SHARE

คัดลอกแล้ว

ย้อนกลับไปเมื่อประมาณกว่าสองพันปีที่แล้ว กองทัพอันเกรียงไกรของ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช จอมราชันย์ผู้พิชิตจักรวรรดิ์ต่างๆ ลงอย่างราบคาบ ได้กรีธาทัพทำศึกขั้นแตกหักกับ พระเจ้าโปรุส จอมราชันย์แห่งรัฐปัญจาบ ซึ่งเป็นแคว้นหนึ่งของอินเดียโบราณ หรือชมพูทวีป

แม้เวลาจะล่วงเลยมาเนิ่นนาน แต่ด้วยความกล้าหาญของโปรุส ที่ไม่สยบยอมผู้รุกราน ยืนหยัดต่อสู้อย่างไม่หวั่นเกรง ก็ทำให้ศึกครั้งนั้นได้รับการจดจำว่า เป็นมหาสงครามที่ยิ่งใหญ่ระหว่าง 2 จอมราชันย์ ที่ฝ่ายหนึ่งรบเพื่อเป็นผู้พิชิต โดยมีความปรารถนาที่จะครอบครองโลก ในขณะที่อีกฝ่ายรบเพื่อปกป้องบ้านเมือง เพื่อสันติสุขในระยะยาวของราษฎร

อเล็กซานเดอร์ได้รับการยกย่องว่า เป็นนักรบที่เก่งที่สุดในโลกยุคโบราณ เปี่ยมไปด้วยความกล้าหาญ เป็นจอมทัพที่นำหน้าทหารบุกตะลุยไปในทุกๆ ที่ ประกอบกับความชาญฉลาดในการใช้ยุทธวิธีต่างๆ อย่างแยบยล ทำให้พระองค์สามารถกำชัยได้ในทุกสมรภูมิ แม้กองทัพฝ่ายตนจะมีจำนวนน้อยกว่าก็ตาม

โดยปัจจัยที่ทำให้พระองค์เป็นจอมราชันย์ที่เก่งทั้งบู๊และบุ๋น ก็เนื่องมาจากการปูพื้นฐานของ พระเจ้าฟิลิปแห่งมาซิโดเนีย ผู้เป็นพระบิดา ที่เห็นแววว่า ต่อไปในภายภาคหน้าพระโอรสจะต้องเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ ฟิลิปจึงถ่ายทอดความรู้ในด้านการทำศึก และเคี่ยวกรำฝึกฝนเพื่อให้พระองค์เติบใหญ่ตามแนวทางของมหาบุรุษ และได้เชื้อเชิญ อริสโตเติล สุดยอดนักปราชญ์ ผู้รอบรู้ศาสตร์แขนงต่างๆ มาเป็นพระอาจารย์ให้กับพระโอรสอีกด้วย

ซึ่งสิ่งที่พระเจ้าฟิลิปมุ่งหวัง ก็คือก็รวบรวมอาณาจักรกรีกให้เป็นหนึ่งเดียว และพระองค์ก็ทำได้สำเร็จ ในการรบกับพันธมิตรกรีก บนทุ่งราบบีโอเชีย เชิงเขาปาร์นาสซัส โดยมีอเล็กซานเดอร์ ขณะพระชนมายุ 18 ชันษา ร่วมทำศึกด้วย

ฟิลิปเป็นผู้ที่คิดค้นยุทธวิธีที่เรียกว่า ฟาลังค์ (Phalanx) โดยทหารแต่ละนายจะมีหอกยาวประมาณ 5 เมตร เป็นอาวุธคู่กาย ที่ใช้ป้องกันไม่ให้ข้าศึกบุกประชิดถึงตัว ในขณะเดียวกันก็ใช้เป็นอาวุธทำลายแนวตั้งรับของข้าศึกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งต่อมาอเล็กซานเดอร์ได้นำยุทธวิธีนี้มาประยุกต์ใช้ ด้วยการฝึกฝนทหารของพระองค์ให้ช่ำชองในการใช้หอกยาว 5 เมตรบนหลังม้า ทำให้กองทัพม้าของพระองค์ได้ชื่อว่า เก่งกาจในระดับไร้เทียมทาน

หลังจากฟิลิปถูกลอบปลงพระชนม์ อเล็กซานเดอร์ก็ขึ้นเป็นกษัตริย์ และทำศึกสงครามกับแคว้นต่างๆ ของกรีกที่แข็งข้อ ก่อนประกาศบุก เปอร์เซีย อาณาจักรมหาอำนาจในเวลานั้น ด้วยการตีหัวเมืองน้อยใหญ่ที่อยู่ตามชายฝั่ง เเล้วบุกเข้าใจกลางของจักรวรรดิ์ และก็ได้รับชัยชนะในทุกสมรภูมิ จนกระทั่งสามารถยึดครองเปอร์เซียได้อย่างเบ็ดเสร็จ

