Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

แนวทางในการลดฝุ่น ทั้ง 5 แนวทางเพื่อให้ฝุ่นพิษ PM 2.5 ลดลง พร้อมทั้งสร้างความตระหนักรู้ถึงฝุ่นอันตราย ทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว

สร้างความตระหนักรู้ถึงอันตรายของฝุ่นพิษ

มาตรการระยะสั้น (ภายใน 1 ปี)
– สร้างความตระหนักรู้ถึงอันตรายของฝุ่นพิษให้ทุกคนได้รับทราบอย่างทั่วถึง (รวมถึงผู้บริหารของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน) รวมถึงวิธีป้องกันตนเองและครอบครัวให้ปลอดภัย ซึ่งงานวิจัยในต่างประเทศพบว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่ต้นทุนต่ำสุดแต่สามารถก่อให้เกิดผลประโยชน์สูงมาก
– เพิ่มจุดตรวจวัดคุณภาพอากาศให้มากขึ้นในทุกพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อภัยจากฝุ่นพิษ และเชื่อมโยงแอพพลิเคชันเพื่อส่งข้อมูลเตือนภัยคุณภาพอากาศแบบ real time ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย

มาตรการระยะกลางและยาว (1-3 ปี)
– ส่งเสริมงานวิจัยเพื่อประเมินผลกระทบจากฝุ่นละอองต่อสุขภาพในทุกพื้นที่ทั่วประเทศเพื่อกำหนดพื้นที่อ่อนไหว และนำข้อมูลมาสร้างความตระหนักรู้ พร้อมหาแนวทางรับมือ ซึ่งรวมไปถึงการศึกษาพฤติกรรมของคนในการรับมือกับฝุ่น และทดลองหาแนวทางรับมือที่เหมาะกับบริบทของประเทศไทย
– สร้างความตระหนักรู้ถึงอันตรายของมลพิษประเภทต่างๆ ตั้งแต่เด็ก โดยออกแบบหลักสูตรหรือเนื้อหาวิชาเรียนเพื่อสอดแทรกความรู้ถึงอันตรายของมลพิษประเภทต่างๆ ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา
– ปรับเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอากาศในทุกมลพิษรวมถึงฝุ่นพิษให้เข้มงวดมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ปัจจุบันประเทศไทยกำหนดมาตรฐานฝุ่นพิษเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของ PM2.5 และ PM10 ที่ 50 และ 120 ไมโครกรัม/ ลบ.ม. ขณะที่องค์การอนามัยโลกกำหนดมาตรฐานฝุ่นพิษรายปี PM2.5 และ PM10 ที่ 25 และ 50 ไมโครกรัม/ ลบ.ม.

 

5. มลพิษมาจากประเทศเพื่อนบ้าน
เนื่องจากฝุ่นพิษ PM 2.5 ส่วนหนึ่งถูกพัดมาจากประเทศเพื่อนบ้านจากการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ซึ่งได้แก่ ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ โดยเราเรียกปัญหานี้ว่า Trans-boundary Externality ซึ่งมักเกิดขึ้นกับมลพิษทางอากาศ ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาได้ดังนี้มาตรการระยะสั้น (ภายใน 1 ปี)
– ขอความร่วมมือและสร้างข้อตกลงร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อลดการเผาเศษวัดุเหลือใช้ทางการเกษตรในที่โล่งแจ้ง พร้อมพิจารณาให้เงินช่วยเหลือควบคู่ไปด้วยเพื่อให้มีโอกาสนำข้อตกลงไปสู่การปฎิบัติ โดยควรระบุตัวชี้วัดที่ชัดเจน เช่น จำนวนพื้นที่เผาที่ลดลง เป็นต้นมาตรการระยะกลางและยาว (ภายใน 1-3 ปี)
– พิจารณาเตรียมศึกษาและนำมาตรการกีดกันทางการค้าที่กระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมแบบค่อยเป็นค่อยไป ถ้าหากการขอความร่วมมือยังไม่เกิดขึ้นในทางปฏิบัติ

