SHARE

คัดลอกแล้ว

กกต. เผยแพร่ตัวอย่างบัตรเลือกตั้ง ส.ส. ให้ประชาชนรูจักทำความเข้าใจ ย้ำบัตรใบเดียวมีผล 3 ประการ คือนำไปคิดคะแนน ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง, คะแนนของผู้สมัคร ส.ส. ทุกคนทุกเขตเลือกตั้งของทุกพรรคการเมือง มาคำนวณหาจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ ของแต่ละพรรคการเมือง และ 3.พรรคการเมืองที่ได้ ส.ส. ไม่น้อยกว่า 25 คน จะมี

วันที่ 30 ม.ค. 2562 สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้งโดยกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง เผยแพร่ตัวอย่างบัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้รู้จักและทำความเข้าใจ ข้อความระบุว่า

ประเทศไทยกำลังเดินหน้าเข้าสู่โหมดการเลือกตั้ง ส.ส. ในวันที่ 24 มีนาคม 2562 ซึ่งจะเป็นการ “เข้าคูหากาบัตรใบเดียว” สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้ง โดยกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง จึงขอนำเสนอ “ตัวอย่างบัตรเลือกตั้งส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง” ให้ “ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง” กว่า 52 ล้านคน ได้รู้จักทำความเข้าใจ เมื่อแสดงตนต่อคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง เพื่อเข้าไปใช้สิทธิเลือกตั้งแล้ว จะได้รับ “บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง” 1 ใบ 2 ด้าน ดังนี้

ด้านหน้า มุมขาวระบุ ข้อความ “บัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง” มุมซ้ายระบุ “คำเตือน” ใจความว่า ห้ามมิให้ นำบัตรเลือกตั้งออกไปจากที่เลือกตั้ง หรือจงใจทำเครื่องหมายเพื่อเป็นที่สังเกต ห้ามถ่ายภาพบัตรเลือกตั้งที่ได้ลงคะแนนเลือกตั้งแล้ว ห้ามนำบัตรเลือกตั้งที่ลงคะแนนแล้ว แสดงให้ผู้อื่นเห็นว่า ลงคะแนนหรือลงคะแนนไม่เลือกผู้สมัครใด และต้องนำบัตรเลือกตั้งหย่อนลงหีบบัตรด้วยตนเอง หากผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุก ปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง

ด้านใน จะมีเนื้อหาข้อมูลที่สำคัญ คือ “หมายเลขประจำตัวผู้สมัคร ภาพเครื่องหมายพรรคการเมือง และชื่อพรรคการเมือง” เพื่อให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งตัดสินใจทำเครื่องหมายกากบาท X ภายใน “ช่องทำเครื่องหมาย” ไม่เกินหนึ่งหมายเลข ถ้าไม่ประสงค์ลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครใดเลย ให้ทำเครื่องหมาย X ใน “ช่องไม่เลือกผู้สมัครใด” ที่มุมด้านขวาล่าง

นอกจากนี้จึงอยากเน้นย้ำต่อ “ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง” ทุกท่านอีกครั้งว่า “การเลือกตั้งบัตรใบเดียว” กาเบอร์เดียวจะได้ผล 3 ประการ คือ
1.นำไปคิดคะแนน ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
2.นำคะแนนของผู้สมัคร ส.ส. ทุกคนทุกเขตเลือกตั้งของทุกพรรคการเมือง มาคำนวณหาจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ ของแต่ละพรรคการเมือง
3.พรรคการเมืองที่ได้ ส.ส. ไม่น้อยกว่า 25 คน จะมีสิทธิเสนอชื่อบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี

อ้างอิงข้อมูลจาก กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า