SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ประกาศผลผู้ผ่านคุณสมบัติเบื้องต้นเข้าชิงสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทย แปลง G1/61 จำนวน 5 บริษัท และ G2/61 จำนวน 4 บริษัท 

วันที่ 28 พ.ค. 2561 นายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน และนายวีระศักดิ์ พึ่งรัศมี อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ แถลงผลการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นผู้เข้าร่วมการประมูลยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G1/61 (เอราวัณ) และ G2/61 (บงกช) ตามทีโออาร์การเปิดประมูลภายใต้ระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing Contract : PSC) ในฐานะผู้ดำเนินงาน หลังจากผู้ประกอบการได้ส่งหลักฐานแสดงคุณสมบัติเบื้องต้น เมื่อวันที่ 15-16 พ.ค.ผ่านมา

นายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ได้มีการพิจารณาคุณสมบัติผู้ที่ผ่านคุณสมบัติเบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว บริษัทฯที่มีสิทธิเข้าร่วมประมูลฯ แปลง G1/61 (แหล่งเอราวัณ) จำนวน 5 บริษัท ได้แก่

1. บริษัท Chevron Thailand Holdings Ltd.,
2. บริษัท PTTEP Energy Development Company Limited,
3. บริษัท MP G2 (Thailand) Limited.,
4. บริษัท Total E&P Thailand,
5. บริษัท OMV Aktiengesellschaft

บริษัทฯที่มีสิทธิเข้าร่วมประมูลฯ แปลง G2/61 จำนวน 4 บริษัท ได้แก่
1. บริษัท Chevron Thailand Holdings Ltd.,
2. บริษัท PTTEP Energy Development Company Limited,
3. บริษัท MP L21 (Thailand) Limited,
4. บริษัท OMV Aktiengesellschaft

ผู้ที่ผ่านการพิจารณามีคุณสมบัติครบถ้วนใน 2 หลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ

1. มีกิจการที่มีส่วนของผู้ถือหุ้น (Shareholder’s Equity) อย่างน้อย 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ในช่วงปี 2559 หรือ 2560 สำหรับผู้ที่จะร่วมประมูลในแปลง G1/61 (แหล่งเอราวัณ) และมีกิจการที่มีส่วนของผู้ถือหุ้น (Shareholder’s Equity) อย่างน้อย 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ระหว่างปี 2559 หรือ 2560 ในแปลง G2/61

2. เป็นผู้มีประสบการณ์ในการดำเนินงานการผลิตปิโตรเลียมในทะเล (Offshore Gas Field Operate) อย่างน้อย 1 แหล่ง ที่มีอัตราการขายก๊าซธรรมชาติเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ในระหว่างปี 2559 หรือ 2560

หลังจากนี้ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะประกาศผลผู้ที่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นทางเว็บไซต์กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติและจะแจ้งผลการพิจารณาไปยังทุกบริษัทที่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้น โดยขั้นตอนต่อไป ผู้ขอสิทธิที่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นแล้ว และประสงค์จะยื่นข้อเสนอด้านเทคนิคและผลประโยชน์ตอบแทนรัฐ จะต้องยื่นเอกสารแสดงความจำนงพร้อมชำระค่าเข้าร่วมประมูล จำนวน 7 ล้านบาท ในระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม 2561- วันที่ 1 มิถุนายน 2561

จากนั้น กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะเปิดให้ผู้ร่วมประมูลได้เข้าศึกษาข้อมูลเชิงลึกของแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทย แปลง G1/61 และ G2/61 ที่ห้องศึกษาข้อมูล (Data Room) ที่ได้จัดเตรียมไว้ พร้อมรับมอบชุดข้อมูลการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม (Data Package) จำนวน 1 ชุด เพื่อนำไปจัดทำข้อเสนอด้านเทคนิคและผลประโยชน์ตอบแทนรัฐ และยื่นเสนอต่อกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ในวันที่ 25 กันยายน 2561

