SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ- ทูตภูฏาน เยือน จ.เลย ชมทัศนียภาพ วัดวาอาราม เพื่อลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกัน (MOU) ระหว่างประเทศไทย โดย อพท. กับสภาการท่องเที่ยวแห่งภูฏาน (Tourism Council of Bhutan หรือ TCB) อันจะนำไปสู่การส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนระหว่างราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักรภูฏาน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวานนี้ (20 พ.ย. 60) ที่ท่าอากาศยานเลย อ.เมืองเลย จ.เลย นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย, นางกุลทรัพย์ ชื่นโกสุม นายกเหล่ากาชาดจังหวัดเลย, ดร.ชูวิทย์ มิตรชอบ รอง ผอ.องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) ต้อนรับ ฯพณฯ เชวัง โชเพล ดอร์จิ และภริยา เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม ราชอาณาจักรภูฏาน ประจำประเทศไทย ในโอกาสที่เดินทางมาเพื่อเยี่ยมชมพื้นที่จริงและรับฟังการบรรยายสรุปบทบาทภารกิจของ อพท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่

หลังจากนั้นได้เดินทางไปยังพระธาตุดินแทน บ้านแสงภา หมู่ 1 ต.แสงภา อ.นาแห้ว จ.เลย ห่างจากจังหวัดเลยราว 100 กม. ชมปูชนียสถานของชุมชนหมู่บ้านแสงภา ที่สร้างขึ้นจากหินดินทราย ที่เหล่าผู้ศรัทธานำมาเททับถมกันเรื่อยๆ เป็นเวลากว่า 200 ปี

จากนั้นได้เดินทางไปยังวัดศรีโพธิ์ชัย เป็นวัดเก่าแก่อายุมากกว่า 400 ปี เกิดขึ้นพร้อมๆกับการตั้งชุมชนบ้านแสงภา อ.นาแห้ว จ.เลย สักการะพระพุทธรูปเก่า ภายในโบสถ์ และสักการะหลวงพ่อเพชรภายในวิหารจำลอง ที่เป็นที่เคารพบูชาของชาว อ.นาแห้ว และชาว จ.เลย ชมการแสดงของชาว อ.นาแห้ว

นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย กล่าวต้อนรับ ฯพณฯ เชวัง โชเพล ดอร์จิ และภริยา พร้อมคณะว่า จ.เลย ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีชายแดนติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงและแม่น้ำเหืองเป็นพรมแดนกั้น จ.เลยมีชื่อเสียงในเรื่องภูมิประเทศที่เป็นทิวเขาที่สวยงาม มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจและมีอัตลักษณ์ ตามคำขวัญที่ว่า “เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม ดอกไม้งามสามฤดู ถิ่นที่อยู่อริยสงฆ์ มั่นคงความสะอาด” โดยเฉพาะ อ.นาแห้ว ซึ่งเป็นอำเภอชายแดนที่เปี่ยมล้นไปด้วยศิลปวัฒนธรรม ประเพณีอันเก่าแก่กว่า 400 ปี และยังเป็นจุดกำเนิดของลูกเสือชาวบ้านของประเทศไทย

ด้วยเหตุผลข้างต้น จ.เลย จึงกลายเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

ด้าน ดร.ชูวิทย์ มิตรชอบ รอง ผอ.อพท. กล่าวว่า การเดินทางลงพื้นที่ อ.แสงภา จ.เลย ของ ฯพณฯ นายเชวัง โชเพล ดอร์จิ เอกอัครราชทูตภูฏานประจำประเทศไทย และคณะ เพื่อเยี่ยมชมพื้นที่จริงและรับฟังการบรรยายสรุปบทบาทภารกิจของ อพท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อสรุปประเด็น ก่อนนำไปสู่การลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกัน (MOU) ระหว่างประเทศไทย โดย อพท. กับสภาการท่องเที่ยวแห่งภูฏาน (Tourism Council of Bhutan หรือ TCB) อันจะนำไปสู่การส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนระหว่างราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักรภูฏาน

แนวทางความร่วมมือระหว่างสองประเทศครั้งนี้ ประกอบด้วย 4 เรื่องสำคัญ ได้แก่

  1. การแลกเปลี่ยนแนวทางการบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เน้นการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์สังคม มุ่งสร้างความสุขให้คนในชุมชนพื้นที่พิเศษและนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าพื้นที่ การวัดการกระจายรายได้ทางการท่องเที่ยวลงสู่ชุมชนอย่างแท้จริง
  2. การประยุกต์การใช้เกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (GSTC) เป็นตัวชี้วัด
  3. ส่งเสริมการท่องเที่ยวภายใต้แนวคิดการท่องเที่ยวที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน โดยแลกเปลี่ยนข้อมูล ความเชี่ยวชาญ ทักษะการบริหารจัดการร่วมกัน และ
  4. การร่วมกันใช้ศักยภาพของเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแห่งเอเชีย (Asian Exit Network หรือ AEN) ที่ครอบคลุมประเทศสมาชิก 18 ประเทศในเอเชียแปซิฟิก เพื่อขับเคลื่อนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของทั้งสองประเทศให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

สำหรับจุดแข็งของ อพท. คือ เป็นองค์กรที่มีองค์ความรู้ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน ซึ่งภูฎานให้ความสนใจในเรื่องนี้ เพราะจะเป็นประโยชน์กับการท่องเที่ยวของราชอาณาจักรภูฏานที่กำลังเติบโตอย่างมาก และกำลังเผชิญความท้าทายด้านต่างๆ

ในส่วนของ จ.เลย มีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น คล้ายคลึงกับราชอาณาจักรภูฏาน โดยเฉพาะ อ.นาแห้ว ซึ่งอยู่ในพื้นที่พิเศษเลย ชุมชนท้องถิ่นมีความเคร่งครัดในพุทธศาสนา มีการถือศีล ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ในช่วงวันโกนและวันพระ เช่นเดียวกับที่ปฏิบัติกันโดยทั่วไปในราชอาณาจักรภูฏาน จุดแข็งนี้ อพท. ก็จะนำมาพัฒนา อ.นาแห้ว ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวด้านพุทธศาสนาและแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ซึ่ง อพท. ก็จำเป็นต้องอาศัยองค์ความรู้และคำแนะนำจากภูฏานด้วยเช่นกัน

“ใน 6 พื้นที่พิเศษที่ อพท. ดูแล มีพื้นที่พิเศษเลยเพียงแห่งเดียวที่มีความคล้ายคลึงกับราชอาณาภูฎานมากที่สุด เห็นได้จากที่ทุกวันนี้ ประชาชนที่ อ.แสงภา และชาวภูฎานยังคงมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด ภูมิประเทศก็ยังอุดมสมบูรณ์ด้วยธรรมชาติ อัตลักษณ์ที่เป็นจุดเด่นที่คล้ายคลึงกันเช่นนี้จะนำไปสู่การพัฒนาเพื่อเป็นจุดขายทางการท่องเที่ยวได้ ภายใต้ภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้องค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการที่มีมาตรฐานให้แก่ประชาชน ชุมชน เพื่อการเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน”

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า