SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ – มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) พร้อมส่งดาวเทียม “แนคแซท” ขึ้นสู่วงโคจรกลางเดือนสิงหาคม 2561 นับเป็นดาวเทียมสัญชาติไทยดวงแรก ที่ออกแบบและสร้างโดยคนไทย ภายในรั้วมหาวิทยาลัยไทย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 16 ก.พ. ที่ผ่านมา ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ เซี่ยงฉิน อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เปิดเผยว่า มจพ. เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีศูนย์วิจัยเฉพาะทางรองรับเพื่อความเป็นเลิศทางด้านการวิจัย มีเวทีเปิดกว้างให้อาจารย์ได้เสนอผลงานวิจัยสู่ต่างประเทศ มีการประกวดรางวัลนวัตกรรมในการวิจัย รวมทั้งส่งเสริมให้ทำวิจัยอย่างกว้างขวางอย่างหลากหลาย ตอบสนองนโยบายของรัฐบาล ด้วยนวัตกรรมและความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มจพ. ยังมีนโยบายและมาตรการในการสร้างความเข้มแข็งของการวิจัยและพัฒนา ผ่านการทำวิจัยร่วมกับภาครัฐบาล ภาคภาคเอกชน ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ทำให้คณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัยของ มจพ. ได้รับความรู้ ทักษะและประสบการณ์ในการวิจัยที่จะนำมาต่อยอดในการจัดการเรียนการสอน ในการต่อยอดสร้างสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ สร้างความมั่งคั่ง มั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ

ด้วยเหตุนี้ทำให้ มจพ. มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและระดับโลกมาอย่างต่อเนื่องว่า มจพ. เป็นมหาวิทยาลัยแห่งการสร้างสรรค์ประดิษฐกรรมสู่นวัตกรรมอย่างแท้จริง

ศาสตราจารย์ ดร.สุวัฒน์ กุลธนปรีดา หัวหน้าโครงการ กล่าวว่า ดาวเทียมแนคแซท (KNACKSAT, ย่อมาจาก King Mongkut’s University of Technology North Bangkok Academic Challenge of Knowledge SATellite) เป็นดาวเทียมรูปแบบคิวแซท (CubeSat) มีขนาด 10x10x10 ลูกบาศก์เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม และใช้คลื่นความถี่วิทยุสมัครเล่นในการสื่อสาร ดาวเทียมแนคแซทได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ภายใต้ชื่อโครงการ “KNACKSAT” โครงการออกแบบและจัดส่งดาวเทียมขนาดเล็กเพื่อการศึกษา

ดาวเทียมแนคแซทเป็นดาวเทียมสัญชาติไทยดวงแรกที่ออกแบบและสร้างโดยคนไทยและภายในรั้วมหาวิทยาลัยไทย ความสำเร็จของโครงการดาวเทียมแนคแซทนี้จะเป็นการแสดงให้เห็นว่า คนไทยมีศักยภาพในการออกแบบและสร้างดาวเทียมและระบบต่างๆ ที่ใช้ในอวกาศได้เอง และประเทศไทยมีความพร้อมสำหรับอุตสาหกรรมอวกาศที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้

ทีมอาจารย์และนักศึกษา มจพ. ได้ดำเนินการจัดสร้างดาวเทียมแนคแซทเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และตัวดาวเทียมได้ผ่านการทดสอบในสภาวะต่างๆ ตามข้อกำหนดของจรวดส่งดาวเทียมแล้ว พร้อมที่จะถูกส่งขึ้นสู่วงโคจร

ประโยชน์ที่ได้รับ

    1. เป็นการเพิ่มศักยภาพและประสบการณ์การสร้างดาวเทียมจริงให้กับบุคลากร (อาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา) ของประเทศ
    2. เป็นฐานรากในการออกแบบและสร้างดาวเทียมที่มีขนาดใหญ่ขึ้นต่อไปภายในประเทศ ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งในเชิงเศรษฐกิจและความมั่นคง
    3. เป็นการกระตุ้นความสนใจในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับเยาวชน ที่จะเป็นกำลังหลักในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศต่อไปในอนาคต

ทั้งนี้ ดาวเทียมแนคแซทจะถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรกับมิชชั่น “SSO-A” ของบริษัท Spaceflight ด้วยจรวด SpaceX Falcon 9 ภายในปีนี้ โดยมีพันธกิจหลักในอวกาศประกอบด้วย

  • การถ่ายภาพโลกจากอวกาศ (ความละเอียด: 1 – 2 กิโลเมตรต่อ pixel)
  • ทดสอบการทำงานของระบบต่างๆ ที่ออกแบบและจัดสร้างขึ้นในอวกาศ

โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มี ศาสตราจารย์ ดร.สุวัฒน์ กุลธนปรีดา เป็นหัวหน้าโครงการ, ดร.พงศธร สายสุจริต เป็นผู้จัดการโครงการ: ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบิน – อวกาศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ ผศ.ดร.สุรเมธ เฉลิมวิสุตม์กุล เป็นผู้จัดการระบบสื่อสาร: ภาควิชาวิศวกรรมสื่อสาร บัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย – เยอรมัน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า