SHARE

คัดลอกแล้ว

ผู้ว่าฯ สระบุรี ร่วมเสวนาแก้ปัญหาฝุ่น ในงานเปิดบ้านจุฬาฯ สระบุรี เผยทุกฝ่ายร่วมใจแก้ปัญหา ช่วย ต.หน้าพระลาน พื้นที่สีแดงพ้นวิกฤติฝุ่นพิษ

ในงาน CU Saraburi Open House เปิดบ้านจุฬาฯ สระบุรี” ซึ่งจัดขึ้นที่โครงการพัฒนาที่ดินจุฬาฯ สระบุรี เมื่อวันที่ 19 มี.ค. 62 ที่ผ่านมา นายแมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ได้เดินทางมาเป็นประธานในการเปิดงาน และร่วมเสวนาในหัวข้อ “ปัญหาและวิธีการจัดการผลกระทบจากฝุ่นละอองในพื้นที่จังหวัดสระบุรี” ร่วมด้วย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นายสมเกียรติ สุสัณพูลทอง ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสระบุรี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สรรเพชร ซื้อนิธิไพศาล และรองศาสตราจารย์ ดร.ศิริมา ปัญญาเมธีกุล

จังหวัดสระบุรีนับเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาฝุ่นพิษมาเป็นระยะเวลายาวนาน โดยเฉพาะพื้นที่ ต.หน้าพระลาน ซึ่งทำอุตสาหกรรมหิน – ทราย ระเบิดหิน โรงโม่หิน โรงปูน ทั้งยังหนาแน่นไปด้วยรถบรรทุก จึงทำให้เกิดฝุ่นละอองทั้งขนาดเล็ก (PM 2.5) และขนาดใหญ่ (PM 10) ในปริมาณสูง โดยมีค่าดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) ที่ระดับ 249 ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และสูงที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทย เมื่อช่วงวันที่ 10 มกราคม 2562 ที่ผ่านมา และค่อยๆ ลดลง จากความร่วมแรงร่วมใจกันแก้ปัญหาของทุกฝ่าย

นายแมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี กล่าวว่า พื้นที่ ต.หน้าพระลาน เป็นพื้นที่ที่เป็นแหล่งหินปูนที่ดีที่สุดในประเทศไทย จึงนำมาสู่การเปิดสัมปทานเหมืองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พื้นที่ ต.หน้าพระลาน จึงเต็มไปด้วยโรงปูน โรงหิน โรงแต่งแร่ รวมทั้งเหมืองปูนต่างๆ รวมๆ แล้วเกือบ 100 แห่ง ซึ่งในพื้นที่ที่มีอุตสาหกรรมประเภทนี้คงไม่พ้นเรื่องฝุ่นละอองที่เกิดจากการประกอบอุตสาหกรรม

“การแก้ปัญหาที่ผ่านมา เราร่วมกับทุกหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นการบังคับใช้กฎหมาย การทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการ รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ว่าจะต้องเฝ้าระวังอะไรบ้าง ซึ่งปัญหาฝุ่นใน จ.สระบุรี เป็นฝุ่น PM 10 มากกว่า โดยทุกฝ่ายได้ร่วมมือกันแก้ปัญหาอย่างจริงจัง และได้รับคำชื่นชมจากกรมควบคุมมลพิษว่า เราสามารถลดปัญหาฝุ่นละอองได้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน จากที่เป็นพื้นที่สีแดง เท่าที่วัดดูวันนี้ (19 มี.ค.) ก็เป็นพื้นที่สีเหลืองแล้ว”

ด้าน นายสมเกียรติ สุสัณพูลทอง ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสระบุรี กล่าวว่า ทุกภาคส่วนในจังหวัดสระบุรีร่วมแรงร่วมใจ ช่วยกันแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองที่เกิดขึ้น ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมีนโยบายเข้มข้นในการจัดการปัญหา โดยตนได้เสนอให้ขยายขอบเขตการดำเนินงานใน ต.หน้าพระลาน จาก 5 กม. เป็น 10 กม. เพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นได้ทันท่วงที สามารถเฝ้าระวังได้อย่างครอบคลุม

ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติฯ สระบุรี กล่าวอีกว่า ตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ – 17 มีนาคม ที่ผ่านมา รวมระยะเวลา 40 วัน สถานการณ์ฝุ่นในตำบลหน้าพระลาน ตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM 10 พบว่าอยู่ในขั้นวิกฤติสีแดงเพียง 4 วัน ส่วนมากพบในระดับสีเหลือง สีส้ม และมีสีเขียวบ้าง โดยกล่าวว่าการใช้ฝนลดฝุ่นในระยะเวลาสั้นๆ ไม่อาจช่วยให้ปริมาณฝุ่นใน ต.หน้าพระลาน ลดลงได้ แต่กลับยิ่งเพิ่มขึ้นด้วย

