SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ – โครงการหลวงวัดจันทร์พลิกชีวิตชาวกัลยาณิวัฒนา จากชาวบ้านกะเหรี่ยงใช้ชีวิตลำบาก สู่เกษตรกรผู้เพาะปลูกพืชส่งออกต่างประเทศ

ชาวบ้านที่ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ ขนฟักทองญี่ปุ่นลูกโตไปส่งที่โรงคัดแยก ภายในอาคารผลิตผล ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์ ที่อยู่ในตัวอำเภอ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพและสารเคมีปนเปื้อน ก่อนจะส่งไปจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศภายใต้แบรนด์ โครงการหลวง สร้างรายได้ให้ชาวบ้านในอำเภอกัลยาณิวัฒนาจนทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ด้วยพื้นที่ห่างไกลและการคมนาคมที่ยากลำบาก ทำให้หลายสิบปีก่อนหน้านี้ ชาวบ้านที่นี่ที่เกือบทั้งหมดเป็นชาวกะเหรี่ยงต้องใช้ชีวิตด้วยความยากลำบาก ชาวบ้านต้องอาศัยการทำไร่และทำนาในพื้นที่ลุ่มระหว่างหุบเขา มีการถางป่าทำไร่เลื่อนลอย มีรายได้น้อยและไม่แน่นอน

กระทั่งปี พ.ศ. 2522 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรชาวเขาในเขตหมู่บ้านวัดจันทร์ ทรงทราบถึงความทุกข์ยากของชาวเขาในพื้นที่ จึงมีพระราชดำริให้มีการพัฒนาบ้านวัดจันทร์และหมู่บ้านใกล้เคียง เพื่อให้ราษฎรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

หลังจากนั้น โครงการหลวง จึงเข้าส่งเสริมให้ความรู้ในการทำการเกษตรให้แก่ชาวบ้าน เพื่อให้มีอาชีพที่ยั่งยืน โดยเลือก ฟักทองญี่ปุ่น และ กะหล่ำปลีรูปหัวใจ เป็นพืชเศรษฐกิจหลัก  เพราะผลผลิตทนต่อการขนส่ง เหมาะสำหรับพื้นที่ห่างไกลอย่างบ้านวัดจันทร์ รวมทั้งไม้ผลและผลไม้เมืองหนาวอื่นๆ โดยในการส่งเสริม เจ้าหน้าที่โครงการหลวงจะช่วยทำแผนการปลูกให้แก่เกษตรกรแต่ละรายตามความเหมาะสมของพื้นที่

จากนั้นจะมีเจ้าหน้าทีเข้าไปดูแลให้คำแนะนำ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ รวมทั้งเข้าช่วยเหลือด้านการตลาด โดยให้โครงการหลวงวัดจันทร์เป็นศูนย์กลางรวบรวมผลผลิตและส่งไปจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค

นายจตุรงค์ สุทธนะ นักวิชาการประจำศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์ บอกว่า โครงการหลวงได้เข้ามาพลิกชีวิตของราษฏรในอำเภอกัลยาณิวัฒนาให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งภาคการเกษตร การพัฒนาอาชีพ และด้านสังคม ปัจจุบันชาวบ้านกว่า 1,800 ครอบครัว ใน 19 หมู่บ้าน มีรายได้ที่แน่นอนและมากขึ้นกว่าเดิม ทั้งจากการเกษตร ผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาและวิถีชีวิต รวมทั้งการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ หลายครอบครัวมีเงินพอที่จะส่งลูกหลานไปเรียนระดับที่สูงขึ้นจนจบปริญาตรี – ปริญญาโท หลายคนนำความรู้กลับมาพัฒนาบ้านเกิด

นอกจากนั้น นายจตุรงค์ยังบอกอีกว่า รู้สึกภูมิใจทุกครั้งที่ได้เห็นรอยยิ้มของชาวบ้านและภูมิใจที่ได้ทำงานสนองพระราชดำริในโครงการหลวงวัดจันทร์ หลังจากนี้จะตั้งใจปฏิบัติหน้าที่เพื่อสานต่องานของพ่ออย่างเต็มความสามารถ

นายแสนเมือง ภูษิตยืนยง หนึ่งในเกษตรกรที่ได้รับการส่งเสริมจากโครงการหลวงวัดจันทร์ กล่าวว่า ชาวอำเภอกัลยาณิวัฒนาทุกคนซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีต่อพสกนิกรในพื้นที่ทุรกันดาร ความรู้ที่ได้จากโครงการหลวงทำให้ชาวบ้านได้ทำการเกษตรอย่างยั่งยืน อย่างตนเองจากที่เคยใช้พื้นที่มากมายไปกับการปลูกพืชไร้แบบแผน แต่ปัจจุบันใช้พื้นที่เพียง 7 ไร่ ทำการเกษตรแบบผสมผสาน ปลูกไม้ผลหลายชนิด เก็บขายได้ตลอดทั้งปี ครอบครัวมีความสุขมากขึ้น แต่การเสด็จสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 9 ทำให้ทุกคนในครอบครัวรู้สึกเสียใจเป็นอย่างมาก จึงตั้งมั่นว่าหลังจากนี้ไปจะตั้งใจนำความรู้ที่ได้จากโครงการหลวงมาประกอบอาชีพ และจะปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ในเรื่อง ความพอเพียง และส่งต่อไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานต่อไป

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า