SHARE

คัดลอกแล้ว

รอง ผบช.น. แถลงปมน้ำท่วมอุโมงค์ทางลอดรถไฟ เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต พร้อมแจ้งข้อหาผู้เกี่ยวข้อง 5 คน ตรวจสอบพบยังมีอุโมงค์ที่ใช้ระบบเดียวกันอีกหลายแห่ง

วันที่ 1 ต.ค. 2561 จากเหตุการณ์ที่ น.ส.ภาณุมาศ แซ่แต้ อายุ 41 ปี ประสบอุบัติเหตุขับรถกระบะ เข้าไปจมน้ำภายในอุโมงค์ทางลอดของหมู่บ้าน ถนนมอเตอร์เวย์ ที่เชื่อมต่อไปยังซอยอ่อนนุช 65 แยก 14 แขวงประเวศ เขตประเวศ กทม. จนเสียชีวิต เมื่อวันที่ 6 ก.ย.ที่ผ่านมา

พล.ต.ต.สมพงษ์ ชิงดวง รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (รอง ผบช.น.)

ล่าสุดวานนี้ พล.ต.ต.สมพงษ์ ชิงดวง รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (รอง ผบช.น.) พร้อมด้วย พ.ต.อ.อลงกรณ์ ศิริสงคราม ผกก.สน.ประเวศ และศ.ดร.สุชัชชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง รวมถึงคณะกรรมการ​ตรวจสอบ​ข้อ​เท็จจริง​ พร้อมแจ้งข้อกล่าวหาผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องรวมทั้งหมด 5 ราย

พล.ต.ต.สมพงษ์ ระบุว่า แนวทางการสอบสวนของตำรวจสรุปเหตุดังกล่าวเกิดความประมาทขึ้น 2 ส่วน

ส่วนที่ 1 คือ พนักงานรักษาความปลอดภัยที่ทราบว่าในช่วงก่อนเกิดเหตุมีน้ำเข้าท่วมภายในอุโมงค์ จนทำให้มีรถยนต์จอดเสียแล้ว 1 คัน แต่ยังไม่แจ้งเตือน หรือ กั้นทาง จนทำให้เกิดเหตุขึ้น

ส่วนที่ 2 คือ นิติบุคคลของหมู่บ้าน ซึ่งที่มีหน้าที่ดูแลและซ่อมบำรุง เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกบ้านโดยมีการจัดเก็บเงินเพื่อไปดำเนินการในส่วนต่างๆ แต่กลับบกพร่องต่อหน้าที่

เบื้องต้น มีการดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด 5 คน คือ หัวหน้าพนักงานรักษาความปลอดภัย 1 คน, พนักงานรักษาความปลอดภัยในช่วงเวลานั้น 2 คน, ประธานนิติบุคคลและผู้จัดการนิติบุคคลของหมู่บ้าน ดำเนินคดีในความผิดฐาน กระทำการโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย

ส่วนที่มีการตั้งคำถามว่าทำไมผู้เสียชีวิตจึงไม่ออกจากรถ รอง ผบช.น. ชี้แจงว่า ขณะเกิดเหตุระดับน้ำสูงมากกว่า 2 เมตร จึงส่งผลให้เครื่องยนต์ดับ น้ำค่อยๆ ซึมเข้าภายในตัวรถ ประกอบแรงดันน้ำทำให้ผู้เสียชีวิตไม่สามารถเปิดประตูออกจากรถได้ และขาดการติดต่อภายใน 3 นาที

ด้าน ศ.ดร.สุชัชชวีร์ กล่าวว่า การสร้างอุโมงค์ทางลอดทุกอุโมงค์จะต้องไปขอแบบจากทางสำนักงานเขต เพราะเรื่องของความปลอดภัยสำคัญที่สุด จากการตรวจสอบอุโมงค์ที่เกิดเหตุพบบ่อพักน้ำ มีแต่ตะกอน ทราย และโคลน ซึ่งคาดว่าจะรั่วมาจากด้านข้าง โดยสันนิษฐานว่าจุดเชื่อมต่อด้านนอก ซึ่งจะเชื่อมต่อกับบ่อพักน้ำด้วยท่อไปยังบ่อสูบ จากนั้นบ่อสูบจะแยกออกจากอุโมงค์ เมื่อมีน้ำเข้ามาในอุโมงค์จะลงเข้ามายังบ่อพักน้ำ ก่อนจะไหลผ่านตามแรงโน้มถ่วงของโลกไปยังบ่อสูบ และเครื่องสูบน้ำจะทำการสูบออก ครั้งนี้พบระบบระบายน้ำมีความบกพร่องท่อแตก ซึ่งคาดว่าบ่อรับน้ำมีการรั่วซึม จึงทำให้ตะกอนดังกล่าวไหลเข้ามาในบ่อ จนเกิดการทรุดตัวแล้วทำให้ท่อของบ่อรับน้ำขาด น้ำเลยไปไม่ถึงบ่อสูบ ยิ่งฝนตกจึงเป็นสาเหตุให้น้ำท่วมล้นอุโมงค์

ทั้งนี้ อุโมงค์ทางลอดในเขค กทม. ยังมีอีกมากและใช้ระบบการทำงานคล้ายกัน โดยเทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถแก้ปัญหาในลักษณะดังกล่าวได้ เช่น หากพบว่าท่อขาดแสดงว่าบ่อนั้นไม่มีน้ำในช่วงฝนตก และจะส่งสัญญาณทันทีว่าผิดปกติ หรือเมื่อมีน้ำสูงขึ้นมา หากติดเซ็นเซอร์จะส่งสัญญาณไปยังทางเข้าอุโมงค์และสามารถปิดไม้กั้นทางเข้าได้ทันที และอุปกรณ์ของอุโมงค์มีรอบระยะเวลาจะต้องตรวจสอบสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หากช่วงหน้าฝนต้องตรวจสอบทุกวัน เมื่อเจอตะกอนต้องรีบแก้ไขโดยด่วน

https://www.facebook.com/WorkpointNews/photos/pcb.749101045459176/749095795459701/?type=3&theater

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า