“ตำบลหน้าพระลานแตกต่างจากที่อื่นๆ คนทั่วไปจะอยากให้ฝนตกเพื่อช่วยลดฝุ่น แต่ที่นี่คือถ้าฝนตกยาวตามฤดูกาลไม่เป็นไร แต่ถ้าฝนตกในช่วงสั้นๆ จะยิ่งส่งผลให้เกิดฝุ่นพิษมากขึ้น อย่างเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เครื่องตรวจวัดเป็นสีแดงทั้งที่ฝนตก แต่ตกเพียง 3 ชั่วโมง พอฝนหยุดดินก็แห้ง รถก็วิ่งออกมาจากเหมือง รวมทั้งรถชาวบ้าน และรถอื่นๆ สารพัดของอุตสาหกรรมหิน ซึ่งเวลาวิ่งมาสิ่งเหล่านี้มันก็จะติดมากับล้อรถด้วย ก็จะตีปั่นอยู่อย่างนั้น เราก็ต้องมาเคลียร์พื้นที่กันใหม่ ใช้เวลา 3 วันกว่าจะจบ ซึ่งเรื่องนี้เราก็ได้แจ้งไปกับทางฝนหลวงด้วยว่า เฉพาะในตำบลหน้าพระลาน หากจะให้การช่วยเหลือ เป็นฝนตกในระยะเวลาสั้นๆ นั้น อยากให้พิจารณาใหม่”

นอกจากนี้ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยาธรรมชาติฯ สระบุรี กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า ทางจังหวัดได้ทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการเหมือง โรงโม่หิน โรงแต่งแร่ โรงปูน ซึ่งต่างเข้าใจว่าเป็นผู้ก่อปัญหา และให้ความร่วมมือในการลดปัญหาด้วย

“พื้นที่หน้าพระลานไม่เหมือนที่อื่น เพราะเป็นพื้นที่เหมือง พูดง่ายๆ คือดินทั้งนั้น รวมทั้งมีการขนส่งไม่รู้กี่พันเที่ยวต่อวัน แต่ตอนนี้เราคุมสถานการณ์ฝุ่นได้อยู่ พื้นที่ของเราสะอาด จากความร่วมมือกันของทุกฝ่าย ที่ผ่านมาเราพบว่าการใช้กฎหมายบังคับ แก้ปัญหาได้ระดับหนึ่งเท่านั้น และอาจยิ่งสร้างปัญหาด้วย ต้องใช้การทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการ ผมจึงเสนอให้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง ให้มีตัวแทนผู้ประกอบการ ชาวบ้าน องค์กรปกครองท้องถิ่น มาสร้างความรู้ความเข้าใจ ยอมรับและร่วมกันแก้ปัญหา ซึ่งมีการตั้งกลุ่มไลน์ชื่อว่า “รวมใจหน้าพระลานสู้ๆ” ขึ้นด้วย โดยเชิญส่วนราชการ ผู้บริหาร ผู้ประกอบการ ชาวบ้าน เข้ามาสื่อสารถึงปัญหาฝุ่นกัน ซึ่งทุกคนให้ความร่วมมือดีมาก และมีการรวมเงิน ตั้งกองทุนเพื่อแก้ปัญหากันด้วย”

ด้าน ศ.นพ.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี จุฬาฯ กล่าวว่า ทางจุฬาฯ ได้รับการติดต่อจากผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ให้ติดตั้งเครื่องเซ็นเซอร์ตรวจวัดค่าฝุ่นละอองทั้งจังหวัดประมาณ 100 จุด เพื่อคอยเฝ้าระวังและร่วมกันแก้ไขปัญหา โดยราคาเครื่องตรวจวัดค่าฝุ่นละอองอยู่ที่เครื่องละประมาณ 2 หมื่นบาท ทั้งนี้ ทางจุฬาฯ ได้หารือกับสำนักยุทธศาสตร์จังหวัด เรื่องการกำหนดจุดติดตั้งเครื่องเซ็นเซอร์ เบื้องต้นคาดว่าน่าจะใช้สถานที่ในการติดตั้งเป็นโรงเรียนหรือวัด เนื่องจากจะต้องมีคนดูแลรักษาเครื่องเมื่อติดตั้งแล้วด้วย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า