Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ภาพจาก : ศาสตร์โนรา ครูธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ – Thummanit Nikomrat ถ่ายโดย: ChatChai Suk

ครม.เห็นชอบให้กระทรวงวัฒนธรรมเสนอโนรา ขึ้นบัญชีเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ให้ยูเนสโกพิจารณาในปี 2563 เผยคณะโนราอาชีพในไทยมี 387 คณะ พบสืบทอดจากโนรา 5 สายตระกูลภาคใต้

เมื่อวันที่ 12 มี.ค.62 นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วัฒนธรรม กล่าวภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบเอกสารนำเสนอ “โนรา” ภายใต้ชื่อ Nora, Dance Drama in Southern Thailand ขึ้นบัญชีเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อองค์การยูเนสโก โดยเห็นชอบให้อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เป็นผู้ลงนามในเอกสารนำเสนอในฐานะตัวแทนประเทศไทยภายในเดือนมีนาคมนี้

การเสนอดังกล่าวจะใช้เวลาพิจารณาอย่างน้อย 1 ปี ก่อนที่จะมีการเสนอเข้าสู่การประชุมสมัชชาสามัญ ของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาล ที่กำหนดจัดการประชุมระหว่างวันที่ 9 – 14 ธันวาคม 2562 ณ กรุงโบโกตา สาธารณรัฐโคลัมเบีย คาดว่าจะเข้าสู่การพิจารณาขึ้นบัญชีในรอบปี 2563 ขณะที่การเสนอ “นวดไทย” ไปเมื่อปีที่ผ่านมา อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาขึ้นบัญชีในปีนี้ (2562)

การเสนอโนรานั้น เพราะเป็นศิลปะการแสดงการร่ายรำที่มีชีวิต ขับร้องโดยใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ มีดนตรีประกอบจังหวะที่เร้าใจ เครื่องแต่งกายที่วิจิตรประณีต สืบทอดมาจากความเชื่อและพิธีกรรมของชุมชนในภาคใต้ ซึ่งผู้สืบเชื้อสายโนราจะรวมตัวกันเพื่อบวงสรวง เซ่นไหว้ครูหมอโนรา หรือบรรพบุรุษ และเพื่อขจัดปัดเป่าวิญญาณชั่วร้าย พิธีกรรมโนรานั้นเป็นการเชื่อมต่อชุมชนกับบรรพบุรุษ และสืบทอดโนรารุ่นใหม่รวมถึงรักษาความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับบุคคลและชุมชนและช่วยอำนวยอวยพรให้แก่ผู้เข้าร่วมพิธี

ภาพจาก : ศาสตร์โนรา ครูธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ – Thummanit Nikomrat ถ่ายโดย: ChatChai Suk

ปัจจุบันพบว่า โนรามีการสืบทอดศิลปะการแสดงจากรุ่นสู่รุ่นผ่านสายตระกูลโนรา ชุมชน วัดและพัฒนาเข้าสู่หลักสูตรการเรียนการสอนของสถานศึกษาระดับต่างๆ จากข้อมูลของนักวิชาการพบว่า มีสายตระกูลหลัก 5 สายที่สืบทอดโนราในพื้นที่ภาคใต้ของไทย 1.สายโนราพุ่มเทวา 2.สายโนราแปลก ท่าแค 3.สายโนราแป้น เครื่องงาม 4.สายโนราเติม-วิน-วาด และ 5.สายโนรายก ทะเลน้อย โดยสายตระกูลโนราทั้ง 5 สาย สืบทอดความรู้และทักษะมาจาก 12 สายตระกูลในอดีต

ปัจจุบัน พบว่าโนรา มีการสืบทอดศิลปะการแสดงจากรุ่นสู่รุ่นผ่านสายตระกูลโนรา ชุมชน วัด และพัฒนาเข้าสู่หลักสูตรการเรียนการสอนของสถานศึกษาระดับต่างๆ ขณะที่คณะโนราอาชีพในไทยมีจำนวน 387 คณะ โดย 278 คณะ หรือประมาณ 70% อยู่ใน 4 จังหวัดบริเวณรอบลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ซึ่งเป็นศูนย์กลางขนบประเพณีโนรา นอกจากนั้น ยังมีกลุ่มคณะนักแสดงสมัครเล่นและคณะเยาวชนโนรากระจายอยู่ทั่วไปตามสถานศึกษาต่างๆ ในจังหวัดทางภาคใต้

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า