SHARE

คัดลอกแล้ว

เปิดสถิติอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จของคนไทย ปีละ 53,000 คนเฉลี่ยทุกๆ ชั่วโมง ปลิดชีพตัวเอง 6 คน แนะใช้ “3 ส.” ฉีดวัคซีนทางใจป้องกัน ครอบครัวเป็นส่วนสำคัญและใกล้ชิดกับปัญหา ขณะที่การฆ่าตัวตายมีผลกระทบต่อบุคคลใกล้ชิดที่ต้องสูญเสีย

น.ต. นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่า วันที่ 10 กันยายนทุกปี เป็นวันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก (World suicide prevention day) ในปีนี้ สมาคมป้องกันการฆ่าตัวตายนานาชาติ เรียกร้องให้ทุกประเทศรณรงค์ในระดับครอบครัว ชุมชน และสังคม ร่วมมือกันเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย เนื่องจากเป็นปัญหาที่สามารถป้องกันได้

โดยทั่วโลกมีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จปีละประมาณ 800,000 คน เฉลี่ย 1 คนในทุกๆ 40 วินาที มากกว่าตายจากสงครามและถูกฆ่าตายรวมกัน เกือบร้อยละ80 อยู่ในประเทศรายได้ต่ำ ถึงปานกลาง องค์การอนามัยโลกตั้งเป้าจะลดอัตราการเสียชีวิตลงร้อยละ 10 ภายในปี พ.ศ.2563

สถานการณ์ของประเทศไทย มีผู้พยายามทำร้ายตัวเองเพื่อฆ่าตัวตาย ประมาณ 53,000 คน เฉลี่ยชั่วโมงละ 6 คน กระจายอยู่ทุกชุมชน ส่วนใหญ่เป็นวัยแรงงาน ในปี 2559 มีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จจำนวน 4,131 คน เป็นชายมากกว่าผู้หญิง 4 เท่าตัว อายุต่ำสุด 10 ปี สูงสุด 100 ปี

ส่วนใหญ่เป็นโสด ประเทศต้องสูญเสียเศรษฐกิจปีละกว่า 400 ล้านบาท  ข่าวการฆ่าตัวตาย แต่ละครั้งกระทบต่อความมั่นคงและปลอดภัยในจิตใจแต่ละคน โดยเฉพาะกับคนใกล้ชิด

  • ปี 2558 มีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ 6.47 รายต่อแสนประชากร
  • ปี 2559 มีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ 6.35 รายต่อแสนประชากร
  • ปี 2560 มีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ 6.03 รายต่อแสนประชากร

แม้อัตราลดลง แต่พบว่า อัตราการฆ่าตัวตายในผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น

สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดมาจาก 5 เรื่อง คือ ความสัมพันธ์, สุรา, ยาเสพติด, สภาพสังคมและเศรษฐกิจ โดยผู้ชาย มีปัจจัยความเสี่ยงมาจากปัญหาโรคทางจิต ดื่มสุรา ใช้ยาเสพติด โดยเฉพาะการดื่มสุรามากขึ้น จะมีโอกาสลงมือทำร้ายตัวเองมากกว่าผู้หญิงที่มีปัญหาถึง 2 เท่า ส่วนในผู้หญิงมักมีสาเหตุมาจากความสัมพันธ์ได้แก่ น้อยใจ ถูกตำหนิดุด่า ผิดหวังความรัก

อย่างไรก็ตาม ทุกภาคส่วนสามารถร่วมมือป้องกันแก้ไขอย่างจริงจังได้ ด้วยวัคซีน “3 ส. ป้องกันปัญหาฆ่าตัวตาย” เริ่มจากครอบครัว ซึ่งเป็นพลังสำคัญและอยู่ใกล้ปัญหาที่สุด ดังนี้

ส.ที่ 1 คือ การมีสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน (Connect ) ไม่ห่างเหินและใกล้ชิดจนเกินไป ให้คนในครอบครัวเป็นตัวของตัวเอง มีบทบาทหน้าที่ชัดเจน

ส.ที่ 2 ได้แก่ การสื่อสารที่ดีต่อกัน ( Communication) โดยบอกความรู้สึกตัวเองอย่างจริงจัง มีภาษาท่าทางที่เป็นมิตรต่อกัน  เช่น สบตา ยิ้ม โอบกอด และการสัมผัส จะช่วยให้คนในครอบครัวเกิดพลังที่เข้มแข็ง

ส.ที่3 คือใส่ใจรับฟัง (Care) มีเวลาให้คนในครอบครัว ทำกิจกรรมร่วมกัน และดูแลช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา ทั้งนี้ กรมสุขภาพจิตตั้งเป้าลดอัตราการฆ่าตัวตายให้เหลือ 6.0 ต่อแสนประชากรภายในปี 2564

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า