เพิ่มเขื่อนเฝ้าระวังพิเศษเป็น 6 เขื่อน หลังเขื่อนศรีนครินทร์ปริมาณน้ำเกินระดับเกินเกณฑ์ควบคุมสูงสุด ด้านแม่น้ำโขง-ป่าสัก-ปราจีนบุรียังสูงกว่าตลิ่งเฝ้าระวังต่อเนื่อง
วันที่ 30 ส.ค.61 นายสำเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤต เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำและพื้นที่เสี่ยงสำคัญ ประจำและสถานการณ์ฝนในวันนี้ (30 ส.ค. 61)ว่า ยังคงมีฝนตกหนักบางพื้นที่ โดยมีพื้นที่เสี่ยงภัยฝนตกหนักถึงหนักมาก 25 จังหวัด
ภาคเหนือ เชียงราย น่าน พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แม่ฮ่องสอน ตาก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี
ภาคตะวันตก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์
ภาคตะวันออก นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด
โดยฝนสะสม 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ยังคงมีฝนตกปานกลางถึงหนักในภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ 50.0 มม. แม่ฮ่องสอน 50.0 มม. ภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครพนม 46.6 มม. บึงกาฬ 44.0 มม. ภาคกลาง จ.ลพบุรี 39.0 มม. ภาคใต้ จ. สุราษฎร์ธานี 44.0 มม. ส่วนภาคตะวันออก ภาคตะวันตก มีฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง
สำหรับสถานการณ์น้ำในแม่น้ำในภาคต่างๆ พบว่า ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคตะวันออก ระดับน้ำเพิ่มขึ้น โดยต้องเฝ้าระวัง ลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขงบริเวณที่แม่น้ำโขงสูงกว่าตลิ่ง แม่น้ำป่าสัก จ.เพชรบูรณ์ และแม่น้ำปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างมีระดับน้ำน้อย ภาคตะวันตก ภาคกลางและภาคใต้มีระดับปานกลางถึงน้ำมาก โดยต้องเฝ้าระวัง แม่น้ำเพชรบุรี จ.เพชรบุรี
ขณะที่แม่น้ำโขง พบว่า มีน้ำสูงกว่าตลิ่งที่ จ.นครพนม จ.มุกดาหาร และ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้น และต้องเฝ้าระวังบริเวณ จ.บึงกาฬ
ส่วนสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ที่เป็นอ่างฯขนาดใหญ่ที่มีระดับเกินเกณฑ์ควบคุม (Upper Rule Curve) และปริมาณน้ำเกินร้อยละ 80 ของความจุ ปัจจุบันมี 6 แห่ง ล่าสุด คือ เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี มีปริมาณน้ำ 16,025 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 90% ปริมาณน้ำไหลเข้า 61.27 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลออก 24.92 ล้าน ลบ.ม. ขณะที่เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร ปริมาณน้ำ 573 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 110% ปริมาณน้ำไหลเข้า 8.86 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลออก 9.72 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ปริมาณน้ำ 758 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 107% น้ำล้นทางระบายน้ำ (Spillway) สูง 1.06 ม. ลดลง 3 ซม.ปริมาณน้ำไหลเข้า 13.93 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลออก 15.22 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี ปริมาณน้ำ 8,296 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 94% ปริมาณน้ำไหลเข้า 94.31 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลออก 52.31 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนำยก ปริมาณน้ำ 194 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 87% ปริมาณน้ำไหลเข้า 6.73 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลออก 9.64 ล้าน ลบ.ม. น้ำไหลผ่านทางระบายน้ำล้นสูง 1.08 ม. ลดลง 52 ซม. และ เขื่อนปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปริมาณน้ำ 319 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 81% ปริมาณน้ำไหลเข้า 9.70 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลออก 11.08 ล้าน ลบ.ม.
อย่างไรก็ตาม สำหรับอ่างเฝ้าติดตามที่ปริมาณน้ำน้อยกว่า 30% ยังคงมีขนาดใหญ่ 2 แห่ง เขื่อนอุบลรัตน์ 28% เขื่อน ทับเสลำ 25% ขนำดกลาง 37 แห่ง แบ่งเป็น ภาคเหนือ 2 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 25 แห่ง ภาคตะวันออก 4 แห่ง ภาคกลาง 2 แห่ง ภาคใต้ 4 แห่ง