ลดการปล่อยฝุ่นพิษจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในรถยนต์

มาตรการระยะสั้น (ภายใน 1 ปี)
– เคร่งครัดการตรวจจับควันดำ และการดัดแปลงเครื่องยนต์ในรถทุกชนิดที่วิ่งบนท้องถนน นอกจากนี้การต่อทะเบียนรถยนต์ใหม่ทุกครั้งต้องเข้มงวดอย่างมากในเรื่องการตรวจสภาพรถและควรทำอย่างต่อเนื่อง ถ้าหากพบว่ามีการละเมิดควรดำเนินคดีอย่างจริงจัง

มาตรการระยะกลาง (ภายใน 1-3 ปี)
– มีการจำกัดปริมาณรถยนต์ในบริเวณเขตเมืองที่มีการจราจรคับคั่ง โดยใช้ระบบโซนนิ่ง หากใครต้องการขับรถยนต์เข้าไปต้องเสียค่าผ่านเข้าเขตดังกล่าว
– เพิ่มประสิทธิภาพระบบขนส่งมวลชนให้สามารถเชื่อมโยงกันมากขึ้น ด้วยราคาที่สมเหตุสมผล
– ปรับปรุงแผนและการจัดการด้านการขนส่งและจราจร ถึงแม้ว่าปัญหารถติดจะสามารถแก้ไขได้ยาก แต่ก็ควรทำให้ดีขึ้นกว่าเดิ
– เก็บภาษีสิ่งแวดล้อมและสุขภาพสำหรับรถยนต์ใหม่เพิ่ม เพื่อชะลอการเพิ่มขึ้นของปริมาณรถยนต์ หลังจากนั้นต้องนำเงินภาษีส่วนนี้มาใช้เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเท่านั้น
– เก็บภาษีเพิ่มสำหรับรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานหลายปีแบบขั้นบันได ยิ่งรถเก่ามากเท่าใดอัตราภาษีก็จะยิ่งสูงขึ้น
– ยกระดับมาตรฐานน้ำมันและไอเสียจากระดับยูโร 4 เป็นยูโร 5 หรือ ยูโร 6 สำหรับรถยนต์ขนาดเล็ก
– เนื่องจากเครื่องยนต์ไอเสียดีเซลถูกพบจากงานวิจัยว่าเป็นปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดปัญหาฝุ่นพิษและมลพิษอื่นๆ ดังนั้น เราควรยกระดับมาตรฐานไอเสียและน้ำมันของเครื่องยนต์ดีเซลสำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่จากระดับยูโร 3 เป็นยูโร 5 ซึ่งเราใช้มาตรฐานยูโร 3 กันมานานตั้งแต่ปี 2550 และข้ออ้างเรื่องภาคเอกชนต้องลงทุนเพิ่มน่าจะต้องมีความสำคัญลง ซึ่งถ้าหากไม่ยอมปรับตาม อาจจะต้องพิจารณาปรับเพิ่มอัตราภาษีสำหรับรถบรรทุกเครื่องยนต์ดีเซลอย่างมาก เพื่อชดเชยกับสุขภาพของคนที่แย่ลง

มาตรการระยะยาว (ตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไป)
– ควรส่งเสริมและเตรียมความพร้อมในการใช้รถไฟฟ้า EV โดยลงทุนโครงสร้างพื้นฐานรองรับ เช่น ระบบชาร์จไฟฟ้า และปรับลดอัตราการจัดเก็บภาษีรถยนต์ EV ให้สามารถแข่งขันได้กับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันขับเคลื่อน

ลดฝุ่นพิษจากการเผาในที่โล่งแจ้งในภาคเกษตร

มาตรการระยะสั้น (ภายใน 1 ปี)
– ลดการเผาในที่โล่งแจ้งโดยขอความร่วมมือจากเกษตรกรและภาคเอกชนผู้รับซื้อผลผลิตทางการเกษตร
– สร้างความตระหนักรู้ให้กับเกษตรกรถึงผลเสียจากการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
– หากมาตรการขอความร่วมมือไม่สำเร็จ ควรออกมาตรการงดเผาในช่วงเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ของทุกปีในทุกพื้นที่ ซึ่งในปัจจุบันมาตรการงดเผาส่วนใหญ่จะเริ่มในเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ทำให้เกษตรกรหลายพื้นที่ชิงเผาก่อนที่จะถึงเวลางดเผา จึงทำให้มลพิษจากการเผาไปซ้ำเติม มลพิษที่หนักอยู่แล้วในเดือนมกราคม

