SHARE

คัดลอกแล้ว

“ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี” คือ แผนการพัฒนาประเทศ ที่ริ่เริ่มโดย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งหวังให้เป็นเข็มทิศประเทศ วางกรอบการทำงานตั้งแต่ปี 2560 – 2579 

ภายใต้ วิสัยทัศน์ ของยุทธศาสตร์ชาติ คือ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ประกอบด้วย 6 ยุทธ์ศาสตร์

  1. ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง
  2. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
  3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน
  4. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม
  5. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  6. ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

พระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 ผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. ปี 2560 และประกาศลงราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 31 ก.ค.ปี 2560 ดังนั้นรัฐบาลทุกรัฐบาลต้องเดินไปตามนั้น โดยมีคณะกรรมการจัดทบทวนยุทธศาสตร์ทุกๆ 5 ปีเพื่อปรับทิศทางให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เป้าหมายคือ ภายในปี 2579 ไทยต้องหลุดพ้นจากประเทศติดกับดักรายได้ปานกลาง ไปสู่ประเทศพัฒนาแล้ว

แต่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นคนหนึ่งที่แสดงความคิดไม่เห็นด้วยกับการกำหนดให้ “ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี” มาโดยตลอด ล่าสุดในเวทีสัมมนา “พลังโซเชียล เปลี่ยนการเมืองไทย” เมื่อวันที่ 17 มี.ค. ที่ผ่านมา ก็ได้ยืนยันว่า หากในการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้น ได้รับเลือกตั้งเป็นรัฐบาล จะปรับแก้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีนี้ เพราะมองว่า ไม่สามารถแก้ปัญหาประเทศไทย และเห็นว่า การเขียนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ไม่มีความหมาย แต่กลับเป็นการสร้างความตระหนกให้ประชาชน และสร้างความตื่่นตัวทางสังคมเพื่อกดดันให้รัฐบาลต่อไปๆ ต้องทำตาม

นอกจากนี้ เมื่่อ 28 มิ.ย.ปี 2560 นายอภิิสิทธิ์ เคยให้เห็นผลที่คัดค้านว่า “ยุทธศาสตร์ชาตินี้ ควรจะต้องเสนอเหมือนกฎหมายอื่นๆ ที่ต้องส่งให้ส.ส. และส.ว.พิจารณา แต่ยุทธศาสตร์ 20 ปี มีเพียง สนช.เข้ามาตัดสินใจ และแสดงเจตนาที่จำกัดการมีส่วนร่วม”

อย่างไรก็ตาม บรรดาพรรคการเมืองใหม่ๆ ที่เริ่มเปิดเนื้อเปิดตัวในช่วงนี้ ยังไม่มีพรรคใดออกแสดงความเห็นเกี่ยวกับ “ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี” ซึ่งเป็นสิ่งที่ รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งต้องปฏิบัติตาม แต่ส่วนใหญ่ พรรคใหม่ ชูนโยบายไม่เอาทหาร ไม่เอานายกฯ คนนอก อาทิ พรรคอนาคตใหม่ ของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และ พรรคเสรีรวมไทย ของ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส อดีต ผบ.ตร. ที่เสนอนโยบาย ย้านทหารออกจากกรุง คือ ย้ายสถานที่ตั้งของทหารในกรุงเทพฯ ออกไปต่างจังหวัด เพื่อคืนพื้นที่สาธารณะให้คนกรุงเทพฯ ใช้ประโยชน์

(แฟ้มภาพ)

ส่วนเก๋าเกมอย่าง พรรคเพื่อไทย ก็มีจุดยืนชัดเจนว่า สนับสนุนประชาธิปไตย ไม่เอานายกฯ คนนอก แต่ยังไม่ได้พูดถึง “ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี” โดยนายภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการเลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวเมื่อวันที่ 8 เม.ย.ปี 2560 ถึงแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เป็นสิ่งที่ต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า