SHARE

คัดลอกแล้ว

องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนอย่างแอมเนสตี้ เคลื่อนไหวให้ยกเลิกโทษประหารชีวิตมาตลอด วันนี้ไปทำกิจกรรมที่เรือนจำบางขวาง แสดงความไม่เห็นด้วยกับการประหารชีวิตครั้งล่าสุด

วันที่ 19 มิ.ย. 61 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังกรมราชทัณฑ์ได้ส่งข่าวกับสื่อมวลชน เรื่องการดำเนินการบังคับโทษตามคำพิพากษาของศาล ด้วยการประหารชีวิตนักโทษเด็ดขาดชายธีรศักดิ์ อายุ 26 ปี ผู้ต้องขังคดีฆ่าผู้อื่นอย่างทารุณโหดร้ายเพื่อชิงทรัพย์ โดยก่อเหตุวันที่ 17 ก.ค. 2555 ที่จังหวัดตรัง

ตอนนั้น นายดนุเดช สุขมาก อายุ 17 ปี นักเรียนชั้น ม.5 โรงเรียนมัธยมวัดควนวิเศษมูลนิธิ ถูกชายวัยรุ่น 2 คน ใช้มีดปลายแหลมไล่แทงมาจากหน้าโรงเรียนบูรณะรำลึก ห่างจากจุดเกิดเหตุประมาณ 200 เมตร จึงวิ่งหนีตายเข้าไปภายในสวนสาธารณะ แต่ชายวัยรุ่นคนหนึ่งกำลังอยู่ในอาการมึนเมา ไม่ฟังเสียง และกระหน่ำแทงจนนายดนุเดชล้มลงจมกองเลือด หลังจากนั้นคนร้ายได้ล้วงเอากระเป๋าสตางค์ซึ่งมีเงินสดประมาณ 2,000 บาท และโทรศัพท์มือหลบหนีไป ตำรวจสอบปากคำพยานแวดล้อมจนทราบว่า คนร้ายที่ลงมือแทงคือ นายธีรศักดิ์ หรือ มิ๊ก อายุ 19 ปี (ขณะนั้น)

โดยเป็นการสั่งโทษประหารรายล่าสุดในรอบ 9 ปี ซึ่งนักกิจกรรมและแอมเนสตี้ประเทศไทยมองว่า เป็นการละเมิดสิทธิที่จะมีชีวิต ซึ่งขัดต่อแผนสิทธิมนุษยชนฉบับที่ 3 ที่ประกาศใช้ถึงสิ้นปี 2561 ทั้งการมีคำสั่งประหารชีวิตในปีนี้ซึ่งเป็นปีที่ 9 เหลืออีก 1 ปี ไทยจะได้รับการรับรองจากองค์การสหประชาชาติ อาจมีนัยยะสำคัญ เพราะเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ตัวแทนไทยเว้นการลงนามการใช้โทษประหารในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ในที่ประชุมของยูเอ็น

และทำให้ไทยเป็น 1 ใน 56 ประเทศที่ยังมีการประหารชีวิต

นางสาว ปิยนุช โคตรสาร

วันนี้ นางสาว ปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย และจิตอาสา นักกิจกรรม ทำกิจกรรมหน้าเรือนจำกลางบางขวาง โดยใช้เวลากว่า 20 นาที เพื่ออธิบายแก่ผู้เห็นต่างในคำถามสำคัญ ทำไมโทษประหารชีวิตจึงไม่ช่วยแก้ปัญหาอาชญากรรม

โดยทำกิจกรรมใส่หน้ากากขาวชูป้ายไม่เห็นด้วยกับโทษประหาร ระบุว่า ขอคัดค้านการใช้โทษประหารชีวิตในทุกคดีอาญา เพราะที่ผ่านมาไม่มีหลักฐานใดรับรองได้ว่า การมีโทษประหารชีวิตจะส่งผลการยั้งคิดของคนก่อนกระทำผิด ซึ่งไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาหรือลดอาชญากรรมได้ การประหารชีวิตครั้งนี้ถือว่าเป็นความถดถอยของหลักสิทธิมนุษยชนของไทย ทั้งไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ข้อห้ามระหว่างประเทศ ที่ให้โทษประหารใช้กับอาชญากรรมร้ายแรงสุด เช่น กลุ่มก่อการร้าย อาชญากรสงคราม เป็นต้น