  • เอราวัณ จุดเริ่มต้นแหล่งพลังงานไทยจากท้องทะเล

เมื่อปี พ.ศ. 2511 ประเทศไทยได้เริ่มให้สัมปทานสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทย ในบริเวณแปลงสำรวจหมายเลข 12 ถือเป็นแปลงที่ตั้งอยู่ใกล้ชายฝั่งมากที่สุด โดยห่างจากชายฝั่งจังหวัดสุราษฎร์ธานีประมาณ 145 กิโลเมตร ซึ่งอีก 5 ปีต่อมา ได้ค้นพบก๊าซธรรมชาติที่มีปริมาณเพียงพอต่อการผลิตและคุ้มค่าในเชิงพาณิชย์ในพื้นที่แปลงสำรวจย่อยหมายเลข 12-1 และเนื่องจากเป็นโครงสร้างทางธรณีวิทยาแห่งแรกในอ่าวไทยที่มีการค้นพบก๊าซธรรมชาติในปริมาณมาก จึงได้รับการขนานนามว่า โครงสร้าง “เอ” โดยต่อมาได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “แหล่งก๊าซธรรมชาติเอราวัณ” ซึ่งชื่อเอราวัณนี้หมายถึงชื่อช้างของพระอินทร์ เป็นช้างสามเศียรที่มีอิทธิฤทธิ์ ในตำนานพระอินทร์ได้ใช้ต่อสู้กับเหล่ามารเพื่อปกป้องบ้านเมือง เฉกเช่นเดียวกันกับแหล่งก๊าซธรรมชาติเอราวัณที่ถือเป็นแหล่งทรัพยากรปิโตรเลียมที่เปรียบเสมือนอาวุธสำคัญ ที่ใช้ต่อสู้กับวิกฤติเศรษฐกิจ ลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ

แหล่งก๊าซธรรมชาติเอราวัณได้ดำเนินการสำรวจมาจนกระทั่ง 17 สิงหาคม พ.ศ.2524 จึงได้เริ่มมีการผลิตและซื้อขายก๊าซธรรมชาติเป็นครั้งแรก แต่เมื่อเริ่มกระบวนการผลิตไประยะหนึ่ง กลับพบว่าปริมาณสำรองของแหล่งก๊าซธรรมชาติเอราวัณมีปริมาณน้อยกว่าที่คาดคะเนไว้ และมีลักษณะเป็นกระเปาะเล็กๆ กระจัดกระจายเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นผลจากการเคลื่อนตัวของชั้นหินใต้พื้นพิภพ ทำให้ต้องปรับแนวทางการพัฒนาแหล่งก๊าซเพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะธรณีวิทยาของอ่าวไทย โดยปรับเปลี่ยนเป็นติดตั้งแท่นหลุมผลิตก๊าซจำนวนมาก กระจายออกไปในพื้นที่ของแหล่งกักเก็บก๊าซต่างๆ แล้วส่งก๊าซธรรมชาติผ่านทางท่อใต้น้ำมายังแท่นผลิตกลาง

ทั้งนี้ การดำเนินงานผลิตก๊าซธรรมชาติ ถือเป็นงานที่ไม่เคยมีมาก่อนในประเทศไทย จึงยังไม่มีการนำระบบต่างๆ ในการทำงานเข้ามาใช้ กระทั่งต่อมา ได้เริ่มต้นใช้ระบบการดูแลบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่างๆ ตลอดจนระบบจัดการเรื่องความปลอดภัย (International Safety Rating System : ISRR) เพื่อใช้รวบรวมสถิติ วิเคราะห์ และเรียนรู้จากอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้น และต่อมาได้นำระบบตรวจสอบ (Inspection System) มาใช้เพื่อตรวจสอบแท่นผลิตปิโตรเลียม อุปกรณ์และท่อก๊าซ เพื่อให้แน่ใจว่าอุปกรณ์นั้นๆ อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และพร้อมใช้งานอยู่เสมอ รวมไปถึงระบบอัดน้ำกลับลงหลุมผลิต (Water Injection) ที่นำมาใช้กับแหล่งเอราวัณเป็นแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งระบบนี้ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมในบริเวณที่ทำการผลิตปิโตรเลียมได้ดียิ่งขึ้น และได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถทำการสำรวจและผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากขึ้น รวมถึงมีการย้ายห้องควบคุม และแท่นผลิตกลาง มาอยู่ที่แท่นพักอาศัย โดยไม่ต้องหยุดทำการผลิตเลย

กว่า 36 ปี ที่เริ่มผลิตก๊าซครั้งแรก จนกระทั่งวันนี้ กลุ่มเอราวัณสร้างรายได้ให้ภาครัฐรวมกว่า 275,607.85 ล้านบาท มีปริมาณการผลิตรวมของก๊าซธรรมชาติ 3,446 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต คอนเดนเสท 127 ล้านบาร์เรล มีปริมาณการผลิตในปัจจุบันอยู่ที่ 1,300 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน คอนเดนเสท 45,000 บาร์เรลต่อวัน และน้ำมันดิบ 33,000 บาร์เรลต่อวัน