มาตรการระยะกลาง (ภายใน 1-3 ปี)
– ส่งเสริมให้เกษตรกรนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาทำปุ๋ยหมักในทุกพื้นที่ พร้อมพิจารณาให้เงินช่วยเหลือเกษตรกรต่อไร่ เพื่อชดเชยกับต้นทุนที่ต้องจ่ายเพิ่มกรณีไม่เผา แต่ต้องไม่ลืมว่าปกติถ้าเผาต้นทุนของเกษตรกรคือไม้ขีดไฟก้านเดียว แต่ถ้าไม่เผาต้นทุนในการจัดการจะเพิ่มขึ้นประมาณ 500 บาทต่อไร่ จากการสัมภาษณ์ ปัจจุบันทางกระทรวงเกษตรมีโครงการลักษณะแบบนี้อยู่แล้ว แต่งบประมาณค่อนข้างน้อยและพื้นที่ครอบคลุมจำกัดโดยเน้นไปที่จุด Hotspot สำคัญเท่านั้น จึงไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างสมบูรณ์
– เนื่องจากมลพิษเกิดขึ้นเพราะไม่มีตลาดรองรับเหมือนสินค้าทั่วไป ดังนั้นควรจะต้องส่งเสริมตลาดให้กับมลพิษซึ่งสามารถทำได้ผ่านการส่งเสริมตลาดวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ปัจจุบันฟางข้าวบางส่วนถูกมัดเป็นก้อนเพื่อนำไปเป็นอาหารสัตว์ เกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มจากการขายฟางข้าวประมาณ 250-500 บาทต่อไร่ (ฟางราคาก้อนละ 10-15 บาท) ขณะที่ต้องเสียค่าอัดฟางก้อนประมาณ 150-225 บาทต่อไร่ แต่การทำในลักษณะนี้ยังไม่แพร่หลายทั่วประเทศ มีเฉพาะบางพื้นที่เท่านั้นที่ใกล้กับแหล่งปศุสัตว์ ถ้าขยายตลาดรับซื้อให้ครอบคลุมทั่วประเทศ น่าจะช่วยบรรเทาผลกระทบได้

มาตรการระยะยาว (ตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไป)
– ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าโดยใช้ฟางข้าว และเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ซึ่งมีงานวิจัยในประเทศที่ศึกษาและค้นพบว่าการผลิตไฟฟ้าในลักษณะนี้จะก่อให้เกิดความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์ และสามารถทำได้จริง (Delivand et al. 2011; Suramaythangkoor et al. 2011) เช่น ถ้าสร้างโรงไฟฟ้าด้วยกำลังการผลิต 8 และ 10 เมกกะวัตต์ ในช่วงเวลา 20 ปี โครงการจะสร้างมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) ที่ ประมาณ 30 และ 90 ล้านบาท ตามลำดับ การทำในลักษณะนี้จะช่วยทำให้เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมีราคาขึ้นมาจากเดิมที่ต้องเผาเท่านั้น

การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจากกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม

มาตรการระยะสั้น (ภายใน 1 ปี)
– ควรเคร่งครัดการตรวจสอบการปล่อยมลพิษ ถ้าหากพบว่ามีการละเมิดหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบอย่างเคร่งครัด ต้องดำเนินการปรับปรุงหรือให้ปิดโรงงาน

มาตรการระยะกลาง (ภายใน 1-3 ปี)
– เร่งส่งเสริมและยกระดับการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้แพร่หลายมากขึ้น

มาตรการระยะยาว (ตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไป)
– ส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตที่ใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น เช่น ลดการใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้า เป็นต้น

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า