SHARE

คัดลอกแล้ว

(1)

ย้อนกลับไป 19 ก.พ. 2561  “บุญศรี แสงหยกตระการ” ปฏิบัติการสะท้านสังคมด้วยการหยิบขวานออกมาจามรถที่ขวางหน้าบ้านเธอ เบื้องต้นคนก็คิดว่าอาจจะเป็นแค่ปรากฏการณ์ของ “ป้าหัวร้อน” คนหนึ่งซึ่งพบเจอได้ตามสังคมทั่วไป

แต่เรื่องราวเริ่มเปิดเผยขึ้นและทำให้คนหันมามองว่า ที่ต้องเป็น “ผู้กระทำ” เพราะตกเป็น “ผู้ถูกกระทำ” มานานนับปี

หน้าบ้านของ “บุญศรี” ต้องกลายเป็นพื้นที่จอดรถของตลาด แม้ค้า คนจับจ่าย คนแล้วคนเล่าแวะเวียนมาจอดรถขวางหน้าบ้านเธอ จนเธอต้องประสบความยากลำบากในการเข้าออกบ้าน

มิพักต้องพูดถึงสภาพแวดล้อมที่เธอต้องทนทั้งความสกปรก ทนทั้งเสียงอึกทึกครึกโครม และที่ต้องขีดเส้นใต้เอาไว้ตัวใหญ่ๆ คือ “ตลาดนั้นตั้งขึ้นอย่างไม่ถูกต้อง”  ยังไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่หรือที่เรียกกันว่า “ตลาดเถื่อน” นั่นเอง

เธอเรียกร้องตามกระบวนการทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการแจ้งตำรวจ แจ้ง กทม. ร้องศาลปกครอง  และแม้จะมีคำสั่งศาล แต่ดูเหมือนทุกอย่างจะเป็นเรื่องเปล่าประโยชน์ กระบวนการยุติธรรมการบังคับใช้กฎหมายมิอาจทำให้เธอได้รับความยุติธรรม

สุดท้ายเธอต้องหันมาใช้วิธีอันมิพึงประสงค์ โดยใช้ความรุนแรงเรียกร้องความเป็นธรรมให้ตัวเอง

สุดท้าย เรื่องราวก็เป็นอย่างที่เห็น เมื่อทั้งสังคมและกระบวนการยุติธรรม เจ้าหน้าที่รัฐที่มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย ต้องหันกลับมามองปัญหาของเธอและเร่งแก้ไขปัญหา และก็อย่างที่เราเห็นกัน ปัญหาของเธอถูกแก้อย่างรวดเร็ว ตลาดรอบบ้านหายวับไปกับตา
.

(2)

23 ก.ค. 2561 ที่ศาลอาญา เกิดเหตุชายโดดลงจากอาคารชั้น 8 ส่งผลให้เขาเสียชีวิตในทันที และเรื่องราวรันทดก็ถูกนำเสนอสู่สายตาคนในสังคม เมื่อสาเหตุของการก่อเหตุครั้งนี้ เพราะรู้สึกผิดหวังกับคำพิพากษาในคดีที่บุตรชายของเขาถูกสังหารจนเสียชีวิต แต่ผลการตัดสินให้ยกฟ้อง ทำให้เขาตัดสินใจจบชีวิตตัวเองลง ณ สถานที่ที่เขาได้ร่วมรับฟังคำพิพากษานั่นเอง

เหตุการณ์เริ่มเมื่อบุตรชายของ “ศุภชัย คัฬหสุนทร” ถูกแทงตายกลางที่สาธารณชน แต่ปรากฏว่าพยานหลักฐานแห่งคดีดูจะตีบตัน ไม่ว่าจะเป็นกล้องวงจรปิด หรือพยานบุคคล ที่สุดท้ายพยานปากเอกกลับถูกระบุว่ามีจิตไม่ปกติ ท่ามกลางเสียงครหาว่างานนี้คู่กรณีเป็นผู้มีอิทธิพล

“ศุภชัย” ต้องออกจากงานและมาตามหาพยานหลักฐานเพื่อนำขึ้นสู้คดีด้วยตัวเอง แต่สุดท้ายคดีต้องถูกยกฟ้องเมื่อไม่มีหลักฐานเอาผิด เหมือนทั้งโลกพังลงต่อหน้า ความหวังจะทวงคืนความยุติธรรมให้กับบุตรชายของเขาหมดลง เขาจึงตัดสินใจจบชีวิต เพื่อเซ่นสังเวยเรื่องราวที่เกิดขึ้น

พลันที่ชีวิตของเขาดับ เรื่องราวใหม่กลับเกิดขึ้น หลักฐานที่ดูจะน้อยนิดในตอนแรกกลับพรั่งพรู โดยเฉพาะพยานวัตถุที่เรียกว่า “กล้องวงจรปิด” ท่ามกลางคำถามว่าที่ผ่านมาบุคคลากรในกระบวนการยุติธรรมทำหน้าที่อย่างเต็มที่หรือไม่

.

