SHARE

คัดลอกแล้ว

จากข่าวสุดสะเทือนใจที่เกิดขึ้นวานนี้ (25 ก.พ. 61) เมื่อ พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ วัย 81 ปี เลือกจบชีวิตลงด้วยการฆ่าตัวตาย

โดยปีนออกจากที่กั้นของชั้น 7 ในห้างฯ แห่งหนึ่งย่านแจ้งวัฒนะ ทิ้งดิ่งตัวเองลงสู่ชั้น 1 สร้างความโศกเศร้าเสียใจแก่ญาติมิตรเป็นอย่างยิ่ง โดยเขียนจดหมายสั่งลาลูกหลานไว้ และในเวลาต่อมาบุตรชายได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า “คุณพ่อป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามานานหลายปี”

แต่ พล.ต.อ.สล้าง ไม่ใช่ตำรวจไทยรายแรกที่ฆ่าตัวตาย

หากย้อนเวลากลับไปตามข่าวที่ปรากฏออกมาจะเห็นได้ว่า มีตำรวจจำนวนไม่น้อยที่ฆ่าตัวตาย จนหลายคนกล่าวกันว่า “ทำไมตำรวจไทยจึงฆ่าตัวตายกันมากขึ้น”

เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว พ.ต.ต.ปองขวัญ ยิ้มสอาด นายแพทย์ สบ.2 กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลตำรวจ ได้กล่าวไว้ว่า ปีที่ผ่านมามีตำรวจมาปรึกษาขอคำแนะนำ หลังพบว่าเริ่มมีปัญหาการป่วยโรคซึมเศร้า จำนวน 170 คน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาความเครียดสะสมจากการปฏิบัติหน้าที่ โดยมีอาการซึมเศร้า เบื่ออาหาร ร้องไห้บ่อย และนอนไม่หลับ

ส่วนระดับความรุนแรงของโรคซึมเศร้า มี 3 ระดับ คือ ระดับขั้นต้น จะมีอาการซึมเศร้า นอนไม่หลับ ระดับกลาง คือ มีความคิดทำร้ายตัวเองหรือผู้อื่น โดยสามารถยับยั้งหรือควบคุมตัวเองได้ และระดับสูงสุดคือ มีอาการหลอน หูแว่ว จนถึงขั้นฆ่าตัวตาย

ภาพจาก pixabay

และเพราะตำรวจมีอาวุธประจำกาย จึงมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงกว่าประชาชนทั่วไปถึง 3 เท่า

ปัจจุบันมีข้าราชการตำรวจฆ่าตัวตายสำเร็จสูงถึงปีละเกือบ 40 คน หรือคิดเป็นอัตราการฆ่าตัวตาย 19 คน ต่อตำรวจ 1 แสนคน ซึ่งสาเหตุการฆ่าตัวตายอันดับ 1 เกิดจากปัญหาครอบครัว อันดับ 2 เกิดจากปัญหาสุขภาพ ปัญหาส่วนตัว ปัญหาหนี้สิน และปัญหาเรื่องงาน

จากสถิติของโรงพยาบาลตำรวจ พบว่า ตำรวจที่ฆ่าตัวตายส่วนใหญ่ อายุระหว่าง 41 – 50 ปี โดย นายดาบ เป็นชั้นยศที่ฆ่าตัวตายมากที่สุด ส่วนสายงานที่ฆ่าตัวตายมากที่สุดคือ สายงานป้องกันและปราบปราม รองลงมาคือ ฝ่ายอำนวยการและงานด้านจราจร ส่วนกองบัญชาการที่มีการฆ่าตัวตายมากที่สุดคือ ตำรวจภูธรภาค 5 (ภาคเหนือ) ตำรวจภูธรภาค 3 และกองบัญชาการตำรวจนครบาล

ภาพจาก AFP

สถิติย้อนหลังตั้งแต่ปี 2558 ถึง 2560 มีข้าราชการตำรวจ ครอบครัว และประชาชนทั่วไป ที่เข้ารับบริการกลุ่มโรคซึมเศร้า จำนวนกว่า 1,980 คน โดยในปี 2558 มีจำนวน 479 คน ปี 2559 มีจำนวน 640 คน และปี 2560 มีจำนวน 861 คน ในจำนวนนี้ยังไม่รวมตำรวจที่มาปรึกษากับจิตแพทย์เป็นการส่วนตัว เนื่องจากยังมีความคิดด้านลบเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า และหวั่นกระทบหน้าที่การงาน ขณะที่สถิติโลกมีคนฆ่าตัวตายมากกว่า 8 แสนคนต่อปี หรือเฉลี่ยทุก 40 วินาที จะมีคนฆ่าตัวตายสำเร็จ 1 คน

พ.ต.ท.พญ.อัญชุลี ธีระวงศ์ไพศาล จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น หรือ หมอแอร์ ได้เคยกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า ตำรวจทำงานหนักและมีกฎระเบียบที่ค่อนข้างเคร่งครัด ต้องปรับตัวทั้งกับผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา และสังคม อีกทั้งความคาดหวังที่สูงจากครอบครัวว่าจะเป็นที่พึ่งของครอบครัว จึงเกิดความเครียดได้ง่ายและก่อเหตุฆ่าตัวตายได้ง่าย เพราะมีอาวุธติดตัวตลอดเวลา มีความชำนาญในการใช้อาวุธ โดยการก่อเหตุมักเกิดจากอารมณ์ชั่ววูบ แต่จะมักจะมีสัญญาณเตือนก่อน เช่น เขียนจดหมายลา ทำพินัยกรรม ไปร่ำลาครอบครัวหรือเพื่อน เป็นต้น

ภาพจาก Depress We Care

เพื่อลดปัญหาการฆ่าตัวตายของตำรวจ นอกจากการไปพบจิตแพทย์ ซึ่งมีกระบวนการในการผ่อนคลายและบำบัดรักษาแล้ว ล่าสุด ยังมีเฟซบุ๊กแฟนเพจ “Depress We Care ซึมเศร้าเราใส่ใจ” ซึ่งเป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับข้าราชการตำรวจและครอบครัว เพื่อให้คำปรึกษา หรือขอคำแนะนำ รวมถึงการป้องกันและรักษาในเบื้องต้น โดยมีทีมจิตแพทย์และนักสหวิชาชีพชุดใหม่เป็นผู้ให้คำปรึกษา หรือโทร.สายด่วนที่เบอร์ 08-1932-0000 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ที่สำคัญ ข้อมูลทั้งหมดจะเป็นความลับอย่างแน่นอน

————————

แหล่งข้อมูล:

————————

บทความที่เกี่ยวข้อง: พบ “จิตแพทย์” ที่ไหนดี…ไม่เสียประวัติจริงหรือ ?

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า