SHARE

คัดลอกแล้ว

https://youtube.com/watch?v=H4IMHPW43RY

จากกรณีการเคลื่อนไหวเรียกร้องการเลือกตั้งของกลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย ที่รวมตัวกันหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 27 ม.ค. 61 ที่ผ่านมา โดยมีนักกิจกรรม และประชาชนออกมาร่วมแสดงจุดยืนนับ 100 คน และจะมีการรวมตัวกันอีกครั้งในวันที่ 10 ก.พ. 61

กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตยคือใคร ?

กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย หรือม็อบค้านเลื่อนเลือกตั้ง อาจไม่ใช่ชื่อที่คุ้นหู แต่ถ้าเอ่ยชื่อของ รังสิมันต์ โรม หลายคนคงคุ้นกันดี เพราะถ้าย้อนไปเมื่อปี 58 นายรังสิมันต์ โรม เคยติดคุกร่วมกับ ไผ่ ดาวดิน เนื่องจากออกมาแสดงออกในเชิงสัญลักษณ์ต่อต้าน คสช. เป็นผู้นำกลุ่มนักศึกษา ที่ถูกล้อมจับบริเวณหน้าหอศิลป์ กรุงเทพฯ นอกจากนี้ก็สร้างความเคลื่อนไหว เรียกร้องตรวจสอบการทำงานของรัฐอยู่หลายๆ ครั้ง เช่น แจกใบปลิวรณรงค์ประชามติ และชุมนนุมรำลึก 1 ปีรัฐประหาร

สำหรับการเคลื่อนไหวครั้งนี้ มีจุดประสงค์หลักก็คือ กดดันให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐบาล คสช. ที่เลื่อนการเลือกตั้งมาแล้วหลายครั้ง ทำการคืนอำนาจให้กับประชาชน ไม่ทำการสืบทอดอำนาจ และจัดการเลือกตั้งให้โดยเร็ว

โดยมีผู้ร่วมแสดงจุดยืนหลากหลายกลุ่มเข้าร่วม อาทิ นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือที่รู้จักกันในนาม บก.ลายจุด หรือแกนนำเสื้อแดง และนายวีระ สมความคิด ผู้ที่มีบทบาทคนสำคัญในการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยทั้งคู่บอกว่า ที่ออกมาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ เพราะประเด็นเรื่องนาฬิกาหรูของพลเอกประวิทย์ บวกกับมีการเลื่อนเลือกตั้ง ในฐานะประชาชนที่รู้สึกไม่เห็นด้วย จึงออกมาร่วมแสดงจุดยืน

ด้านนักศึกษา นักกิจกรรม ก็จะมี นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล นิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ออกมาร่วมโดยให้เหตุผลว่า ต้องการจะสื่อสารกับรัฐบาลว่า หมดเวลาแล้วที่จะอยู่ต่อแล้ว และขอให้ให้โอกาสกับลูกหลาน นอกจานายเนติวิทย์ก็ยังมีอีกหลายคน เช่น น.ส.ณัฏฐา มหัทธนา หรือโบว์ นักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชน รวมไปถึง นายสิรวิชญ์ เสรีธิวิวัฒน์ หรือจ่านิว กลุ่มประชาธิปไตยศึกษา ด้วย

ความเห็นต่างระหว่าง กลุ่มนักศึกษา ประชาชน กับรัฐบาลในลักษณะนี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย ซึ่งที่ผ่านมาก็เคยเกิดขึ้นมาหลายครั้ง ตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 แต่สถานการณ์ตอนนั้น ประเทศไทยเว้นว่างจากประชาธิปไตยนานเป็น 10 ปี แต่ครั้งในปี 2561 นี้ มีการเว้นว่างจากการเลือกตั้งมาได้ประมาณ 4 ปี

เหตุการณ์ 14 ตุลา หรือวันมหาวิปโยค เป็นเหตุการณ์ที่เกิดจาก การสั่งสม ข่าวการกระทำความผิดของรัฐบาล เช่น การทุจริต การพบซากสัตว์ป่าในเฮลิคอปเตอร์ทหาร การถ่ายโอนอำนาจทหาร และสืบทอดอำนาจ จนทหารเข้าปกครองประเทศนานเกือบ 15 ปี รวมถึงการรัฐประหารตัวเอง พ.ศ.2514