(3)

27 ก.พ. 2561 เกิดเหตุสลดขึ้นอีกครั้งเมื่อ “น้องหญิง” นรีกานต์ ยาวิราช ตกรถเทรลเลอร์ เสียชีวิต  เรื่องราวทำท่าจะจบลงง่ายๆ โดยตำรวจท้องที่ซึ่งเป็นต้นธารของกระบวนการยุติธรรมระบุว่าเป็นเรื่องอุบัติเหตุ และทำท่าจะเป็นเรื่องของกฎหมายจราจรไป

แต่เมื่อครอบครัวได้รู้ถึงข้อมูลบางประการ ก็พบว่ามีเรื่องน่าสงสัย จึงนำศพไปชันสูตรที่โรงพยาบาล ผลออกมาว่าเธอถูกของแข็งไม่มีคมทุบที่ท้ายทอย และยังมีหลักฐานเป็นคลิปเสียงสนทนาในโทรศัพท์ แต่ตำรวจกลับปล่อยตัวโชเฟอร์ผู้ก่อเหตุไป

เรื่องกลายมาเป็นทอล์กออฟเดอะทาวน์เมื่อถูกเปิดประเด็นในโลกออนไลน์ คดีจึงคืบหน้าและเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ เราได้เห็นภาพเงาที่ใหญ่กว่าตอนเริ่มแรกวางซ้อนอยู่ด้านหลัง โดยเฉพาะข้อหา “ค้ามนุษย์”

——–

ทั้งสามคดีมีความเกี่ยวพันกันอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเรื่องความไม่เชื่อถือว่ากระบวนการยุติธรรมจะนำมาซึ่งความยุติธรรม

คดี “ป้าทุบรถ” อาจจะดูเบาเพราะยังไม่มีผู้เสียชีวิต  แต่การที่กระบวนการยุติธรรม กระบวนการบังคับใช้กฎหมายไม่ทำงาน ทำให้เราเห็นช่องว่างช่องโหว่มหาศาล ที่ทำให้คนคนหนึ่งหมดความอดทน ต้องยอมเสียสละตนเองทำผิดกฎหมาย เพื่อให้คนทั้งสังคมหันหลังกลับมาบ้างว่า อะไรกำลังทอดทิ้งเธอ และมาช่วยแก้ไข

คดี “น้องหญิง” ซึ่งเธอเสียชีวิตไปแล้ว ญาติต้องขวนขวายหาข้อมูลหลักฐานเอง ขณะที่ต้นธารของกระบวนการกลับทำอย่างขอไปที โดยที่ไม่มีใครบอกได้ว่า ตั้งใจทำให้กลายเป็นเรื่องเพียงอุบัติเหตุ หรือทำไปเพียงเพราะหวังปัดคดีให้พ้นไปจากมือ หรือทำไปเพราะขาดความเชี่ยวชาญ  ยังดีที่มีกระบวนการอื่นคอยช่วยเหลือญาติของเธออยู่บ้าง

แต่คดี “ศุภชัย” นั้นถือเป็นคดีที่สะเทือนใจที่สุด มีคนต้องมาเสียชีวิตถึงสองคน เพื่อเซ่นสังเวยให้กับความยุติธรรมที่เขาไม่ได้รับ แม้จะพยายามหาพยานหลักฐานเองขนาดไหน  เป็นไปได้อย่างไรที่เจ้าหน้าที่จะหาคนผิดมาลงโทษไม่ได้ ทั้งๆ ที่เหตุเกิดกลางฝูงชน

ความหดหู่และความน่าหวาดกลัวของทั้งสามกรณีคือการหมดความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม เพราะเมื่อใดคนไม่เชื่อว่า “ความยุติธรรม” และ “กฎหมาย”  ใช้ได้อีกต่อไป เราจะเห็นคนออกมาเรียกร้อง หากเป็นดีกรีเบาก็อาจจะเป็นอย่าง “ญาติน้องหญิง” ที่ใช้แรงกดดันทางสื่อสังคมออนไลน์เรียกร้องความเป็นธรรมให้ตัวเอง  แต่หากไม่ เราจะเห็นการเรียกร้องด้วยอารมณ์รุนแรงเช่นที่ “ป้าบุญศรี” ทำ หรือกระทั่งเราจะเห็นคนเซ่นสังเวยด้วยชีวิตตัวเอง ประท้วงสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างที่ “ศุภชัย” ทำ 

ไม่แน่ใจว่าคนในกระบวนการยุติธรรมเริ่มตระหนักถึงเรื่องนี้หรือไม่ พวกเขาเริ่มรับรู้หรือไม่ว่ามีใครบางคนในคดีบุตรชายของ “ศุภชัย” เริ่มหาทางทวงความยุติธรรมในแบบฉบับของตัวเอง

นี่เป็นสังคมแบบที่ต้องการจริงหรือไม่ หรือหากไม่ก็ต้องแก้อย่างเร่งด่วน หากแก้ไม่ตกหรือตีโจทก์ไม่แตก “ยุคมิคสัญญี” รออยู่ไม่ไกล

 _____

บทความโดย “อสรพิษ”

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า