในครั้งนั้น ไม่ปรากฏในระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (e-GP) แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อได้ตรวจสอบเพิ่มพบว่า บริษัท เกทเวย์ อาร์คิเท็ค จำกัด เคยรับงานและเป็นคู่สัญญากับสำนักงานศาลยุติธรรมอีกอย่างน้อย 2 ครั้ง ปรากฏในระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

การออกแบบโครงการบ้านพักข้าราชการตุลาการ “บ้านป่าแหว่ง” ที่ประสบปัญหาจนเกิดความล่าช้า ใช้เวลาก่อสร้างนานร่วม 5 ปี จากกำหนดเดิมไม่เกิน 2 ปี และต้องเปลี่ยนแปลงรายละเอียดสัญญาหลายครั้งปรากฏในบันทึกท้ายสัญญา ทั้งยังพบว่าบ้านพักหลายหลังตั้งบนพื้นที่ลาดชันไม่เหมาะสม จึงควรจะมีการตรวจสอบว่า ในขั้นตอนการกำหนดขอบเขตงานออกแบบก่อสร้างมีข้อผิดพลาดไม่เป็นไปตามหลักวิชาการ หรือมีการเอื้อประโยชน์กำหนดคุณสมบัติเอกชนผู้รับงานหรือไม่

กรณีที่สอง การประกวดราคาหาผู้รับเหมาโครงการก่อสร้างบ้านพักข้าราชการตุลาการ และอาคารที่ทำการศาลอุทธรณ์ภาค 5 ไม่โปร่งใส แบ่งโครงการออกเป็น 3 สัญญา ได้เอกชนรายเดียวกันเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง และมีการปกปิดข้อมูลไม่แจ้งเข้าระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (e-GP) ซึ่งทำให้ไม่สามารถเข้าถึงรายละเอียดว่า เหตุใดจึงได้เอกชนรายเดิมในการประมูลสัญญาที่ 2 และ 3

โครงการนี้มีการแบ่งเป็น 3 สัญญา คือ สัญญาแรกทำกันเมื่อ 19 มิถุนายน 2556 ให้ก่อสร้างบ้านพักระดับประธานและรองฯ จำนวน 9 หลัง บวกกับอาคารชุด 64 หน่วย มูลค่า 342,432,710.28 บาท ขั้นตอนการประกวดราคา มีผู้ซื้อซอง 26 ราย ยื่นจริง 4 ราย ได้บริษัท พี.เอ็น.เอส.ไซน์ จำกัด เป็นผู้ชนะและได้รับคัดเลือกทำสัญญา

โครงการแรก ได้แจ้งรายละเอียดเข้าระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐครบถ้วน ยังทำให้สื่อมวลชน เช่น สำนักข่าวอิศรา และเพจปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน เคยใช้รายงานสกู๊ปข่าวนี้เมื่อต้นปีที่ผ่านมา แต่ปรากฏว่าสัญญาที่ 2 ก่อสร้างบ้านพักและอาคารชุดส่วนที่เหลือ มูลค่า 321,670,000 บาท ซึ่งจัดขึ้นในช่วงต้นปี 2557 กับสัญญาที่ 3 ก่อสร้างอาคารสำนักงานศาลอุทธรณ์ภาค 5 มูลค่า 290,885,000 บาท เมื่อกลางปี 2557 กลับไม่มีรายละเอียดแจ้งลงในระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (e-GP) ให้ครบถ้วน โดยเฉพาะรายละเอียดการยื่นเสนอราคา จำนวนเอกชนที่ซื้อซองและเอกชนที่ยื่นราคา เพราะว่าในที่สุดเอกชนรายเดิมที่ได้สัญญาแรกคือ บริษัท พี.เอ็น.เอส.ไซน์. จำกัด ได้สัญญาก่อสร้างทั้งหมดไป

นายธีรศักดิ์ รูปสุวรรณ (ซ้าย) ผู้ประสานงานเครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ, นายบัณรส บัวคลี่ (ขวา) โฆษกเครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ

การปกปิดข้อมูลสำคัญไม่แจ้งเข้าระบบเพื่อให้สาธารณะตรวจสอบได้ เป็นข้อพิรุธที่สมควรให้หน่วยงานตรวจสอบเข้ามาดำเนินการให้เกิดความกระจ่าง

กระทั่งล่าสุด สำนักงานศาลยุติธรรมยังไม่สามารถรับมอบงานจากผู้รับเหมาได้ตามกำหนด ทั้งที่มีการต่อเวลาก่อสร้างนานกว่า 3 ปี รอบสุดท้ายกำหนดแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2561 การก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ แต่ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลว่า ได้ต่ออายุสัญญาหรืออนุญาตให้เอกชนผู้รับเหมาดำเนินการต่อเช่นไร เพราะตามสัญญาที่ทำไว้ หากบริษัทผู้รับเหมาไม่สามารถส่งมอบงานก่อสร้างบ้านพักเดี่ยวและอาคารชุดได้ทันกำหนด จะต้องถูกปรับเงินและค่าใช้จ่ายจ้างผู้คุมงานตกรวมกันถึงวันละประมาณ 350,000 บาท คำนวณเป็นตัวเงินกรณีต้องปรับ นับจากวันที่ 18 มิถุนายนมาจนถึงประมาณสิ้นเดือนสิงหาคม ซึ่งก็ยังไม่สามารถส่งมอบได้ คิดเป็นเงินกว่า 25 ล้านบาท

นายธีรศักดิ์ กล่าวว่า เครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ ขอเรียกร้องให้สำนักงานศาลยุติธรรมเปิดเผยข้อมูลส่วนนี้ให้เป็นที่รับรู้ และขอให้เร่งรัดส่งมอบงานจากผู้รับเหมาให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ขณะเดียวกันเครือข่ายฯ จะรวบรวมเอกสารหลักฐานทั้งหมด ยื่นต่อ ป.ป.ช. และ สตง. ในวันที่ 1 ตุลาคมนี้

 

อ่านข่าว “บ้านป่าแหว่ง” ทั้งหมด คลิก

 

ติดตามข่าวอื่นได้ที่
เว็บไซต์: workpointnews.com
เฟซบุ๊ก: ข่าวเวิร์คพอยท์ ตลาดข่าว
ยูทูบ: workpoint news
ทวิตเตอร์: workpoint news
อินสตาแกรม: workpointnews

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า