SHARE

คัดลอกแล้ว

โรงเรียนบ้านควนอินทนินงาม จ.ตรัง เมื่อ ปี 59 เหลือนักเรียน 3 คน ครู 1 คน สพป.เขต 1 ตรัง ประกาศยุบรวม ขณะที่วัด -ชุมชนไม่ยอม รวมตัวแก้ปัญหา  เจ้าอาวาส ครู เเละหมอ เฉือนเนื้อ จ้างครูมาสอนนักเรียน 

วันที่ 8 มิ.ย. 61 ที่ จ.ตรัง ความคืบหน้า กรณีที่โรงเรียนวัดชลวาปีวิหาร หรือ โรงเรียนบ้านหนักแบก หมู่ที่ 3 ต.หนองบ่อ อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาตรัง เขต 1 มีครูจ้างจำนวน 4 คน เเละครูจิตอาสา 1 คน (ไม่รับเงินเดือน) ช่วยสอนเด็กๆ ที่มีตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล – ป.6 โดย 3 คน รับเงินเดือน 4,000 บาท และอีก 1 คน เพิ่งปรับรับเงินเดือน เป็นเดือนละ 5,000 บาท ชุมชนและชาวบ้านร่วมกันทอดผ้าป่านำเงินมาเป็นค่าจ้างครู เพื่อไม่ให้โรงเรียนถูกยุบไปรวมกับโรงเรียนใกล้เคียงที่อยู่ในพื้นที่บริการ เนื่องจากขณะนั้นมีนักเรียนจำนวน 19 คน

หลังจากที่ปรากฏเป็นข่าวผ่านสื่อต่างๆ ล่าสุด ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงินผ่านบัญชี ศิษย์เก่าชลวา ธนาคารกรุงไทย สาขาย่านตาขาว จ.ตรัง เลขบัญชี 916-0-51262-8 เป็นเงินจำนวน 583,538.70 บาท เพื่อช่วยเหลือครูจ้างทั้ง 4 คน

ทั้งนี้บัญชีดังกล่าว ใช้ในนามศิษย์เก่าชลวา การเบิกเงินผ่านบัญชี มีคณะกรรมการร่วมลงรายมือชื่อ 3 คน ประกอบด้วย นายมณี โสธารัตน์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 3 ประธานกรรมการสถานศึกษา , นางยุพิน ช่วยตระกูล ครูจิตอาสา และ นางปราณี จันทรคง ครูจิตอาสา (ไม่รับเงินเดือน) หลักเกณฑ์การเบิกเงินต้องเซ็นลายมือชื่อ 2 ใน 3 จึงจะสามารถเบิกเงินเป็นค่าจ้างครูในแต่ละเดือนได้

รายงานข่าวแจ้งว่า อย่างไรก็ตามหลังจากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น กับโรงเรียนชลวาปีวิหาร จากการสำรวจยังพบเพิ่มเติมในกรณีคล้ายๆ กัน โดยโรงเรียนบ้านควนอินทนินงาม สังกัดเขตพื้นที่การประถมศึกษา เขต 1 ตรัง ตั้งอยู่หมู่ 1 ต.ทุ่งกระบือ อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง มีการจ้างครูผู้สอนในลักษณะเดียวกัน แต่เงินเดือนที่ครูได้รับมาจากเจ้าอาวาสวัดควนอินทนินงาม , ครูจิตอาสา , ครูผู้ทรงคุณค่า และนายแพทย์ในอำเภอย่านตาขาว จ.ตรัง ที่ให้ความช่วยเหลือ เพื่อไม่ให้โรงเรียนถูกยุบรวมในปี 59

พระครูปลัดเริงชัย สุภโร เจ้าอาวาสวัดควนอินทนินงาม กล่าวว่า ที่ผ่านมาโรงเรียนวัดควนอินทรนินงาม ประสบปัญหาขาดแคลนเด็กนักเรียน ปี 59  มีเด็กนักเรียน 3 คน ครู 1 คน  ขณะนั้นทางเขตพื้นที่การประถมศึกษาตรัง เขต 1 เห็นชอบให้ยุบโรงเรียน โดยให้เด็กไปเรียนรวมกับโรงเรียนนายายหม่อม อ.ย่านตาขาว ทางชาวบ้านจึงมาปรึกษาอาตมาว่าจะทำอย่างไร

จากนั้นมีการพูดคุยกับเขตพื้นที่ฯ และสรุปว่า ทางเขตพื้นที่ฯตกลงว่าจะจัดรถรับส่งนักเรียน แต่เอาเข้าจริงๆ ไม่เป็นไปตามนั้น อาตมาจึงหารือกับผู้อำนวยการโรงเรียนนายายหม่อมว่าจะเปิดโรงเรียนได้อีกหรือเปล่า ท่านผู้อำนวยการให้ความเห็นว่า เปิดได้ อาตมาได้ปรึกษาหารือกับ นายเดชรัฐ สิมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ในสมัยนั้น ท่านก็ตอบตกลง

