SHARE

คัดลอกแล้ว

[et_pb_section fb_built=”1″ _builder_version=”3.0.47″][et_pb_row _builder_version=”3.0.47″ background_size=”initial” background_position=”top_left” background_repeat=”repeat”][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1536616593_25653_05.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_image][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

กลายเป็นประเด็นถกเถียง กรณีการประกวดออกแบบอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 หรือ เทอร์มินัล 2 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หลังจากบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.มีมติในที่ประชุมคณะกรรมการ เห็นชอบให้ DBALP Consortium หรือกลุ่มของดวงฤทธิ์ บุนนาค เป็นผู้ชนะงานออกแบบกับวงเงินค่าออกแบบ 329 ล้านบาท

ด้วยเหตุนี้เองทำให้เกิดกระแสวิพากวิจารณ์ว่า ผลการตัดสินไม่เป็นที่ชอบทำ เนื่องจากแท้จริงแล้ว การตัดสินผู้ชนะการออกแบบอาคารเทอร์มินัล 2 สนามบินสุวรรณภูมิครั้งนี้ กลุ่มของดวงฤทธิ์ บุนนาค ไม่ได้เป็นผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดในการประกวดการออกแบบ โดยผู้ชนะเลิศการออกแบบ คือ กลุ่มที่ปรึกษา เอสเอ กรุ๊ป ซึ่งกลุ่มดวงฤทธิ์ ได้ที่ 2

โดยทาง ทอท.ให้เหตุผลว่า ในวันที่ ทอท.เชิญกลุ่มเอสเอ กรุ๊ป เข้าพูดคุยเพื่อต่อรองราคา ทางเอสเอ กรุ๊ป ไม่ได้มีการเตรียมเอกสารต้นฉบับเสนอราคามาด้วย ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญตามเงื่อนไขในการประมูล ทอท.จึงตัดสิทธิ์ โดยเลือกให้กลุ่มของดวงฤทธิ์ บุญนาค มาเจรจาแทน เพราะทำตามเงื่อนไขถูกต้อง มีการเสนอเอกสารครบ และเจรจาต่อรองลดราคาค่าจ้างออกแบบจาก 349 ล้านบาท เหลือ 329 ล้านบาท ทางบอร์ด ทอท.จึงอนุมัติให้กลุ่มดวงฤทธิ์ บุนนาค เป็นผู้ชนะการประกวดออกแบบ

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_fullwidth_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1536616152_14385_10.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_fullwidth_image][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ custom_padding=”54px|0px|54px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1536634992_39465_yasuhara-bridge.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_image][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

แต่ไม่จบเพียงเท่านั้น ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวนมาก ตั้งข้อสังเกตผลงานการออกแบบของกลุ่มดวงฤทธิ์ บุนนาค ซึ่งทำงานร่วมกับนิคเคเซคไค (Nikken Sekkei) บริษัทสภาปนิก ใหญ่เป็นอันดับ 1 ในญี่ปุ่น และอันดับ 2 โลก ทำให้หลายคนมองว่า ผลงานการออกแบบมีลักษณะคล้ายกับพิพิธภัณฑ์สะพานไม้ยะสุฮาระ และยังคล้ายผลงานการออกแบบวิชาโครงสร้าง ของนักศึกษาคณะสถาปัตย์ ม.วลัยลักษณ์ เมื่อ 5 ปีที่แล้ว อีกด้วย

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1536634988_62526_Dlh-R-8UYAEy8ez.jpg” admin_label=”false” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_image][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

การออกแบบอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 กลุ่มดวงฤทธิ์ ให้แนวคิด Forest Airport Terminal แสดงถึงป่าไม้ ธรรมชาติที่สำคัญของประเทศ โครงสร้างใช้แกนเหล็กประกอบกับเสาไม้ขนาดใหญ่ ส่วนด้านบนของเสา มีไม้ตัดยาวเป็นท่อนวางขัดกัน เป็นทรงแผ่กว้างขึ้นไปด้านบน เพราะเหตุนี้เองไม่พ้นข้อครหาว่าหากสร้างขึ้นจริงบนพื้นที่กว่า 200 ไร่ ของสนามบินสุวรรณภูมิ จำเป็นต้องใช้ไม้ก่อสร้างจำนวนมาก และต้องมีการตัดไม้มากขึ้นเช่นกัน วิธีนี้อาจสวนทางกับแนวคิดเรื่องความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการประหยัดพลังงาน

ยิ่งไปกว่านั้นนักวิชาการจากหลายสาขาออกมาเตือนว่า การใช้ไม้เป็นวัสดุหลักในการก่อสร้างแหล่งรวมผู้คนที่สำคัญของประเทศเช่นนี้ ไม่ควรใช้อย่างยิ่ง เสี่ยงเกิดอัคคีภัยสูง และยากที่จะควบคุมความปลอดภัย

 “ทีมข่าวเวิร์คพอยท์” รวบรวมข้อมูลจากงานเสวนา ไขปม เทอร์มินัล 2 สุวรรณภูมิ…ความท้าทายทางวิศวกรรมและความปลอดภัย ไว้ดังนี้

