SHARE

คัดลอกแล้ว

ภาพจาก ราชสีห์ จิตอาสา

ศูนย์เฉพาะกิจฯ ยังจับตา 5 เขื่อนหลังฝนตกต่อเนื่อง และการระบายน้ำที่เพิ่มขึ้นหวั่นกระทบพื้นที่ท้ายน้ำ ย้ำแจ้งเตือนพื้นที่ริมแม่น้ำปราจีนบุรี และแม่น้ำนครนายกแนวโน้มน้ำสูงจ่อล้นตลิ่ง

วันนี้ (28ส.ค.61) นายสำเริง  แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤติ เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำและพื้นที่เสี่ยงสำคัญ ประจำวันที่ 28 ส.ค.61 ว่า จากสถานการณ์ฝนตกหนักขณะนี้ พบว่า มีพื้นที่เสี่ยงภัยฝนตกหนักถึงหนักมาก 31 จังหวัด แบ่งเป็น ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์  แม่ฮ่องสอน ตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.เลย ชัยภูมิ หนองคาย บึงกาฬ นครพนม อุดรธานี สกลนคร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ภาคตะวันตก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ภาคตะวันออก จ.นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี ตราด ภาคใต้ จ.ระนอง โดย 24 ชั่วโมงที่ผ่านมามีฝนตกปานกลางถึงหนักในภาคเหนือ ได้แก่ จ.น่าน 85.0 มม. เชียงใหม่ 82.00 มม.อุตรดิตถ์ 52.5 มม. เชียงราย 50.5 มม. แม่ฮ่องสอน 42.5 มม. พะเยา 42.5 มม. ลำปาง 41.0 มม. ภาคกลาง กรุงเทพมหานคร  72.5 มม. ปทุมธานี 43.8 มม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.บึงกาฬ 79.4 มม. และภาคตะวันออก จ.นครนายก 98.5 มม. ตราด 60.6 มม. จันทบุรี 41.5 มม.

ทั้งนี้ จากปริมาณฝนที่ตกต่อเนื่องหลายพื้นที่ พบว่าในแม่น้ำมีระดับน้ำเพิ่มขึ้นหลายจุด ไม่ว่าจะในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคตะวันออก มีระดับน้ำเพิ่มขึ้น โดยต้องเฝ้าระวัง แม่น้ำปราจีนบุรี บริเวณ อ.กบินทร์บุรี อ.ศรีมหาโพธิ์ อ.เมืองปราจีนบุรี อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี และแม่น้ำนครนายก บริเวณ อ.องครักษ์ จ.นครนายก คลองพระปรง   จ. สระแก้ว ที่น้ำสูงกว่าตลิ่ง ส่วนแม่น้ำเพชรบุรียังคงมีระดับสูงแต่แนวโน้มลดลง และลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขงที่สูงกว่าตลิ่งบริเวณ จ.นครพนม จ.มุกดาหาร และ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี และต้องเฝ้าระวังบริเวณ จ.หนองคาย และ จ.บึงกาฬ

ขณะที่สถานการณ์น้ำของเขื่อนที่อยู่ในเกณฑ์ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ 5 แห่ง มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างฯ เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะ เขื่อนปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปริมาณน้ำ 320 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็น 82%  มีปริมาณน้ำไหลเข้า 11.67 ล้าน ลบ.ม. เพิ่มขึ้น 1.74 ล้าน ลบ.ม. มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ 11.08 ล้าน ลบ.ม. เพิ่มขึ้น 0.86 ล้าน ลบ.ม. ทั้งนี้ จากแผนระบายน้ำจากเขื่อนปราณฯลงแม่น้ำปราณบุรีเพิ่มขึ้น แต่จะค่อยๆเพิ่มอัตราการระบายโดยติดตามดูผลกระทบท้ายน้ำและแจ้งจังหวัด อำเภอ ให้แจ้งราษฎรในพื้นที่ก่อนเพิ่มอัตราการระบาย อย่างไรก็ตาม คาดว่าระดับน้ำในแม่น้ำปราณบุรีวันนี้จะเพิ่มขึ้นไม่เกิน 25 ซม. ขณะที่เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก ปริมาณน้ำ 199 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 89% ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 14.51ล้าน ลบ.ม. เพิ่มขึ้น 8.42  ล้านลบ.ม. มีปริมาณน้ำไหลอออก 9.37 ล้าน ลบ.ม. เพิ่มขึ้น 2.31 ล้าน ลบ.ม. น้ำไหลผ่านทางระบายน้ำล้นสูง 1.65 ม.เพิ่มขึ้น 1.19 ม. โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการแจ้งเตือนพื้นที่ริมแม่น้ำที่จะได้รับผลกระทบทราบอย่างต่อเนื่อง

