SHARE

คัดลอกแล้ว

การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 18 ที่ประเทศอินโนนีเซีย ที่กำลังดำเนินอยู่นี้ “เซปักตะกร้อ” ถือว่าเป็นอีกหนึ่งความหวังในการคว้าเหรียญทองของทัพนักกีฬาไทย โดยกีฬาประเภทนี้มีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน แต่ไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่ามีจุดเริ่มต้น หรือถือกำเนิดขึ้นจากประเทศใด

ซึ่งจากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ “ตะกร้อ” เป็นกีฬาเก่าแก่ที่นิยมเล่นในภูมิภาคอาเซียน หรือ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้ง ไทย มาเลเซีย เมียนมา และฟิลิปปินส์ ต่างก็อ้างว่าประเทศตนเป็นต้นตำรับ

โดยเมียนมาเรียกกีฬาประเภทนี้ว่า “ชิงลง” มีหลักฐานบันทึกว่า เมื่อปี พ.ศ. 2310 ครั้นเมียนมา (พม่า) มาตั้งค่ายอยู่ที่โพธิ์สามต้น (ก่อนกรุงศรีอยุธยาจะเสียกรุงครั้งที่ 2) เหล่าทหารได้มีการเล่นกีฬาประเภทนี้กันอย่างครื้นเครง

ส่วนไทยเราบันทึกว่า กีฬาประเภทนี้มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยเป็นละเล่นเตะตะกร้อวง และเตะตะกร้อลอดห่วง บนลานกว้าง ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น

ทางด้านฟิลิปปินส์ ก็นิยมเล่นกีฬาประเภทนี้มาอย่างยาวนานเช่นกัน โดยเรียกว่า Sipak ส่วนมาเลเซียเรียกการเล่นตะกร้อว่า Sepak Raga ซึ่งคำว่า Raga หมายถึง ตะกร้า

แต่ถ้ากล่าวถึงเซปักตะกร้อแบบเตะข้ามตาข่าย ที่ทำการแข่งขันในระดับนานาชาติ ก็เป็นที่ยอมรับว่า มีที่มาจากมาเลเซีย โดยนำคุณสมบัติของกีฬาอื่นๆ เช่น วอลเลย์บอล เข้ามาประยุกต์ผสมผสาน เพื่อให้การแข่งขันเป็นไปอย่างสนุกสนาน ตื่นเต้น เร้าใจ

นอกจากนั้น ประเทศอื่นๆ ในเอเชีย ก็มีรูปแบบการละเล่นที่คล้ายคลึงกัน อย่างในภาพเขียนของจีนโบราณ จะปรากฏภาพการละเล่นที่เรียกว่า “เตกโก” ที่นำหนังปักขนไก่ มาเตะกัน หรือที่ประเทศเกาหลี จะใช้ดินเหนียวห่อด้วยผ้าสำลี ปักด้วยหางไก่ฟ้า แล้วนำมาเตะร่วมกัน เป็นต้น

ในอดีต ลูกตะกร้อทำจากหวาย นำมาสานจนเป็นลูกกลมๆ มีจุดตัดไขว้ 20 จุด มีรูรวม 12 รู แต่ในปัจจุบัน นิยมใช้ลูกตะกร้อที่ทำมาจากพลาสติก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 42 – 45 เซนติเมตร

ส่วนกติกาหลักๆ ในการแข่งขันของเซปักตะกร้อนั้น จะแบ่งเขตแดนของสนามออกเป็น 2 ฝ่าย มีตาข่ายขึงตรงกลาง เป็นจุดแบ่งเขตแดน และในแต่ละแดนจะกำหนดจุดยืนสำหรับการเสิร์ฟลูก 3 จุด ได้แก่ จุดที่อยู่ตรงมุมที่ติดกับตาข่าย 2 จุด และจุดที่อยู่กลางแดน (เยื้องไปทางด้านหลัง) 1 จุด

หากฝ่ายใดสามารถเตะตะกร้อให้ตกลงบนพื้นของแดนฝ่ายตรงข้ามได้ ก็จะได้ 1 แต้ม แต่ละฝ่ายมีโอกาสเตะลูกตะกร้อในแดนตัวเองไม่เกิน 3 ครั้ง (นับตั้งแต่ฝ่ายตรงข้ามเตะตะกร้อข้ามมา) การแข่งขันแบ่งออกเป็น 3 ใน 5 เซต แต่ละเซต ใครทำเเต้มได้ถึง 21 คะแนนก่อน ก็จะเป็นฝ่ายชนะในเซตนั้น และหากฝ่ายใดได้รับชัยชนะจำนวน 3 เซตก่อน ก็จะเป็นฝ่ายชนะในเกมการแข่งขันครั้งนั้น

กีฬาประเภทนี้ได้รับการบรรจุในเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 11 ปี ค.ศ. 1990 ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เป็นครั้งแรก ซึ่งการแข่งขันเซปักตะกร้อในเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 18 มีการชิงชัยกันทั้งหมด 6 เหรียญทอง โดยทั้ง 6 ประเภท มีดังนี้

Team Double เซปักตะกร้อ 2 คน ประเภททีมชุด (ชาย)

Regu เซปักตะกร้อ 3 คน ประเภททีมเดี่ยว (ชาย)

Quadrant เซปักตะกร้อ 4 คน ประเภททีมประเภททีมเดี่ยว (ชาย)

Quadrant เซปักตะกร้อ 4 คน ประเภททีมประเภททีมเดี่ยว (หญิง)

Team Regu เซปักตะกร้อ 3 คน ประเภททีมชุด (ชาย)

Team Regu เซปักตะกร้อ 3 คน ประเภททีมชุด (หญิง)

โดยไทยเราได้ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันเซปักตะกร้อ จำนวน 4 ประเภท และตั้งเป้าว่า จะกวาดเหรียญทองให้ได้ทั้ง 4 ประเภท

อย่าลืมติดตามรับชม เอเชียนเกมส์ 2018 ระหว่างวันที่ 18 ส.ค.-2 ก.ย. นี้ ถ่ายทอดสดทางช่องเวิร์คพอยท์ หมายเลข 23 และช่องทางออนไลน์บนเฟซบุ๊ก Workpoint Entertainment และยูทูบ WorkpointOfficial

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า