Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

โลกโซเชียลแห่ให้กำลังใจครอบครัวของ “น้องเอเดน” ที่ป่วยเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องตั้งแต่กำเนิด ต้องใช้เงินจำนวนมากเพื่อปลูกถ่ายไขกระดูก ล่าสุดผู้สื่อข่าวเวิร์คพอยท์ ได้พูดคุยกับพ่อของน้องเอเดน ที่ยังหวังจะได้รับการบริจาคสเต็มเซลล์ รักษาลูกป่วย

จากกรณีในโลกออนไลน์ ได้มีการแชร์เฟซบุ๊กของผู้ใช้ชื่อว่า Mo’Chitlada Ekprasertkul ได้โพสต์ข้อความบอกว่า “ด.ช.เอเดน ลูกชายวัย 5 เดือน ‘ลูกแม่โมกับพ่อนก’ ที่ทางแพทย์สันนิษฐานว่ามีอาการโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องแต่กำเนิด จนต้องนอนรักษาอยู่สภากาชาด รพ.เด็ก นานกว่า 1 เดือน โดยทางแพทย์ต้องใช้เงินรักษาโดยการปลูกถ่ายไขกระดูก 1 ล้านบาท ต่อมา มีชาวเน็ตเห็นใจแห่ช่วยบริจาค ยอดเงินกว่า 6 แสนบาท”

https://www.youtube.com/watch?v=tRFtdKB2vHM&t=30s

ด้าน น.ส.จิตรลดา เอกประเสริฐกุล อายุ 25 ปี หรือ แม่โม เผยว่า “รู้สึกเป็นกังวลเมื่อได้ยินข่าวเเกี่ยวกับผู้ลงชื่อบริจาคสเต็มเซลล์ ปฏิเสธการบริจาคให้กับผู้ป่วย ซึ่งไม่แน่ใจว่าด้วยเหตุผลใด จึงไปหาข้อมูลในเรื่องการบริจาคสเต็มเซลล์เพิ่มเติมจากเว็บไซต์ของสภากาชาด

อย่างแรกที่เราเห็นคือ โอกาสในการจับคู่ จากที่เราเข้าใจว่า 1 ต่อ 50,000 นั้น สภากาชาดบอกมีโอกาส 1 ต่อ 10,000 ทำให้เราดีใจขึ้นมามาก แต่พอไปดูวิธีการบริจาคก็ทำให้เข้าใจว่าทำไมผู้บริจาคบางท่านถึงปฏิเสธ อาจเพราะวิธีการเก็บสเต็มเซลล์บางวิธีก็อาจจะน่ากลัวในสายตาคนทั่วไป เช่น การต้องดมยาสลบในห้องผ่าตัด แต่สำหรับบางคนอาจใช้วิธีอื่น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ด้วย

เลยนึกย้อนมาถึงน้องเอเดน ที่กระบวนการปลูกถ่ายไขกระดูกเพื่อรักษาโรคนั้นยังไม่เริ่มเลย และกว่าจะได้ทำต้องผ่านกี่ด่านบ้าง อย่างด่านแรกๆ เลย คือน้องต้องปลอดเชื้อร้อยเปอร์เซ็นต์ ควบคู่กับการติดต่อโรงพยาบาลที่มีศักยภาพในการทำเคสน้อง เพราะต้องเข้าใจว่า หมอแต่ละท่าน หรือแต่ละที่ ก็เชี่ยวชาญการรักษาโรคเฉพาะทางที่แตกต่างกัน

“หน้าที่ของเราคือเสาะหาหมอที่มีความสามารถ และยินดีที่จะรับเคสน้อง แล้วค่อยหาสเต็มเซลล์จากผู้บริจาค ถ้าจับคู่ได้แล้ว เราก็หวังว่า ผู้บริจาคจะเอ็นดูน้อง และพร้อมช่วยเหลือน้อง เพราะหากหาใครไม่ได้จริงๆ หมอคิดว่าก็คงต้องใช้สเต็มเซลล์ของตนหรือสามีในการรักษาน้องเอเดน

ซึ่งเท่าที่รู้มา รพ.ในไทยยังไม่เคยมีที่ไหนใช้สเต็มเซลล์ของพ่อแม่ในการรักษาลูกที่ป่วยเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องแต่กำเนิดเลย แต่เธอกับสามียังมีความหวังว่าน้องเอเดนต้องหาย มีความหวังว่าจะจับคู่สเต็มเซลล์กับผู้บริจาคได้ และน้องต้องหายดีและเติบโตต่อไป”

วันที่ 13 ส.ค. 61 ทีมข่าวเวิร์คพอยท์ได้มีโอกาสพูดคุยกับ นายวสันต์ สีตก พ่อของน้องเอเดน กล่าวถึงอาการของลูกชายว่า น้องเอเดน วัย 5 เดือน ป่วยเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องตั้งแต่กำเนิด เป็นผู้ป่วยที่พบเจออาการนี้ในประเทศไทยน้อยมาก ส่วนใหญ่มักพบในเด็กโตกว่านี้

