SHARE

คัดลอกแล้ว

 

อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองข้อเสนอ รมว.คลัง จะปั๊มซีดีหลักสูตรเจ๋งๆ แจกโรงเรียนทั่วประเทศเพื่อสอนเด็กต่างจังหวัดให้มีความรู้เหมือนเด็กในเมือง เป็นแนวคิดที่ดี แต่เตือนอย่าผลีผลาม เพราะจะไม่ได้ใช้จริง

จากกรณี นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เสนอวิธีการหนึ่ง เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้าน “การศึกษา” ของไทย คือ การนำหลักสูตรอินเตอร์ หรือประเทศที่ประสบความสำเร็จ แล้วใช้ครูที่สอนเก่งที่สุดในประเทศไทยสอนใส่ “ซีดี” แจกโรงเรียนต่างจังหวัดทั่วประเทศ

(ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ)

ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์กับทีมข่าวเวิร์คพอยท์ ว่า ที่รัฐมนตรีกระทรวงการคลังเปิดประเด็นนี้ คิดว่าต้องรับฟัง เพราะ “ความเหลื่อมล้ำ” เป็นปัญหาใหญ่ที่วิกฤติและสำคัญ วิธีการแก้ไขเรื่องความเหลื่อมล้ำมีหลายวิธี ประเด็นแรก คือ การให้ทุนการศึกษา ค้นหากลุ่มคนที่ยากจนที่สุดของประเทศ ประเด็นที่สอง เราเริ่มค้นพบแล้วว่า การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำของโรงเรียนในเมืองกับโรงเรียนในชนบท โรงเรียนในกรุงเทพฯ กับโรงเรียนในต่างจังหวัด ความเหลื่อมล้ำเรื่องของครู องค์ความรู้ หลักสูตร ต้องแก้ไขด้วย Digital Platform

สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้น คือ องค์ความรู้ไม่ว่าจะเป็น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน คณิตศาสตร์ หรือวิชาอื่นๆ ต้องมีการศึกษาวิจัย หาคครูดีๆ มาสอน ถูกต้อง ถ้าจะผลิตเป็นแผ่นซีดีหรือสื่อการสอนอื่น ๆ น่าจะโอเค ที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ลดความเหลื่อมล้ำได้ แต่ไม่ใช่ว่าทำได้ทุกพื้นที่ เพราะความพร้อมและความแตกต่าง ๆ ของความเหลื่อมล้ำยังมีอยู่สูง

นอกจากจะมีชุดองค์ความรู้ ซอฟท์แวร์และเครื่องมือแล้ว คนในพื้นที่ต้องมีคนกลุ่มหนึ่ง อาจจะเป็นการรวมตัวของเด็กคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องพวกนี้ รวมตัวกับภาคราชการหรือเอกชนจะต้องทำ gateway ในการนำซีดี ซอฟท์แวร์ผ่านกระบวนการจัดการก่อนจึงนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และหาองค์ประกอบพื้นฐาน เช่น คอมพิวเตอร์ ไวไฟ อินเตอร์เน็ต ซึ่งในต่างจังหวัดแตกต่างกันลิบลับ ซีดีเป็นอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งเท่านั้น อาจแก้ได้ 10 เปอร์เซ็นต์ ยังไม่สามารถแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำได้ทั้งหมด แต่เป็นความริเริ่มที่ดี แต่การจะแก้ปัญหาเรื่องความหลื่อมล้ำต้องทำมากกว่านั้นเยอะ และต้องร่วมมือกับหลาย ๆ ฝ่าย นำประเด็นเรื่องความเหลื่อมล้ำมาเป็นเป้าหมายสำคัญของประเทศ

ระหว่างการปั๊มซีดี กับใช้ podcast ทางระบบอินเตอร์เน็ต แบบไหนน่าจะเกิดประสิทธิภาพกว่ากัน

ศ.ดร.สมพงษ์ : วิธีคิดแบบนี้เป็นวิธีคิดแบบรัฐที่ Top Down หรือ บนลงล่าง เพราะฉะนั้นสิ่งที่ค้นพบจากงานวิจัยอะไรที่เป็นนโยบายแล้ว บนลงล่าง 80-90 เปอร์เซ็นต์จะไม่ประสบความสำเร็จ เพราะฉะนั้นคุณมีแนวความคิดตัวนโยบายดี แต่คุณจะต้องถามผู้ปฏิบัติ มีงานวิจัย มีการสำรวจองค์ความรู้เรื่องต่าง ๆ จากล่างขึ้นบนแล้วให้คนข้างล่าง เขายอมรับเรียนรู้และเข้าใจตัวซอฟท์แวร์ที่กำหนดจากรัฐก่อน ไม่ใช่สั่งลงไป ผลิตสื่อลงไปบอกได้เลยว่า ล้มเหลวเกือบทั้งนั้น

คุณมีแนวนโยบาย แนวคิด หลักการดี แต่อย่าเพิ่งผลีผลามรีบสั่งทำ อย่ารีบเร่งแต่ดูความพร้อมสำรวจและถามความต้องการของครูก่อนว่า พร้อมแค่ไหนจะเอาไปใช้ได้จริงหรือไม่ เพราะข้างล่างผมบอกได้เลยโรงเรียนส่วนใหญ่ขาดแคลนมาก นวัตกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ เวลาจะทำต้องถามศึกษาให้ดีก่อนจะทำ

แบบนี้เหมือนเรียนกับครูตู้ (passive leaning) คือเรียนแบบไม่มีปฏิกริยาโต้ตอบ ครูถ้าเขารับผิดชอบแล้ว มีการอธิบายทำความเข้าใจกับเด็กก็จะโอ แต่ถ้าตราบใดที่ยังไม่ถามและไม่ลงพื้นที่ ไม่ไปคุยกับครูกับเด็ก ซีดีพวกนี้จะถูกเก็บไว้ในตู้ หรือใช้เป็นครั้งคราวไม่ค่อยเกิดประโยชน์เท่าไหร่ ครูต้องเป็นนักกระบวนการกร จัดการใช้สื่อเป็น ไม่ใช่ไปเปิดซีดีแล้วครูดูอยู่ที่ห่าง

ขอบคุณภาพ : Equitable Education Fund

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า