SHARE

คัดลอกแล้ว

หลังมีครูกลุ่มหนึ่ง ประกาศปฏิญญามหาสารคามขอพักชำระหนี้ ช.พ.ค. จนทำให้หลายฝ่ายแสดงความกังวล เพราะการไม่ชำระหนี้ ตามกฎหมายนั้นจะกลายเป็น “บุคคลล้มละลาย” มีวิธีที่จะทำให้ไม่ต้องเข้าสู่วงจร “ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย” ได้อย่างไร  

เมื่อเป็นหนี้แล้ว จะเป็นหนี้อย่างเป็นสุขได้อย่างไร ?  ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท.  แนะนำลูกหนี้ ไม่เฉพาะแค่ “ครู” ไว้ดังนั้น

  1. ทำความเข้าใจก่อนลงนามในสัญญา เช่น ระยะเวลาที่ให้กู้ มีกำหนดวันชำระเงิน และความถี่ในการชำระเงิน
  2. ใช้เงินตามวัตถุประสงค์ คือ ใช้เงินตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจไว้ และไม่ควรแบ่งเงินไปใช้ทำอย่างอื่น เพราะอาจทำให้ไม่มีเงินพอที่จะทำสิ่งที่ตั้งใจและมีประโยชน์กว่า รวมทั้งอาจทำให้มีรายได้ไม่​พอไปชำระหนี้ตามที่ประมาณการไว้แต่เดิมด้วย
  3. ตรวจสอบความถูกต้องของรายการต่างๆ ทุกครั้ง
  4. จ่ายเงินตรงเวลา และตามเงื่อนไข
  5. ชำระหนี้เมื่อมีเงินก้อน
  6. แจ้งเจ้าหนี้หากเปลี่ยนแปลงข้อมูล
  7. หลีกเลี่ยงการชำระเงินแค่ขั้นต่ำ

ส่วนความเคลื่อนไหว หลังธนาคารออมสิน ออกหนังสือเวียนถึงสาขาทั่วประเทศ เมื่อ 18 ก.ค.ที่ผ่านมา เร่งรัดการฟ้องคดีลูกหนี้สินเชื่อครู และบุคลากรทางการศึกษา ที่ไม่เข้าร่วมมาตรการผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้ ภายในเดือนสิงหาคมนี้

ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน (แฟ้มภาพ)

นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ปัจจุบันธนาคาออมสินคิดอัตราดอกเบี้ยโครงการ ช.พ.ค. ต่ำมาก เพียง5-6 % ต่อปี และผ่อนชำระนานสูงสุดถึง 30 ปี ขณะที่สินเชื่อบุคคลทั่วไปในระบบสถาบันการเงินที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน คิดอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 15-28 %ต่อปี และปัจจุบันมีผู้กู้เข้ามาปรับโครงสร้างหนี้แล้วกว่า 40,000 ราย จากยอดสินเชื่อของโครงการ ช.พ.ค. ที่มีผู้กู้รวม 4.33 แสนราย คิดเป็นวงเงินกู้ 4.06 แสนล้านบาท

“ธนาคารออมสินยืนยันว่า อยากให้ครูที่มีปัญหาการผ่อนชำระไม่ว่าจะอยู่ในขั้นตอนใด ขอให้เข้ามาแจ้งความประสงค์ เพราะธนาคารมีมาตรการให้ความช่วยเหลือครูที่ยืดหยุ่นผ่อนคลาย ด้วยการให้ครูมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีวินัยทางการเงิน เพราะครูต้องทำหน้าที่ให้ความรู้ สร้างคนให้เป็นคนดีมีวินัยให้แก่ประเทศชาติต่อไป” ผอ.ธนาคารออมสิน ระบุ

นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมช.ศึกษาธิการ (แฟ้มภาพ)

นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า จากการหารือกับธนาคารออมสิน พบว่า ทางธนาคารไม่ได้มีเจตนาที่จะไปไล่บี้ฟ้องร้องครู เนื่องจาก กลุ่มที่เป็นหนี้ค้างชำระแล้วไม่เข้าร่วมมาตรการผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้ หรือไม่ติดต่อชำระหนี้กับธนาคาร มีเพียงกว่า 4,000 คนเท่านั้น ไม่ถึงร้อยละ 1 ของกลุ่มครูทั้งหมด ธนาคารออมสินชี้แจงด้วยว่า การที่ต้องเรียกครูกลุ่มนี้มา เป็นการดำเนินการตามกฎหมายเท่านั้น และจุดประสงค์หลัก คือต้องการให้ครูกลุ่มนี้เข้ามาปรับโครงสร้างหนี้

(ภาพจาก Thaigov.)

ในรายการศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน เมื่อวันที่ 20 ก.ค. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวตอนหนึ่งถึงหนี้สินครูว่า นอกจากโครงการคลินิกแก้หนี้ จะช่วยบรรเทาปัญหาภาระหนี้ของประชาชนทั่วไป รัฐบาลยังพยายามช่วยแก้ปัญหาหนี้ของผู้ประกอบวิชาชีพต่างๆ อาทิ หนี้ในกลุ่มครู ที่เป็นบุคลากรที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ และการปฏิรูปการศึกษาเพื่อจะลดความกังวล และภาระในการดำรงชีวิตที่สามารถทำหน้าที่การเป็นแม่พิมพ์ที่ดีของเด็กได้เต็มศักยภาพ เนื่องจากที่ผ่านมา พบมีครูเป็นหนี้ทั้งในและนอกระบบ และมีมูลค่าหนี้อยู่ในระดับสูง

โดยส่วนหนึ่งเป็นหนี้ของ โครงการสวัสดิการเงินกู้สมาชิกฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) ที่มีผู้กู้อยู่กว่า 5 แสนราย คิดเป็นเงินกว่า 4 แสนล้านบาท โดยเป็นหนี้เสียมากกว่า 5,000 ล้านบาท

ช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลพยายามใช้มาตรการเข้ามาช่วยเหลือ และแบ่งเบาภาระให้กับแม่พิมพ์ของชาติที่มีหนี้อย่างต่อเนื่อง อาทิ โครงการลดภาระหนี้ที่เริ่มตั้งแต่ปี 2559 โดยการให้เงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำ ร้อยละ 4 เพื่อนำไปชำระหนี้โครงการ ช.พ.ค. เดิม และเพื่อนำไปชำระดอกเบี้ยเงินกู้รายเดือน แต่ยังมีผู้มาร่วมโครงการไม่มากนัก

นอกจากนี้ ในปี 2560 ที่ผ่านมาก็มีโครงการปรับโครงสร้างหนี้ ให้โอกาสลูกหนี้ที่มีปัญหาผ่อนชำระ จนกลายเป็นหนี้เสีย สามารถผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้ แล้วก็พักชำระเงินไม่เกิน 3 ปี แต่ยังชำระดอกเบี้ยบางส่วน หรือเต็มจำนวน เพื่อให้สามารถกลับมาเป็นหนี้ปกติได้

ล่าสุด สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้ให้ธนาคารออมสินนำเงินสนับสนุนที่เคยได้รับจากโครงการ ช.พ.ค. ไปช่วยลดอัตราดอกเบี้ย ให้แก่ผู้กู้ที่มีวินัยดี ไม่มีหนี้ค้างชำระ ทำให้อัตราดอกเบี้ยลดลงจากเดิม ร้อยละ 0.5-1.0 คิดเป็นเงินประมาณ 2,500 ล้านบาท

โครงการคลินิกแก้หนี้และมาตรการแก้ไขหนี้ต่างๆ ที่รัฐบาลนี้ได้ริเริ่มขึ้น เป็นเพียงการพยายามแบ่งเบาภาระ และช่วยเหลือประชาชนที่ปลายเหตุเท่านั้น ด้วยการช่วยเข้าไปผ่อนผันให้สามารถชำระหนี้ได้ตามความสามารถ โดยไม่ได้รับความเดือดร้อนจนเกินไป ดังนั้นการแก้ปัญหาการก่อหนี้ที่เกินตัวที่ต้นเหตุจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด ที่จะไม่ส่งผลเสียอื่นๆลุกลามเป็นลูกโซ่ ก็คือ การพยายามไม่เข้าสู่วรจรการเป็นหนี้ โดยต้องเริ่มจากตัวเราทุกคนเอง

ขอบคุณภาพ ธนาคารออมสิน  / Thaigov

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ่านข่าวอื่นได้ที่
เว็บไซต์ : workpointnews.com
เฟซบุ๊ก: ข่าวเวิร์คพอยท์ ตลาดข่าว   
ยูทูบ: workpoint news   
ทวิตเตอร์: workpoint news   
อินสตาแกรม: workpointnews

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า