ทั้งนี้ ไทย คือ 1 ใน 56 ประเทศ ที่ยังใช้โทษประหารชีวิต ข้อมูลจากกรมราชฑัณฑ์รวบรวมถึง 31 ธันวาคม ปี พ.ศ.2560 ระบุจำนวนนักโทษประหารชีวิตในไทยทั้งหมด 502 คน ไม่น้อยกว่าครึ่งเป็นความผิดในคดียาเสพติด

โดยในปี พ.ศ.2560 มีการตัดสินโทษประหารชีวิต 75 ครั้ง เป็นสัดส่วนที่ลดลงมากกว่าครึ่ง เมื่อเทียบกับปี พ.ศ.2559 ที่ตัดสินโทษประหารชีวิต 216 ครั้ง

และตัวเลขนักโทษประหารของไทยในเดือนมีนาคม พ.ศ.2561 มี 510 คน เป็นผู้หญิง 94 คน ในจำนวนนี้มี 193 คน เป็นนักโทษเด็ดขาด กว่าครึ่งหนึ่งต้องโทษคดียาเสพติด ซึ่งผ่านกระบวนการอุทธรณ์คดีหมดสิ้นแล้ว

ส่วนคำสั่งโทษประหารนักโทษเด็ดขาดชายธีรศักดิ์ อายุ 26 ปี เป็นรายที่ 7 ประหารชีวิตด้วยการฉีดยาสารพิษ ซึ่งมีนักโทษถูกประหารด้วยอาวุธปืนตั้งแต่ปี 2546 จำนวน 319 ราย และ ฉีดยาสารพิษ 6 ราย

การใช้โทษประหารชีวิตจริงครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ.2552 เท่ากับไทยก้าวเข้าสู่ปีที่ 9 ที่ไม่ได้นำโทษประหารมาปฏิบัติจริง และจะถือว่าไทยเป็นประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติทันที หากไม่ได้ประหารจริงต่อเนื่องครบ 10 ปี

แต่เส้นทางต้องยุติ เมื่อมีการประหารชีวิตนักโทษคดีฆ่าชิงทรัพย์ ที่จังหวัดตรัง

สมาชิก 10 ประเทศในอาเซียน มีเพียง กัมพูชา และ ฟิลิปปินส์ ที่ยกเลิกโทษประหารชีวิต สำหรับความผิดทางอาญาทุกประเภท ส่วน บรูไน ลาว และ เมียนมา ยกเลิกโทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติ เพราะไม่ได้ใช้การประหารจริงต่อเนื่องครบ 10 ปี

ส่วนประเทศที่มีการประหารชีวิตมากที่สุดในโลกในปี พ.ศ.2560 แอมเนสตี้คาดการณ์ว่าเป็น ประเทศจีน ซึ่งมีตัวเลขที่ยืนยันได้กว่า 1 พันครั้ง อิหร่าน ไม่น้อยกว่า 507 คน และ ซาอุดีอาระเบีย ไม่น้อยกว่า 146 คน

ขณะที่สังคมไทยส่วนใหญ่ยังมีทัศนคติโทษประหารว่า “ควรมี” เช่นเดียวกับครอบครัวผู้เสียชีวิต ทั้งนี้ ทางแอมเนสตี้ ประเทศไทย ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิตจากคดีอาญา แต่ย้ำจุดยืนว่า การประหารชีวิต ไม่ใช่ทางออกในการลดอาชญากรรม แต่ต้องไปปรับแก้ที่โครงสร้างสังคม

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า