แหล่งก๊าซธรรมชาติเอราวัณ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาประเทศมาจนถึงทุกวันนี้ เพราะนอกจากจะได้สร้างรายได้ให้กับประเทศอย่างมากแล้ว ยังเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่อื่นๆ และต่อเนื่องไปยังการสร้างอาชีพ รวมถึงอุตสาหกรรมต่อเนื่องอีกมากมาย

  • บงกช แหล่งพลังงานขับเคลื่อนอนาคตไทย 

จากการค้นพบน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในปี 2516 จากหลุม 15-B-1X ในเขตสัมปทาน B15 ซึ่งอยู่ในพื้นที่ที่เรียกว่า “แอ่งมาเลย์” และไม่มีใครคาดคิดว่าจะเป็นแหล่งทรัพยากรขนาดใหญ่ แต่ต่อมาผู้เจาะสำรวจในขณะนั้น ก็ได้ยืนยันว่าพื้นที่บริเวณนี้ มีแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ จากนั้นได้ขุดเจาะอีกถึง 23 หลุม เพื่อยืนยันลักษณะทางธรณีวิทยาของแหล่งก๊าซธรรมชาติดังกล่าวในรอยแยกของชั้นหิน ที่รู้จักกันในวงการว่า “โครงสร้างบี” ส่งผลให้รัฐบาลไทยในขณะนั้น ตระหนักถึงผลประโยชน์อันมหาศาลจากก๊าซธรรมชาติที่มีอยู่ จึงซื้อสัมปทานคืนจากบริษัทที่ถือครองสัมปทาน และมอบหมายให้ ปตท.สผ. ที่ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2528 เป็นผู้ถือครองสัมปทานแทน

ต่อมาในปี 2533 ปตท.สผ. ได้ร่วมทุนกับบริษัทน้ำมันระดับโลก 3 แห่ง เพื่อพัฒนา “โครงสร้างบี” ซึ่งได้รับการขนานนามใหม่ว่า “แหล่งก๊าซบงกช” แปลได้ว่า ดอกบัว โดยเปรียบว่า การเริ่มผลิบานขึ้นในช่วงที่ประเทศไทยยังพึ่งพาการนำเข้าพลังงานปิโตรเลียมทุกชนิด และการผลิบานของ “บงกช” นี้เอง เป็นจุดเริ่มต้นของการพึ่งพาตนเองด้านพลังงานของประเทศ และส่งผลต่อเนื่องไปยังการพัฒนาด้านเศรษฐกิจอีกหลายแขนงที่ต่อยอดมาจากก๊าซธรรมชาติ เช่นอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

กว่า 25 ปีที่ “แหล่งบงกช” ยังคงเป็นแหล่งก๊าซที่ใหญ่และสำคัญที่สุดของประเทศไทย มีบทบาทและสร้างคุณค่ามากมายให้เป็นที่ประจักษ์ในด้านพลังงาน แหล่งบงกชเป็นแหล่งก๊าซที่มีอัตราการผลิตคงที่ ให้ความเชื่อมั่นได้ถึงร้อยละ 99.5 มีอัตราการผลิตก๊าซสูงกว่า 900 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน พร้อมทั้งคอนเดนเสทประมาณ 27,000 บาร์เรลต่อวัน ตอบสนองความต้องการด้านก๊าซธรรมชาติในประเทศได้ถึงร้อยละ 20 หรือเท่ากับร้อยละ 30 ของปริมาณก๊าซทั้งหมดที่ผลิตได้ภายในประเทศ
นอกจากนั้น แหล่งก๊าซบงกชยังเป็นหนึ่งในแหล่งก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ในปัจจุบันร้อยละ 70 ของการผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง

รวมถึงกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม ที่ถือเป็นบทบัญญัติสำคัญของการปฏิบัติงาน สภาพแวดล้อมด้านอากาศและน้ำจะได้รับการปกป้องอย่างดี รวมถึงมาตรการเข้มงวดด้านความปลอดภัยที่มีมาอย่างยาวนาน ที่แม้ว่าแหล่งบงกชจะทำงานกับวัตถุไวไฟ แต่ที่นี่ ยังคงเป็นสถานที่มีความปลอดภัยในการทำงานสูงสุดแห่งหนึ่งเสมอมา

ขอบคุณภาพและข้อมูล ศูนย์ข่าวพลังงาน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า