Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

น.พ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์

อธิบดีกรมการแพทย์ ชี้แจงกรณีเสพยาบ้าเพื่อหวังผลคลอดบุตรง่ายในหญิงตั้งครรภ์นั้น อันตรายต่อตนเองและทารกในครรภ์ถึงขั้นเสียชีวิต แนะปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เป็นวิธีที่ง่ายและปลอดภัยที่สุด     

เมื่อวันที่ 19 ธ.ค.61 นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีข่าวออกมาทางสื่อต่างๆว่ามีหญิงตั้งครรภ์นับสิบรายเสพยาบ้า หรือสารกลุ่มแอมเฟตามีน โดยเชื่อว่าทำให้คลอดบุตรง่ายนั้น ขอชี้แจงว่าเรื่องดังกล่าวมิได้เป็นความจริงแต่อย่างใด

เนื่องจากการออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารเสพติดในกลุ่มสารกระตุ้นไม่ว่าจะเป็นยาบ้า ยาไอซ์ ยาอี หรือ อนุพันธ์แอมเฟตามีนใดๆ ไม่ได้ช่วยให้กระบวนการใดๆทั้งสิ้นของการคลอดบุตรง่ายขึ้นแต่อย่างใด

ในทางตรงกันข้าม มีเอกสารทางวิชาการหลายฉบับทั้งในและต่างประเทศ ได้ยืนยันว่าการที่มารดาเสพติดยากลุ่มแอฟตามีนหรือยาบ้าในขณะตั้งครรภ์ก่อให้เกิดอันตรายมากมากมายแก่บุตร ได้แก่ การแท้งบุตร เสียชีวิตในครรภ์หรือขณะคลอด ภาวะคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์ ความผิดปกติของหัวใจ ภาวะเลือดออกในสมอง สมองตาย เซลประสาทถูกทำลาย ศีรษะเล็ก

บุตรที่คลอดจากมารดาที่ติดยาบ้า จะมีอาการติดยาบ้าเช่นเดียวกับมารดา ได้แก่ มีปัญหาภาวะกดการหายใจ ร้องไห้ไม่หยุด กระวนกระวาย ไม่ดื่มนมตามปกติ เลี้ยงดูยาก เมื่อเติบโตไปยังมีผลต่อความผิดปกติของสมาธิ ความจำและความผิดปกติทางด้านพฤติกรรมต่างๆตามมา สำหรับมารดาเองที่เสพติดยาบ้า พบว่าประสบอันตรายหลายอย่างด้วยกัน ไม่ว่าจะทำให้ภูมิต้านทานโรคลดลง เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคต่างๆขณะตั้งครรภ์มากกว่าคนทั่วไปแล้ว หลังคลอดบุตรยังพบภาวะตกเลือดรุนแรงอาจถึงแก่ชีวิต มีหลายรายที่เกิดภาวะวิตกกังวลและซึมเศร้าอีกด้วย

น.พ.สรายุทธ์ ชัยพานิชวัฒนา ผอ.สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชธานี

นายแพทย์สรายุทธ์ ชัยพานิชวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชธานี กล่าวเพิ่มเติมว่า ยาเสพติดทุกตัวรวมทั้งบุหรี่และสุราล้วนก่อให้เกิดอันตรายและผลร้ายต่อบุตรและมารดาที่ตั้งครรภ์ทั้งสิ้น

และจากข้อแนะนำของการประชุมขององค์การสหประชาติสมัยพิเศษว่าด้วยเรื่องยาและสารเสพติดในปี 2559 ที่ผ่านมา ได้แสดงความห่วงใยของการใช้ยาและสารเสพติดในกลุ่มเด็ก สตรีและหญิงตั้งครรภ์ไว้ว่าเป็นกลุ่มที่ควรให้ความเอาใจใส่เป็นพิเศษ จึงอยากฝากไปยังโรงพยาบาลต่างๆ ที่ดูแลกลุ่มบุคคลเหล่านี้ เมื่อมารับบริการทางการแพทย์ว่ามีการใช้ยาหรือสารเสพติดหรือไม่ เพื่อจะได้รับความช่วยเหลือในปัญหาดังกล่าวอย่างทันท่วงที และรอดพ้นอันตรายจากผลกระทบทางสุขภาพจากการใช้ยาและสารเสพติดได้ในที่สุด

โดยสถานพยาบาลใดมีข้อคำถามหรือต้องการได้ทราบข้อมูล แนวทางการให้ความช่วยเหลือเมื่อพบผู้ป่วยที่ดูแลอยู่ใช้ยาและสารเสพติดดังกล่าว สามารถติดต่อมาได้ที่หมายเลข 02-5310080-8 แฟกซ์ 02-5310085 หรือ สายด่วน 1165 ตลอด 24 ชั่วโมง

ทั้งนี้อธิบดีกรมการแพทย์ได้กำชับนายแพทย์ชาญชัย ธงพานิช รักษาการผู้อำนวยการโรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่น เพื่อลงพื้นที่ติดตามและให้ความช่วยเหลือมารดาทั้งสิบรายต่อไป

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า