โดยอาการเริ่มแรกคือน้องเอเดนไม่สบาย น้ำมูกไหลและเป็นไข้ อาการดูเหมือนเด็กเล็กป่วยทั่วไป แต่ปรากฏว่าผ่านไปสัปดาห์ – สองสีปดาห์แล้วก็ไม่หาย จึงได้ให้แพทย์วินิจฉัยอย่างละเอียด พบว่ามีอาการปอดติดเชื้อรุนแรง

หมอสันนิษฐานว่าน้องเอเดนอาจเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องแต่กำเนิด ยังคงต้องรออีก 3 เดือน แพทย์จะดำเนินการส่งเลือดของน้องเอเดนไปตรวจโคโมรโซม เพื่อให้ได้รู้ว่าเป็นชนิดไหน ที่ต้องรอถึง 3 เดือน เพราะน้องได้รับเลือดจากคนอื่นอยู่

นายวสันต์เล่าให้ฟังต่อว่า แนวทางการรักษาของลูกชายคือ ต้องปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิด ประเทศไทยมีโรงพยาบาลที่เชี่ยวชาญด้านการปลูกถ่ายไขกระดูกสันน้อย โดยหลักเกณฑ์ของผู้บริจาคนั้นเป็นพี่น้องท้องเดียวกัน ที่มีลักษณะพันธุกรรมจากการตรวจ (human leukocyte antigen: HLA) เข้ากันได้ 100%

หรือผู้บริจาคที่ไม่ใช่พี่น้องของผู้รับ แต่มี HLA ที่เข้ากันได้ 100% ส่วนใหญ่ผู้บริจาคมักเป็นพี่น้องท้องเดียวกัน แต่น้องเอเดนเป็นลูกคนแรก จึงเป็นเรื่องยากที่จะหาผู้บริจาคที่เข้ากัน และแพทย์ไม่อยากให้รอนาน อีกหนทางหนึ่งก็ต้องเป็นตัวเขาหรือภรรยาที่จะบริจาคสเต็มเซลล์ให้ลูก

ทั้งนี้ที่นายวสันต์ บอกว่าอยากให้มีผู้บริจาคสเต็มเซลล์มากกว่านี้ อย่างน้อยหากเข้ากันไม่ได้ก็ยังมีผู้ป่วยโรคอื่นๆ เช่นมะเร็งเม็ดเลือดขาว ทาลัสซีเมีย ฯลฯ ที่ยังต้องการอยู่ หากโชคดีก็ยังมีความหวังว่าจะมีสักคนที่ผลสามารถเข้ากับลูกของเขาได้

ส่วนสิทธิ์การรักษษตอนนี้ เขาได้ใช้บัตรทอง ยืนยันว่าสามารถใช้สิทธิได้ไปจนถึงการปลูกถ่ายไขกระดูก แต่การปลูกถ่ายไขกระดูกมีงบประมาณจำกัดต่อปี เพราะยังมีโรคที่รักษาด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูกหลายโรค งบประมาณที่มีจะแบ่งตามจำนวนโรคที่คนเป็นเยอะ

ในส่วนของโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องแต่กำเนิด มีงบให้โรงพยาบาลที่สามารถปลูกถ่ายไขกระดูกได้แค่ที่ละ 2 คนต่อปี  หมอยืนยันว่าตอนนี้ในปีนี้เต็มหมดแล้ว ประกอบกับแต่ละที่มีความเชี่ยวชาญในการปลูกถ่ายไขกระดูกแต่ละโรคไม่เหมือนกัน ตอนนี้ก็รู้สึกเป็นกังวล หากโรงพยาบาลปฏิเสธการรักษา เพราะไม่เคยมีเคสแบบนี้มาก่อน อีกทั้งเด็กจะต้องมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง พร้อมต่อการเข้ารับการรักษาอีกด้วย

ทั้งนี้จากการตรวจสอบข้อมูลของเว็บไซด์ของศูนย์บริจาคโลหิตสภากาชาดไทย ถึงการบริจาคเซลล์ต้นกำเนิด ทราบว่า มีผู้ลงทะเบียนบริจาคสเต็มเซลล์ทั่วประเทศประมาณ 2 แสนคน การบริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตมี 2 วิธี ปัจจุบันนิยมวิธีการบริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตทางหลอดโลหิตดำ เพราะง่ายและสะดวกสำหรับผู้บริจาค

และอีกวิธีหนึ่งการบริจาคไขกระดูกโดยใช้เข็มและกระบอกฉีดยาเจาะเก็บจากบริเวณสะโพกด้านหลัง (บริเวณขอบกระดูกเชิงกราน) ซึ่งดำเนินการเก็บในห้องผ่าตัดก่อนการบริจาค ผู้บริจาคสามารถเลือกวิธีบริจาคได้หรืออาจจะได้รับการร้องขอจากแพทย์ ให้บริจาคด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ซึ่งก่อนบริจาคจะต้องมีการตรวจสุขภาพของผู้บริจาค ซึ่งการบริจาคสเต็มเซลล์นั้น ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริจาคแต่อย่างใด แต่กลับช่วยชีวิตผู้ป่วยได้

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า