SHARE

คัดลอกแล้ว

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ร่วมแสดงความยินดีที่  “ไผ่ ดาวดิน” ถูกปล่อยตัวในวันนี้ หลังได้รับพระราชทานอภัยโทษ โดยเร็วกว่ากำหนดการเดิมถึง 2 เดือน หลังจากที่ถูกคุมขังเป็นเวลากว่า 2 ปีครึ่ง จากการแชร์บทความหนึ่งบนเฟซบุ๊ก

วันที่ 10 พฤษภาคม 2562 แอมเนสตี อินเตอร์เนชันแนล หรือองค์กรนิรโทษกรรมสากลแจ้งผู้สื่อข่าวว่า แอมเนสตี มีความยินดีกับกรณี “จตุรภัทร์ บุญภัทรรักษา” นักกิจกรรม นักศึกษาและนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยได้รับอิสระภาพในที่สุด

“แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลยินดีกับการปล่อยตัวไผ่หลังจากการถูกจองจำด้วยโทษที่เขาไม่ควรได้รับตั้งแต่แรก” แอมเนสตีกล่าว “การคุมขังไผ่และปฏิเสธสิทธิในการประกันตัวระหว่างที่เขาถูกดำเนินคดีอาญา เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เจ้าหน้าที่ของไทยกระทำเกินกว่าเหตุเพียงเพื่อที่จะปิดปากผู้วิพากษ์วิจารณ์อย่างสงบและฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง กระทั่งการแสดงความเห็นบนเฟซบุ๊ก การคุมขังไผ่ยังชี้ให้เห็นถึงการกระทำตามอำเภอใจของทางการไทยในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพในนามของ “ความมั่นคง” รัฐบาลชุดนี้รวมถึงรัฐบาลใหม่ต้องให้การประกันจะมีระบบยุติธรรมที่เอื้อให้มีเสรีภาพในการแสดงแสดงออก การวิพากษ์วิจารณ์ทางการอย่างสงบ และป้องกันไม่ให้เกิดการละเมิดเสรีภาพดังกล่าวในอนาคต”

“ไผ่ ดาวดิน” ถูกดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตามมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญาของไทย จากการแชร์บทความหนึ่งของสำนักข่าวบีบีซีไทยบนหน้าเฟซบุ๊ก เขาถูกตัดสินจำคุก 5 ปีและได้รับการลดโทษลงกึ่งหนึ่งจากการสารภาพในเดือนสิงหาคม 2560 โดยถูกคุมขังต่อเนื่องระหว่างเดือนธันวาคมถึงสิงหาคม 2560 ทางการไทยได้ปฏิเสธการประกันตัว โดยอ้างว่าการแสดงความคิดเห็นบนเฟซบุ๊กของเขาเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคง

ก่อนหน้านี้ในปี 2559 “ไผ่” ถูกฟ้องข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.บ.ประชามติ มาตรา 61 วรรค 2 จากกรณีรณรงค์ให้ประชาชน “โหวตโน” ในการประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญปี 2560

หลังถูกจำคุก ไผ่ ได้รับรางวัล “กวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชน” (Gwang Ju Prize for Human Rights) ประจำปี 2560 จากมูลนิธิ 18 พฤษภารำลึก (May 18 Memorial Foundation) องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนเกาหลีใต้ โดยไผ่ถือเป็นคนไทยคนที่ 2 ที่ได้รับรางวัลดังกล่าว ต่อจากนางอังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่ได้รับรับรางวัลเมื่อปี 2549

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า