SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมสุขภาพจิตแนะสื่อมวลชน ตั้งคำถามเชิงบวก สัมภาษณ์ทีมหมูป่า และควรระมัดระวังไม่ใช้คำถามซ้ำเติม เพราะจะเป็นการซ้ำเติมทำให้เกิดความเครียด

นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต แนะนำสื่อมวลชนที่ติดตามทำข่าวช่วยเหลือทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมีแม่สาย 13 คน ที่ติดอยู่ภายในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงรายว่า หากทั้งหมดได้รับความช่วยเหลือออกจากถ้ำหลวงแล้วต้องได้รับการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจอีกช่วงเวลาหนึ่งตามแผนที่ทุกฝ่ายได้เตรียมการรองรับไว้

กรมสุขภาพจิต ร่วมกับสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย จัดทำคำแนะนำแนวทางการสัมภาษณ์ผู้ประสบภัยของสื่อมวลชนทุกแขนง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการซ้ำเติมทางจิตใจ (retraumatization) ของทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมีแม่สาย ซึ่งจะช่วยให้การฟื้นตัวก้าวข้ามวิกฤตครั้งนี้สามารถกลับไปใช้ชีวิตกับครอบครัวโดยเร็ว และกลับสู่โรงเรียนและเล่นกีฬาได้ตามปกติ

การสัมภาษณ์ผู้ประสบภัยหลังจากนี้ แนะนำให้ยึดแนวทาง 2 ประการ คือ

1. ควรทำหลังจากที่ผู้ประสบภัยได้พักและได้รับการปลอบใจจากครอบครัวเป็นส่วนตัวจนสภาพร่างกายและจิตใจฟื้นตัวอย่างสมบูรณ์ก่อน

2. ในการสัมภาษณ์ควรมุ่งไปที่มุมมองด้านบวก เช่น วิธีปลุกปลอบใจกัน ให้กำลังใจกันในกลุ่ม วิธีการสร้างความหวังให้ตัวเองและเพื่อน ซึ่งจะทำให้ผู้เล่าเกิดความภาคภูมิใจในความสำเร็จของตัวเองและเพื่อน ๆ จะส่งผลให้จิตใจฟื้นตัวได้รวดเร็วและส่งผลไปถึงทางการฟื้นตัวทางกายด้วย

ประการสำคัญสามารถจดจำประสบการณ์ชีวิตครั้งนี้ไปใช้ในเหตุการณ์คับขันอื่น ๆ ได้ในอนาคต ขณะเดียวกันจะส่งผลให้ประชาชนที่ติดตามข่าวได้เรียนรู้วิธีการเอาชีวิตรอดเมื่อเผชิญเหตุวิกฤตทั้งแบบหมู่หรือคนเดียวได้ เป็นประโยชน์ของการเรียนรู้จากสื่อสาธารณะไปพร้อม ๆ กัน

สิ่งที่ไม่ควรทำ มี 2 ประการ คือ

1. ไม่ควรถามเพื่อให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกด้านลบในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และไม่ควรสัมภาษณ์คนเดียวซ้ำ ๆ เนื่องจากเวลาเล่าจะไปกระตุ้นให้ระลึกถึงเหตุการณ์ด้านลบนั้นซ้ำ ๆ เป็นผลเสียอย่างมากต่อเด็ก ๆ ที่ถูกสัมภาษณ์ ทำให้เกิดอาการหวาดกลัว ตกใจ จิตใจหดหู่ขึ้นมาอีก โดยเฉพาะยิ่งหากมีการสัมภาษณ์ซ้ำ ๆ จะทำให้เครียดมาก เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของจิตใจ และอาจมีผลให้เกิดอาการเครียดเรื้อรัง

2. ไม่ควรนำเสนอข่าวที่สมจริงสมจัง ตื่นเต้นมากเกินควร เพราะจะกระตุ้นให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกร่วมตามไปด้วย เมื่อชมมาก ๆ หรือบ่อย ๆ จะเกิดอาการทางจิตใจเหมือนผู้ประสบเหตุการณ์ได้ บางคนเกิดอาการได้มากเหมือนตัวเองกำลังเผชิญภัยพิบัติจริง ๆ หากเป็นผู้ที่เคยมีประสบการณ์ประสบภัยในอดีตอาจเกิดภาวะซ้ำเติมทางจิตใจได้เช่นกัน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า