Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ส.ส. ภายในวันที่ 9 พ.ค. นี้ ซึ่งเป็นกำหนดครบ 150 วัน ภายหลัง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.มีผลบังคับใช้

โดยจะต้องรับรอง ส.ส. อย่างน้อยร้อยละ 95 คือ ส.ส.เขต 333 คน และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 142 คน เพื่อให้ได้ 475 จากจำนวนเต็ม 500 คน

หลังจากวันรับรอง ส.ส. ทั้ง 2 ประเภทแล้ว ภายใน 15 วัน จะต้องมีรัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภา ซึ่งเป็นไปตาม มาตรา 121 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ที่ว่า “ภายในสิบห้าวันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นการเลือกตั้งทั่วไป ให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก”

หลังจากนั้นจะมีการเลือกประธานสภาและนายกรัฐมนตรี เป็นลำดับถัดไป

ในข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2560 กำหนดขั้นตอนการเลือกประธานสภาและรองประธานสภา ไว้ในหมวด 1

เริ่มจากให้เลขาธิการเชิญสมาชิกผู้มีอายุสูงสุดทำหน้าที่เป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุม เพื่อดำเนินการ

จากนั้นจะเปิดให้สมาชิกเสนอชื่อผู้เป็นประธานสภา โดยมีผู้รับรองไม่น้อยกว่าสิบคน ผู้ได้รับการเสนอชื่อจะได้กล่าวแสดงวิสัยทัศน์ต่อที่ประชุมสภา

หากมีผู้ได้รับการเสนอชื่อมากกว่าหนึ่งคนขึ้นไป จะต้องมี การลงคะแนนเป็นการลับ โดยเขียนชื่อผู้ที่ ส.ส.ประสงค์ลงคะแนนให้บนแผ่นกระดาษแล้วนำใส่ซอง แล้วจะเรียกชื่อตามลำดับอักษรให้นำซองมาใส่ภาชนะที่ใช้ในการตรวจนับคะแนน

ผู้จะได้รับเลือกต้องมีคะแนนสูงสุดและไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกที่มาประชุม หากไม่ถึงกึ่งหนึ่งให้นำเฉพาะสองคนแรก ให้สมาชิกลงคะแนนใหม่

ส่วนการเลือกรองประธานสภา ให้ดำเนินการแบบเดียวกันโดยเลือกรองประธานสภาคนที่หนึ่งก่อน แล้วจึงเลือกรองประธานคนที่สองต่อไป

ข้อบังคับกำหนดว่า เมื่อมีการนับคะแนนโดยกรรมการที่ตั้งจาก ส.ส. 5 คนแล้ว และประธานที่ประชุมประกาศชื่อผู้ได้รับเลือกต่อที่ประชุมสภาแล้ว ให้สั่งให้เจ้าหน้าที่ทำลายบัตรออกเสียงลงคะแนน

ดังนั้น กระบวนการทุกอย่างจะเป็นไปโดยลับไม่รู้ว่า ส.ส. คนใดลงคะแนนให้ ผู้ได้รับการเสนอชื่อประธานสภาคนไหน ต่างจากการเลือกนายกรัฐมนตรี ที่ต้องกระทำโดยเปิดเผยด้วยการขานชื่อสมาชิกรัฐสภา ทั้ง ส.ส.และ ส.ว. ทั้งหมดทีละคน

ทั้งนี้ เป็นที่จับตามองนับตั้งแต่การประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ส.ส. ของ กกต. เนื่องจาก การจับขั้วของกลุ่มการเมืองก่อนหน้านี้ มีจำนวนที่ใกล้เคียงกัน หากจำนวน ส.ส. ที่ กกต.ยังไม่รับรองผลได้ตามกฎหมาย ร้อยละ 5 เนื่องจากยังอยู่ในขั้นตอนตรวจสอบ (คือ ส.ส.เขต 17 คน และ บัญชีรายชื่อ 8 คน) เป็นของขั้วการเมืองใดมากกว่าก็จะมีผลต่อการเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรไปด้วย

โดย 1 ใน 17 ตามโควต้าของ กกต.ที่ประกาศมาแล้วก็คือ สุรพล เกียรติไชยากร เขต 8 เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ที่ถูกแจกใบส้ม และให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเขตนี้ โดยเจ้าตัวจะถูกตัดสิทธิไม่ให้ลงสมัครใหม่

นอกจากนั้น ยังต้องจับตา “งูเห่า” นับตั้งแต่ขั้นตอนนี้ เพราะเป็นการลงคะแนนโดยลับไม่รู้ว่าใครลงคะแนนให้ใคร จึงอาจจะมีการแอบโหวตชื่อบุคคลของอีกขั้วการเมืองไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตามเพื่อชิงความได้เปรียบในส่วนของฝ่ายนิติบัญญัติให้ได้ก่อน  

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า