อาตมาและชาวบ้านจึงชักชวนให้เด็กมาเรียน โดยมีครูจิตอาสามาช่วยสอน ทั้งครูที่เกษียณ และครูที่มีความรู้ความสามารถ พร้อมทั้งจัดหารถรับส่งนักเรียน 3 คัน จากนั้นนักเรียนก็เพิ่มขึ้นกว่า 100 คน มีการจ้างครู และครูจิตอาสา ต่อมาเขตพื้นที่การประถมศึกษาตรัง เขต 1 ก็ส่งครูมาเพิ่ม

พระครูปลัดเริงชัย กล่าวอีกว่า ขณะนี้โรงเรียนมีเด็กนักเรียน 121 คน สร้างโดยงบประมาณสำนักสลากกินแบ่งสงเคราะห์ฯ เมื่อปี 14 ตอนนี้มีสภาพเก่าชำรุด ห้องน้ำก็ต้องใช้รวมกันระหว่างครูและนักเรียน มีผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านย่านตาขาว มารักษาราชการแทน ครูอัตราจ้างมี  3 คน  อาตมาจ้าง  1 คน เดือนละ 7,500 บาท นอกจากสอนแล้ว ยังช่วยงานทุกอย่าง ทั้งรับส่งนักเรียน เป็นนักการภารโรง ส่วนอีก 2 คน ครูจิตอาสาทรงคุณค่าเจียดเงินเดือนมาช่วย และหมอในพื้นที่อำเภอย่านตาขาว ช่วยจ่ายค่าจ้างเดือนละ 5,500 บาท

อาตมามองว่าที่ผ่านมาแม้ว่ารัฐบาลจะวางโครงสร้างไว้ตามระบบระเบียบ แต่ว่าปัญหาของโรงเรียนขนาดเล็ก บุคลากรครูจะมีไม่ครบชั้น โรงเรียนจึงต้องหาวิธีและแก้ปัญหากันเอง เพื่อที่จะให้มีครูครบชั้น เพราะหากมีครูไม่ครบชั้นเมื่อไหร่ เด็กก็จะย้ายออกไปเรียนที่อื่น เช่น ครู 1 คน ต้องสอนเด็ก 2 ชั้น  พ่อแม่ผู้ปกครองจึงไม่อยากให้เด็กเรียน

นี่คือปัญหาของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก จึงกลายเป็นภาระของชุมชนที่จะต้องร่วมมือกัน โดยเฉพาะในเขตพื้นที่โรงเรียนบ้านควนอินทรนินงาม รวม 2 หมู่บ้าน มีเด็กในเขตกว่า 200 คน

พระปลัดเริงชัย กล่าวอีกว่า ถ้ายังคงปล่อยให้สถานการณ์เป็นนี้ต่อไป โรงเรียนขนาดเล็กก็ล้มหายตายจากไปหมด ไม่สามารถที่จะลุกขึ้นมาได้ ต้องยุบไปในที่สุด เพราะว่าข้าราชการประจำไม่ได้เข้ามาให้ความช่วยเหลือ แค่ปฎิบัติหน้าที่กันไปเท่านั้น อาตมาเห็นว่า โรงเรียนบ้านควนอินทรนินงาม ตั้งติดถนน 4 เลนสาย อ.ย่านตาขาว อ.เมือง จ.ตรัง ที่มีอยู่เพียง 1 แห่ง  ประการสำคัญเป็นโรงเรียนประจำตำบล ที่เกิดขึ้นกับวัด สมัยก่อนโรงเรียนอยู่กับวัด เพราะฉะนั้นจะยอมให้ยุบนั้น อาตมาเห็นว่าไม่สมควรอย่างยิ่ง

ด้าน นางสาวทัศนียา เพ็ชรประเสริฐ อายุ 55 ปี ครูจ้างสอน กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ตนเป็นครูสอนโรงเรียนเอกชน จบการศึกษาเอกประถมการศึกษา ได้รับเงินเดือน 5,500 บาท เป็นเงินที่ได้จากเงินเดือนของครูจิตอาสาผู้ทรงคุณค่า 5,000 บาท โรงเรียนสนับสนุน 500 บาท ช่วงเช้าต้องไปกรีดยางเสริม เนื่องจากรายได้ไม่พอที่ต้องเลี้ยงลูก 2 คน รู้สึกมีความสุขกับงานอาชีพครู แม้ว่าจะได้เงินเดือนน้อยก็ตาม

ขณะที่ นางเกศินี ลิ่ม้วน อายุ 55 ปี ครู คศ.2 กล่าวว่า ตนย้ายมาสอนที่โรงเรียนแห่งนี้ การที่ทางวัดและชุมชนเข้ามาช่วยส่งเสริมการศึกษา ทำให้โรงเรียนอยู่ได้ต่อไป เด็กนักเรียนส่วนใหญ่ครอบครัวมีฐานะยากจน ทางวัดจึงบริการจัดรถรับส่ง ขณะนี้มีเด็กนักเรียนเพิ่มขึ้น แต่ทางโรงเรียนยังขาดอุปกรณ์โต๊ะเรียน ห้องน้ำที่ต้องใช้ร่วมกันระหว่างครูและนักเรียน อีกทั้งอาคารเรียนยังเก่าและทรุดโทรม

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า