SHARE

คัดลอกแล้ว

หลังกรุงเทพมหานคร เข้ารื้อทุบทางเท้าริมถนนสุขุมวิท เพื่อดำเนินกรปรับปรุงทางเท้าใหม่ โดยเฉพาะจุดหน้าโรงแรม JW MARRIOTT ที่ทางเอกชนดำเนินการสร้างและออกแบบ และมอบให้ กทม. จนทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์จำนวนมาก เพราะประชาชนส่วนใหญ่ที่สัญจรผ่านทางเท้าบริเวณนี้ บอกว่า ทางเท้าจุดนี้ยังมีสภาพคงทน แข็งแรง สวยงาม แม้จะใช้งานมาแล้วกว่า 10 ปี โดยล่าสุดมีการเปิดเผยภาพโดยเฟซบุ๊กแฟนเพจ เฮ้ย นี่มันฟุตบาทไทยแลนด์ ถึงภาพการปูทางเท้าใหม่ของ กทม. เปรียบเทียบกับของเดิม ยิ่งทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์หนัก

https://www.facebook.com/thailandfootpath/posts/1121995621316299

ก่อนหน้านี้ กทม.ชี้แจงว่า การทุบรื้อทางเท้าบริเวณดังกล่าว อยู่ในโครงการปรับปรุงทางเท้าของสำนักการโยธา กทม. ที่ริมถนนสุขุมวิท ทั้ง 2 ฝั่ง ระยะทางรวมกัน 3 กิโลเมตร ซึ่งจุดหน้าโรงแรมแห่งนี้มีประชาชนร้องเรียนว่า เวลาฝนตกพื้นที่ทำขากแกรนิตลื่น เนื่องจากสร้างมานาน 10 ปี และก่อนเข้าดำเนินการทุบ กทม. ได้เข้าไปขอให้ทางโรงแรมปรับปรุงทางเท้าแล้ว แต่ทางโรงแรมไม่ดำเนินการและให้ กทม. ไปรื้อแล้วปรับปรุงเอง

ภาพจาก : กลุ่มคนไทยของทางคืนทางเท้า

นายศักดิ์ชัย บุญมา ผู้อำนวยการสำนักการโยธา กทม. ได้ให้สัมภาษณ์กับเวิร์คพอยท์ว่า ปัญหาของทางเท้าตรงนี้คือ พื้นผิวเป็นสีเดียวกับพื้นในโรงแรม ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าโรงแรมเป็นเจ้าของทางเท้า ซึ่ง กทม. พยายามชี้แจงมาตลอดว่า ทางเท้าจุดนี้ เอกชนเป็นคนทำและยกให้ กทม. ดูแล และอีกปัญหาคือทางเท้าจุดนี้สีแตกต่างจากทางเท้าบริเวณอื่นในถนนเส้นเดียวกัน แม้ว่าจะสวยกว่า นอกจากนี้ยังมีประชาชนร้องเรียนมาอีกว่า พื้นผิวแกรนิตที่ใช้มาเป็นเวลานานเวลาเดินมันลื่น ทรุด บางส่วนมีรอยแตก เมื่อมีโครงการปรับปรุงทางเท้าจึงดำเนินการสร้างตรงนี้ใหม่ ให้เป็นสีเดียวกัน

นายศักดิ์ชัย ระบุด้วยว่า ใน กทม. มีทางเท้าที่เอกชนทำและมีปัญหาคล้ายๆ กันนี้หลายจุด ถึงแม้ว่ากทม.จะพยายามร่วมมือเอกชนในการสร้างทางเท้า แต่ยังมีปัญหาเรื่องของสีพื้นผิว เพราะ กทม.เอง มีแนวคิดเรื่องของย่าน ต้องการให้มีเอกลักษณ์ประจำย่าน

“สมมติว่าเข้ามาสุขุมวิท ทางเท้าจุดนี้เป็นสีแดงคือสุขุมวิท พอเป็นสีเขียวอาจจะเป็นเพชรบุรี อันนี้เป็นแนวคิดที่คิดกันใหม่” นายศักดิ์ชัยกล่าว

ส่วนประเด็นที่ประชาชนตั้งคำถามว่า ที่ผ่านมาทางเท้า กทม. ไม่แข็งแรง แตกง่าย นายศักด์ชัย ระบุว่า ทางเท้าถูกออกแบบมาเพื่อให้ประชาชนเดิน และเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าซ่อมแซมสาธารณูปโภคที่อยู่ใต้ดิน แต่กลับมีรถจักรยานยนต์ขึ้นไปวิ่งบนทางเท้า ทำให้วัสดุชำรุดเสียหาย ดังนั้นสาเหตุจึงมาจากการใช้งานผิดประเภท ไม่ใช่มาจากวัสดุที่ใช้

https://www.youtube.com/watch?v=hfmpBJSE_Ng

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า