ขณะที่เขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ปริมาณน้ำ 756 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 106% น้ำล้นทางระบายน้ำ (Spillway)
สูง 1.02 ม. เพิ่มขึ้น 4 ซม. ปริมาณน้ำไหลเข้า 17 ล้าน ลบ.ม. เพิ่มขึ้นประมาณ 7 ล้าน ลบ.ม.มีปริมาณน้ำไหลออก 16.28 ล้าน ลบ.ม. ลดลง 0.52 ล้าน ลบ.ม. ระดับน้ำในแม่น้ำเพชรบุรี  บริเวณ อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 66 ซม. อ.เมืองเพชรบุรี จ.เพชรบุรี ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 44 ซม. ทำให้พื้นที่น้ำท่วมริมสองฝั่งแม่น้ำเพชรบุรีลดลง แนวโน้มจะกลับเข้าสู่ปกติในเร็วๆนี้ แต่ยังต้องเฝ้าระวังเนื่องจากยังคงมีฝนตกในพื้นที่ และยังต้องเร่งระบายน้ำผ่านระบบชลประทานและแม่น้ำเพชรบุรีต่อเนื่อง ส่วนที่เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี น้ำไหลเข้าอ่างมีแนวโน้มลดลง ปัจจุบันมีปริมาณน้ำ 8,221 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 93% ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 79.17 ล้าน ลบ.ม. ลดลง 18.52 ล้าน ลบ.ม. มีปริมาณน้ำไหลออก 52.27 ล้าน ลบ.ม.เท่าเมื่อวาน

สำหรับเขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร ปริมาณน้ำ 574 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 110% ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 14.18 ล้าน ลบ.ม. เพิ่มขึ้น 2.75 ล้าน ลบ.ม. มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ 9.86 ล้าน ลบ.ม.เพิ่มขึ้น 1.01 ล้าน ลบ.ม. มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำล้นตลิ่ง บริเวณบ้านนาหว้า อ.นาหว้า จ.นครพนม บ้านพอกใหญ่  อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร และมีการแจ้งเตือนให้ติดตามสถานการณ์น้ำในจังหวัดสกลนคร บึงกาฬ และนครพนม อย่างใกล้ชิด เนื่องจากระดับน้ำจะเพิ่มขึ้นจากการระบายน้ำเพิ่มอีก 1.0 ล้าน ลบ.ม. ในวันนี้ (28 ส.ค.61 )

ภาพรวมสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดใหญ่ มีปริมาณน้ำรวม 52,877 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 75 ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง มี 3,153 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 61 รับน้ำได้อีก 20,088 ล้าน ลบ. ม. แบ่งเป็น อ่างฯที่ความจุเกิน 100% ขนาดใหญ่ 2 แห่ง เขื่อนน้ำอูน 110% เขื่อนแก่งกระจาน 106% ขนาดกลาง 32 แห่ง เพิ่มขึ้น 3 แห่ง อ่างเฝ้าระวัง 80-100% ขนาดใหญ่ 5 แห่ง ได้แก่ เขื่อนศรีนครินทร์ 90% เขื่อนวชิราลงกรณ 93% เขื่อนรัชชประภา 87% เขื่อนขุนด่านปราการชล 89%  เขื่อนปราณบุรี 82% ขนาดกลาง 51 แห่ง ลดลง 3 แห่ง

https://www.facebook.com/memoriesatp/posts/1997525363647842

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า