SHARE

คัดลอกแล้ว

คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ คิดค้นชุดอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียม ที่ทำมาจากยางพารา และมีคุณภาพดีเหมือนผลิตจากเมืองนอก ก่อนส่งมอบให้กับ รพ.ตรัง เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ป่วย

วันที่ 10 ต.ค. 61 โรงพยาบาลตรัง ได้ให้การต้อนรับทีมแพทย์ และพยาบาล จากคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ นำโดย ผศ.นพ.วรวิทย์ วาณิชย์สุวรรณ ศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ พร้อมด้วยทีมงานในโครงการ THAI Colostomy Bags “จากคนไทย สู่คนไทย” เพื่อมอบชุดอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียม ที่คิดค้นขึ้นโดย ผศ.นพ.วรวิทย์ รวมทั้งได้รับความร่วมมือจากทีมสหสาขาต่างๆ รวมถึงหน่วยงานภาคเอกชน จนสามารถผลิตชุดอุปกรณ์ดังกล่าวขึ้นมาได้เป็นผลสำเร็จ

ผศ.นพ.วรวิทย์ กล่าวว่า การคิดค้นชุดอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียมในครั้งนี้ เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีการตัดลำไส้ทิ้ง เนื่องจากภาวะการเป็นมะเร็งลำไส้ ทำให้ไม่สามารถขับถ่ายทางทวารหนักตามปกติได้ โดยนำเอาผลผลิตของยางพารา ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของภาคใต้มาประยุกต์ใช้ จนเป็นผลสำเร็จ ทำให้สามารถลดต้นทุนในการสั่งซื้อชุดทวารเทียมจากต่างประเทศ และช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางพารา แต่ยังคงคุณภาพและประสิทธิภาพที่ได้มาตรฐาน และเทียบเท่าชุดอุปกรณ์ทวารเทียมจากต่างประเทศ

https://www.facebook.com/NewsWorkpoint/videos/1274761825996179/

ปัจจุบันชุดอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียม มีอยู่หลากหลายชนิด และหลายชื่อทางการค้า โดยต่างนำเสนอรูปแบบตามความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย ส่วนราคาก็มีความแตกต่างกันตามชนิดและคุณภาพของผลิตภัณฑ์  ประกอบกับประเทศไทย ยังไม่สามารถผลิตอุปกรณ์ชนิดนี้ได้เองในเชิงอุตสาหกรรม เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์นำเข้า และภาครัฐต้องเสียงบประมาณสูง แม้จะมีโรงพยาบาลหลายแห่งได้ดัดแปลงอุปกรณ์ใช้แทนถุงทวารเทียม แต่ก็ประสบปัญหาระหว่างการใช้ และมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ระคายเคือง แป้นรั่วซึม หลุดง่าย

จากการศึกษาของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ช่วงปี 56 – 58 พบว่า ราคาแผ่นติดผิวหนังรอบทวารเทียมจัดเป็นวัสดุสิ้นเปลืองที่มีราคาแพง ตั้งแต่แผ่นละ 122-188 บาท ตามขนาดและชื่อของผลิตภัณฑ์  ดังนั้น จึงจำเป็นต้องจำกัดปริมาณการสั่งซื้อ แค่เดือนละ 5 แผ่น/คน ทำให้ผู้ป่วยหรือญาติจำเป็นต้องเดินทางมาติดต่อซื้อที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์บ่อยครั้ง และมีจำหน่ายเฉพาะโรงพยาบาลใหญ่ๆ บางแห่งเท่านั้น จึงเกิดความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงการบริการ รวมทั้งความไม่สะดวกในการเดินทางมาซื้อชุดอุปกรณ์ชนิดนี้ด้วย

ประกอบกับกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มีการผลักดันให้ไทยในฐานะผู้ผลิตยางพารารายใหญ่ สามารถผลิตวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์หลากหลายชนิด รวมทั้งแผ่นติดผิวหนังรอบทวารเทียมที่นำเข้าจากต่างประเทศ ช่วยให้ผู้ป่วยภายในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ และโรงพยาบาลแห่งอื่นทั่วประเทศ เข้าถึงบริการได้โดยง่ายอย่างเท่าเทียมกัน อีกทั้งยังเกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วย และมีความปลอดภัยสูงสุด พร้อมกันนั้นยังได้ให้ความรู้แก่บุคลากรสาธารณสุข และผู้ป่วยในโรงพยาบาลตรัง ในเรื่องการดูแลทวารเทียม และการใช้ชุดอุปกรณ์ด้วย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า