แม้การสยบเปอร์เซียจะทำให้กรีกกลายเป็นมหาอำนาจ แต่พระองค์ก็ไม่หยุดอยู่เพียงเท่านั้น ยังทรงนำกองทัพม้าที่ได้ชื่อว่าดีที่สุดในโลกบุกตะลุยไปข้างหน้า ยึดอาณาจักรต่างๆ อีกมากมาย กระทั่งเข้าสู่กรุงตักสิลา แคว้นคันธาระ ในดินแดนของอินเดียโบราณ

ในตำราพิชัยสงครามของทุกสำนักต่างกล่าวตรงกันว่า สุดยอดของชัยชนะ คือ การชนะโดยไม่ต้องรบ ซึ่งอเล็กซานเดอร์ในฐานะผู้ที่ศึกษาตำราพิชัยสงครามอย่างแตกฉาน จึงได้ดำเนินกุศโลบายที่ทำให้หลายๆ เมืองยอมศิโรราบโดยที่พระองค์ไม่ต้องออกแรงรบให้สูญเสียไพร่พล นั่นก็คือ ถ้าเมืองใดขัดขืนต้องสู้ หากพ่ายแพ้ก็ถูกทำลายจนแทบราบเป็นหน้ากลอง แต่ถ้ายอมสวามิภักดิ์เสียแต่เนิ่นๆ พระองค์ก็ไว้ชีวิตผู้ปกครอง และให้ดูแลบ้านเมืองต่อไปในฐานะประเทศราช (เมืองขึ้น)

ดังนั้นเมื่ออเล็กซานเดอร์ ที่มีชื่อเสียงเลื่องลือ และยังไม่เคยมีอาณาจักรใดต้านทานกองทัพม้าอันเกรียงไกรของพระองค์สำเร็จ ได้ยกทัพมุ่งสู่กรุงตักสิลา แคว้นคันธาระ พระเจ้าอัมพิราชา ซึ่งทราบดีถึงกฎข้างต้น จึงยอมสวามิภักดิ์เปิดประตูให้กองทัพกรีกเข้าเมือง ก่อนที่อเล็กซานเดอร์จะนำทัพบุกตะลุยไปข้างหน้าเพื่อยึดครองแคว้นปัญจาบต่อไป

และนี่ก็คือจุดเริ่มต้นมหาสงครามของ 2 จอมราชันย์ผู้ยิ่งใหญ่ !

ทางฝั่งโปรุส เมื่อทราบว่าอเล็กซานเดอร์กำลังยกทัพมาบดขยี้แคว้นปัญจาบ แต่ก็หาหวั่นเกรงไม่ เพราะพระองค์ก็มีความช่ำชองในยุทธวิธีเช่นกัน

และด้วยความเชี่ยวชาญในตำราพิชัยสงคราม โปรุสซึ่งทราบถึงความไร้เทียมทานของกองทัพม้าของกรีก จึงได้ใช้ยุทธวิธีที่แตกต่างออกไป เพราะถ้ารบกันด้วยกองทัพม้าเหมือนอย่างเมืองอื่นๆ โอกาสที่จะมีชัยเหนือกองทัพอเล็กซานเดอร์ ก็แทบไม่มีทางเป็นไปได้

โดยสิ่งที่กองทัพกรีกได้ประสบเมื่อทั้งสองฝ่ายเผชิญหน้ากัน นั่นก็คือกองทัพช้างขนาดมหึมาจำนวนมหาศาล ที่สร้างความตื่นตะลึงให้กับทั้งคนและม้า ทำให้อเล็กซานเดอร์ต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ชนิดที่เรียกว่า คิดนอกตำรา เพื่อไม่ให้โปรุสคาดเดาแนวทางการต่อสู้ของพระองค์ได้

ประวัติศาสตร์ได้เล่าขานถึงการต่อสู้ระหว่าง 2 กองทัพว่าเป็นไปอย่างสูสี ซึ่งลึกๆ แล้ว น่าจะเป็นสิ่งที่อเล็กซานเดอร์ทรงโหยหามาเนิ่นนาน นั่นก็ ศัตรูที่คู่ควร ที่มีฝีมือและสติปัญญาทัดเทียมกัน

และหาก พระบิดา คือผู้สั่งสอนในเรื่องของการทำศึกให้กับอเล็กซานเดอร์

อริสโตเติล คือครูผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้แห่งศาสตร์แขนงต่างๆ ให้

ก็กล่าวได้ว่า การทำศึกในครั้งนั้นกับโปรุส…

ก็อาจทำให้อเล็กซานเดอร์ ได้เข้าใจความหมายของคำว่า “ผู้พิชิต”

แม้การต่อสู้กับกองทัพของโปรุส จะเป็นศึกครั้งสุดท้ายของอเล็กซานเดอร์ แต่ก็อาจเป็นครั้งแรก ที่ทำให้พระองค์เข้าใจความหมายของคำว่า “ผู้พิชิตที่แท้จริง” ได้อย่างลึกซึ้ง

ติดตามชม ศึกสองราชันย์ โปรุส VS อเล็กซานเดอร์มหาราช” ซีรีส์ที่ใช้ทุนสร้างสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของโทรทัศน์อินเดีย ออกอากาศวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 21.40 น. ทางช่องเวิร์คพอยท์

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า