การค้นพบเหล่านั้น จึงเป็นชนวนเหตุที่ทำให้ประชาชนเบื่อหน่ายการปกครองในระบอบเผด็จการทหารและต้องการเรียกร้องรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยขึ้น ส่งผลให้เกิดการประท้วงอย่างชัดเจน ที่นำโดยกลุ่มนักศึกษาในสถานที่ต่างๆ ในกรุงเทพ จนถูกทหารควบคุมตัว เป็นเหตุให้เกิดความไม่พอใจ จนประชาชนลุกฮือ และจบด้วยเหตุการณ์นองเลือด

ขณะที่เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี พ.ศ.2535 เป็นเหตุการณ์ที่ประชาชนเคลื่อนไหวประท้วงรัฐบาลครั้งสำคัญครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมือง ที่มีพลเอกสุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นการต่อต้านการสืบทอดอำนาจของ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.)

การต่อต้านของประชาชนเริ่มจากที่ พลเอกสุจินดา คราประยูร ได้ให้สัมภาษณ์หลายครั้งว่า ตนและสมาชิกในคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติจะไม่รับตำแหน่งทางการเมืองใดๆ แต่ภายหลังได้มารับตำแหน่งรัฐมนตรี ซึ่งไม่ตรงกับที่เคยพูดไว้

บวกกับรัฐธรรมนูญในสมัยของ พลเอกสุจินดา มีความไม่เป็นประชาธิปไตย จึงนำไปสู่การเคลื่อนไหวคัดค้านต่าง ๆ ของประชาชน รวมถึงนิสิตนักศึกษาและพรรคการเมืองต่าง โดยมีข้อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง และเสนอว่าผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง แต่ทางฝ่ายรัฐบาล กลับมีการเริ่มระดมทหารเข้ามารักษาการในกรุงเทพ และเริ่มมีการเผชิญหน้ากันจนเกิดการปะทะ แต่สุดท้าย พลเอกสุจินดา คราประยูร ก็ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี

นายรังสิมันต์ เคยกล่าวไว้ว่า นักศึกษาวันนี้อาจไม่ได้เป็นเหมือนนักศึกษาเดือนตุลาคมปี 2516 หรือ 2519 เพราะนักศึกษาไม่ได้มีความเป็นเอกภาพเหมือนเดิม แม้ว่ายังอาจสนใจการเมือง แต่อาจไม่ได้ต้องการเคลื่อนไหวขนาดใหญ่อีก ความสำคัญของนักศึกษาในยุคนี้ คือไม่ได้ตกอยู่ภายใต้การชี้นำ แต่มันคือขบวนการนักศึกษาที่คล้ายๆ กับการลุกฮือเกิดขึ้นกระจายไปตามที่ต่างๆ ในประเทศไทย นั่นทำให้ “การควบคุมไม่ได้” และ “ความรักอิสระเสรี” กลายเป็นอาวุธสำคัญของนักศึกษาในยุค 2557-2560

ถึงแม้หลักการ สาเหตุของการออกมาเคลื่อนไหวจะมีความคล้ายกันในบางจุด แต่เหตุการณ์เรียกร้องให้มีการเลือกตั้งในครั้งนี้ ก็เป็นไปด้วยความสงบ เป็นเพียงแค่การออกมาคุย และแสดงความคิดเห็น ไม่มีการกระทบกระทั่ง หรือปลุกปั่นใดๆ

แต่ทางกลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย ก็ยังจะคงเดินหน้า และนัดรวมตัวกันอีกครั้งในวันที่ 10 ก.พ. 2561 ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย นี้ และจะไม่ใช่ครั้งสุดท้าย เพราะนาย รังสิมันต์ได้ บอกไว้แล้วว่าจะมามากขึ้นทุกครั้งที่จัดกิจกรรม เพื่อนำไปสู่การชุมนุมใหญ่ในวันที่ 22 พ.ค. 2561 และ“ทหารต้องออกไปจากการเมือง”

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า