SHARE

คัดลอกแล้ว

โคราชประเมินสถานการณ์ภัยแล้ง คาดมี 101 หมู่บ้านขาดน้ำช่วงเดือนมีนาคมนี้ เร่งวางแผนช่วยเหลือ พร้อมขอความร่วมมือเกษตรกรงดปลูกข้าวนาปรังทุกพื้นที่

วันที่ 1 มี.ค. 2562  รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เข้าร่วมประชุม พร้อมคณะทำงานป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อวางแนวทางการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ จ.นครราชสีมา 

นางปิยะฉัตร อินสว่าง รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เผยว่า ได้เฝ้าติดตามสถานการณ์ภัยแล้งทุกเดือน ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้รับตัวเลขจากหมู่บ้านต่างๆ ที่จะขาดแคลนน้ำในช่วงเดือนมีนาคมนี้ ประมาณ 101 หมู่บ้าน โดยอีก 1-2 วันจะมีการวางแผนว่าแต่ละหมู่บ้านจะมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไรบ้าง เช่น ต้องสูบน้ำจากบ่อน้ำข้างเคียงมาเก็บไว้, การเจาะบ่อบาดาล และมีการแจกจ่ายน้ำ เป็นต้น

ซึ่งในรอบเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทางจังหวัดสามารถแก้ปัญหาภัยแล้งไปได้แล้วในระดับหนึ่ง ส่วน 101 หมู่บ้าน ที่กำลังจะประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงเดือนมีนาคมนี้ จะรีบแก้ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ซึ่งทางจังหวัดพยายามจะให้มีการแจกจ่ายน้ำให้น้อยที่สุด เพราะตามสภาพเป็นจริงแล้วจะมีหมู่บ้านที่แยกออกไปอยู่ในที่สูงบ้าง อยู่พื้นที่ไกลหมู่บ้านเดิมบ้าง

ฉะนั้นก็จำเป็นต้องแจกจ่ายน้ำไปให้ถึง แม้ว่าสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ จะมีปริมาณน้ำมากกว่าปีที่ผ่านมา แต่จำเป็นที่เราจะต้องมีการประหยัดน้ำ เพื่อรักษาน้ำจำนวนนี้ไว้ให้ใช้ตลอดฤดูแล้งนี้ คาดว่าน่าจะจนถึงเดือนมิถุนายน หากเราเก็บน้ำไว้ได้มากเท่าไหร่ในปีนี้ฝนที่ตกลงมาปริมาณน้อยลงเราก็จะมีน้ำต้นทุนไว้มากขึ้น


ทั้งนี้จะมีการประเมินน้ำประปาของเทศบาลนครนครราชสีมา และน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาค ว่ามีปริมาณน้ำมากน้อยแค่ไหน และพื้นที่ไหนที่วิกฤติเรื่องน้ำจะให้มีการจ่ายน้ำเป็นเวลาทันที ไม่ว่าจะเป็นที่เมืองคง อ.คง หรือ อ.ด่านขุนทด โดยจะขอประเมินสถานการณ์ เพื่อเป็นการประหยัดน้ำ

อย่างไรก็ตามขอประชาสัมพันธ์เรื่องของการปลูกพืชยังต้องปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย ไม่แนะนำให้ปลูกข้าวนาปรัง ขณะเดียวกันการใช้น้ำต่างๆ ก็ขอให้เป็นไปด้วยความประหยัด เพราะไม่มั่นใจว่าปีนี้ฝนจะมาเมื่อไหร่ ฉะนั้นเราจะประหยัดน้ำให้มากที่สุด เพื่อให้พี่น้องประชาชนไม่ขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งนี้ ตลอดจนจะเก็บน้ำต้นทุนไว้สำหรับในปีหน้าให้ได้มากที่สุด

ส่วนหมู่บ้านพื้นที่แล้งซ้ำซากเราพยายามหาโครงการเข้าไปลงและตอนนี้กำลังตามเจาะน้ำในพื้นที่หมู่บ้านต่างๆ จำนวน 13 แห่ง แต่การเจาะบ่อบาดดาลมีปัญหาหลายพื้นที่เจาะไปแล้วไม่มีน้ำ หรือเจาะแล้วเจอน้ำเค็มจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายหาจุดเจาะ ตอนนี้เรามี 33 หมู่บ้านที่ยังไม่มีระบบประปาหมู่บ้าน โดยจะต้องหางบประมาณไปสนับสนุน 33 หมู่บ้านนี้ หมู่บ้านที่ไม่มีแหล่งน้ำต้นทุนเลยก็ให้แต่ละหมู่บ้านเสนอมาว่า มีที่สาธารณะพอที่จะทำบ่อ สระหรือไม่ เพื่อจะเป็นการแก้ไขปัญหาระยะยาว

เบื้องต้นต้องหาแหล่งน้ำต่างๆ ไปเติมในจุดน้ำประปาหมู่บ้านให้เต็มที่สุด และระยะยาวต้องทำแก้มลิงเพิ่มขึ้นและรักษาแหล่งน้ำที่มีอยู่ในสะอาดที่สุด และจะมีการระดมพี่น้องจิตอาสาไปนำผักตบชวา เศษวัชพืช และเศษขยะออกจากลำน้ำให้มากที่สุด

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า