SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ – เปิดงานวิจัยวงการแพทย์ระดับโลก ซดเบียร์มากกว่า 10 กระป๋องต่อสัปดาห์เสี่ยงตาย โรคหลอดเลือดสมองทุกชนิด เตือนหญิง – ชายดื่มจัด ส่งผลอายุสั้นเร่งตายก่อนวัยอันควร ชี้ผลศึกษาไม่พบประโยชน์จากการดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ

ศ.พญ.ดร.สาวิตรี  อัษณางค์กรชัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.)เปิดเผยงานวิจัยยืนยันชัดว่า ระดับปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ ไม่มีระดับไหนที่ดื่มแล้วปลอดภัย  แต่ชัดเจนว่าสัมพันธ์กับผลเสียทางสุขภาพโดยเฉพาะโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โดยล่าสุดมีการอ้างอิงงานวิจัยเรื่อง “Risk thresholds for alcohol consumption: combined analysis of individual-participant data for 599 912 current drinkers in 83 prospective studies” ตีพิมพ์เมื่อวันที่14 เม.ย. 2561 ในวารสาร Lancet ซึ่งเป็นวารสารที่เป็นที่รู้จักทางการแพทย์มากที่สุด พบข้อมูลสำคัญคือ การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากกว่า 100 กรัมหรือ 7-10 หน่วยดื่มมาตรฐานต่อสัปดาห์  (1 หน่วยดื่มมาตรฐาน เท่ากับ ปริมาณของแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 10-14 กรัม หรือเทียบเท่ากับเบียร์ ที่น้อยกว่า 5 ดีกรี 1 กระป๋อง ไวน์1 แก้ว  หรือเหล้า/สุรา 1 เป๊ก/ก๊ง) จะเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตโดยรวมอย่างต่อเนื่องทั้งในเพศชายและหญิง รวมถึงไม่พบประโยชน์ของการดื่มปริมาณ แอลกอฮอล์ที่ต่ำกว่า 100 กรัมต่อสัปดาห์

ศ.พญ.ดร.สาวิตรี   กล่าวว่า จุดประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ ศึกษาปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ต่อการเสียชีวิตโดยรวม และโรคหัวใจและหลอดเลือดชนิดต่างๆ ประกอบด้วย โรคหลอดเลือดสมองทุกชนิด  โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด  โรคหัวใจและหลอดเลือดอื่น ๆ ที่ไม่รวมถึงโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ และหลอดเลือดชนิดอื่นๆ ได้แก่ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคความดันโลหิตสูง เสียชีวิตเฉียบพลันจากโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง มีผู้เข้าร่วมงานวิจัยซึ่งเป็นประชากรที่ดื่มแอลกอฮอล์และไม่มีโรคหัวใจและหลอดเลือดต่าง ๆ จำนวน 599,912 คน ในประเทศที่พัฒนาแล้วกว่า 30 ประเทศ ซึ่งส่วนมากเป็นประเทศในแถบยุโรป เมื่อติดตามผู้เข้าร่วมวิจัยเฉลี่ย 7 ปี พบว่า มีคนเสียชีวิตโดยรวม 40,310 ราย และเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดต่างๆ จำนวน 39,018 ราย

ศ.พญ.ดร.สาวิตรี กล่าวต่อว่า ผลการศึกษานี้ยังชี้ชัดว่า หากดื่มปริมาณมากกว่า 100 กรัมต่อสัปดาห์ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองขึ้นอีก 1.14 เท่า โรคหลือดเลือดหัวใจชนิดอื่นๆ 1.06 เท่า และการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดอื่น ๆ 1.18 เท่า และพบว่า ไม่มีระดับปริมาณแอลกอฮอล์ที่ปลอดภัย หรือได้ประโยชน์ ยิ่งไปกว่านั้นงานวิจัยดังกล่าวระบุว่า การดื่มเบียร์ หรือสุรากลั่น มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตโดยรวมมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการดื่มไวน์ การศึกษายังระบุว่า หากดื่มสุรา 100-200 กรัมต่อสัปดาห์ จะเสียชีวิตเร็วขึ้น 6 เดือน หากดื่ม 200-350 กรัมต่อสัปดาห์จะมีอายุสั้นลง1-2  ปี และหากดื่มมากกว่า 350 กรัมต่อสัปดาห์จะมีอายุสั้นลง 4-5 ปี เมื่อเทียบกับคนที่ดื่มน้อยกว่า100 กรัมต่อสัปดาห์

“ข้อสรุปที่สำคัญจากงานวิจัยนี้ ซึ่งนับว่าเป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือและอ้างอิงได้ที่สุด ณ เวลานี้คือ เมื่อพิจารณาโรคหัวใจและหลอดเลือดแต่ละชนิดอย่างละเอียดแล้ว พบว่า ระดับปริมาณแอลกอฮอล์สูงกว่า100 กรัมต่อสัปดาห์ (7-10 หน่วยดื่มมาตรฐานต่อสัปดาห์) นั้นมีผลเสียต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดหลายชนิดและการเสียชีวิตรวมจากทุกสาเหตุ และไม่มีการดื่มในระดับปริมาณแอลกอฮอล์ใดที่จะเป็นประโยชน์ต่อโรคหลอดเลือดหัวใจต่าง ๆ อย่างแท้จริง” ศ.พญ.ดร. สาวิตรี  กล่าว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า