Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ – ผบช.ปส. เห็นด้วยกับแนวคิดเปลี่ยนกัญชาเป็นยาเสพติดประเภทที่ 2 เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เพื่อลดปัญหาการลักลอบนำเข้าส่งไปประเทศที่สามที่มีความต้องการนำไปใช้ประโยชน์

พล.ต.ต.สมหมาย กองวิสัยสุข ผู้บัญชาการปราบปรามยาเสพติด (ผบช.ปส.) เห็นด้วยหากมีการเปลี่ยนกัญชา ซึ่งปัจจุบันถูกจำแนกเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 มาเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 2 เพื่อใช้ในทางการแพทย์เ พื่อรักษาโรคมะเร็ง ที่มีผลวิจัยว่าสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้

พล.ต.ต.สมหมาย กองวิสัยสุข ผบช.ปส.

ผบช.ปส. เปิดเผยว่า สถานการณ์ยาเสพติดประเภทกัญชา ในปัจจุบันถือว่าเริ่มมีแนวโน้มลักลอบนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากขึ้น เนื่องจากเป็นแหล่งเพาะปลูกอย่างดี และเป็นที่ต้องการของหลายประเทศในต่างประเทศ ที่เปิดให้ใช้กัญชาทางการแพทย์อย่างเสรี แต่ถ้ามีการลักลอบนำเข้ามาในประเทศขณะนี้ยังถือว่ามีความผิด ต้องจับดำเนินคดีทั้งหมด

การเปลี่ยนให้กัญชา เป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 2 อยู่ในระหว่างการพิจารณาจากคณะกรรมการว่าจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ และได้เชิญกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด เป็นส่วนหนึ่งในคณะกรรมการพิจารณาด้านกฎหมาย ซึ่งหากผลการพิจารณาของคณะกรรมการมีความเห็นไปในทิศทางใด ตำรวจก็พร้อมดำเนินการตาม

แฟ้มภาพ ปส.สกัดจับกัญชาแห้ง

ทั้งนี้ การควบคุมยาเสพติดให้โทษ โดยทั่วไปยึดถือหลักในการพิจารณาว่า ตัวยานั้นทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการติดยาของประชากรในระดับรุนแรงอย่างไร และประโยชน์ของยาในการรักษาโรคมากน้อยเพียงใด จากพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ได้จัดประเภทของยาเสพติดให้โทษออกเป็น 5 ประเภท คือ

ประเภทที่ 1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง เป็นยาที่ไม่มีการนำมาใช้ในทางการแพทย์ และทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการติดยาของประชากรในระดับรุนแรง เช่น เฮโรอีน ยาบ้า ยาอี เป็นต้น
ประเภทที่ 2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไป เป็นยาที่มีประโยชน์ในการรักษาโรคในระดับน้อยจนถึงมาก และทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการติดยาของประชากรในระดับที่ต้องพึงระวัง เช่น มอร์ฟีน โคเคน โคเดอีน เป็นต้น

ต้นกัญชา

ประเภทที่ 3 ยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดให้โทษในประเภท2 เป็นส่วนผสมอยู่ด้วย ตามที่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับไว้ เป็นยาที่ทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการติดยาของประชากรน้อย แต่ยังคงมีอันตราย และมีประโยชน์มากในการรักษาโรคเช่น ยาแก้ไอผสมโคเดอีน เป็นต้น
ประเภทที่ 4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท1 หรือประเภท2 เช่น อาเซติคแอนไฮไดรด์ (Acetic Anhydride) อาเซติลคลอไรด์ (Acetyl Chloride)
ประเภทที่ 5 ยาเสพติดให้โทษที่มิได้อยู่ในประเภทที่1 ถึงประเภทที่4 เช่น กัญชา พืชกระท่อม เห็ดขี้ควาย เป็นต้น

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า