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_fullwidth_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1536619944_80372_39952733_1234205240054401_1987655021424017408_o.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_fullwidth_image][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

เหตุผลที่ต้องสร้างเทอร์มินัล 2 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ปัจจุบันสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิเปิดให้บริการมาแล้วกว่า 8 ปี ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 563,000 ตารางเมตร เขตตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ สำหรับอาคารพักผู้โดยสาร หรือเทอร์มินัล เปรียบเสมือนประตูเมืองด่านแรกที่สะท้อนภาพลักษณ์และคุณค่าของประเทศไทย ต่อนักท่องเที่ยวและชาวโลก ที่เดินทางเข้า-ออก ราว 60 ล้านคนต่อปี และคาดว่าจะเพิ่มมากขึ้น

ทอท.จึงต้องขยายขีดความสามารถสนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งและระบบโลจิสติกส์ของประเทศ จัดทำโครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 สุวรรณภูมิ เพื่อรองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอีก 30 ล้านคนต่อปี ซึ่งผู้โดยสารจะได้รับประโยชน์ จากระดับการให้บริการที่ดีของสนามบิน สิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐานที่เพียงพอรองรับความต้องการ สะดวกสบายและรวดเร็วในการใช้บริการท่าอากาศยาน

เทอร์มินัล 2 หลังใหม่ มีพื้นที่รวมประมาน 348,000 ตารางเมตร ส่วนพื้นที่อาคารประมาณ 84,000 ตารางเมตร สามารถจอดรถยนต์ในอาคารได้ประมาณ 1,000 – 1,500 คัน และมีลาดจอดรถยนต์ภายนอกอาคารอีกประมาณ 1,500 – 2,000 คัน รองรับผู้โดยสารได้ 30 ล้านคนต่อปี แบ่งเป็นผู้โดยสารภายในประเทศ 12 ล้านคน และผู้โดยสารระหว่างประเทศ 18 ล้านคน พร้อมทั้งปรับปรุงลานจอดอากาศยานให้สอดคล้องกับอาคารผู้โดยสาร โดยมีหลุมจอดประมาณ 14 หลุมจอด และมีระบบ APM หรือรถไฟฟ้าเชื่อมต่อทั้ง Airside และ Landside ไปยังอาคารหลังปัจจุบัน และสถานีรถไฟฟ้า Airport Rail Link

คาดว่าในปี 2562 เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้มากถึง 90 ล้านคนต่อปี และ 120 ล้านคนต่อปีในปี 2564

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_fullwidth_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1536625508_77989_39894606_1234205196721072_8875583379274203136_o.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_fullwidth_image][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1536617203_10930_1536617202295.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_image][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

“ดวงฤทธิ์ บุนนาค” คือใคร?

ดวงฤทธิ์ บุนนาค หรือด้วง อายุ 52 ปี เป็นสถาปนิกและนักออกแบบชาวไทย ผู้ก่อตั้ง บริษัท ดวงฤทธิ์ บุนนาค จำกัด (DBALP) ดวงฤทธิ์เป็นที่รู้จักในฐานะนักออกแบบในสไตล์โมเดิร์นเรียบง่าย โดยเฉพาะการออกแบบอาคารทรงสี่เหลี่ยมและการเล่นกับองค์ประกอบทางธรรมชาติ มีผลงานตัวอย่างสร้างชื่อมากมาย เช่น โรงแรมคอสต้าลันตา, โรงแรมเดอะนาคา, ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) และเดอะแจมแฟคทอรี่ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งสำนักงานออกแบบของเขา

ชนะการออกแบบอาคาร Terminal 2 ได้อย่างไร?

จุดกำเนิดการออกแบบเทอร์มินัล 2 สุวรรณภูมิ “ดวงฤทธิ์ บุนนาค” เคยให้สัมภาษณ์สื่อไว้ว่า หากย้อนกลับไปเมื่อกลางปี 2560 หลังจากบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (AOT) เรียกประกวดแบบอาคารเทอร์มินัล 2 สนามบินสุวรรณภูมิ ด้วยข้อจำกัดเรื่องค่าแบบที่ค่อนข้างต่ำ แต่ขณะนั้นเขามีความพร้อมในการทำงานร่วมกับบริษัทนิคเคเซคไค (Nikken Sekkei) ของประเทศญี่ปุ่น จึงพิจารณารายละเอียดและส่งแบบเข้าประกวด โดยใช้เวลาทำงาน 2 เดือนเต็ม ในการออกแบบเทอร์มินัล 2 ส่วนทางบริษัทร่วมนิคเคเซคไค ทำหน้าที่ดูแลระบบสนามบินให้สอดคล้องกับมาตรฐานระดับสากล เนื่องจากการทำความเข้าใจกับระบบสนามบินเป็นสิ่งที่ยากที่สุด และทำให้ได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ มากมาย

การออกแบบวิธีซ้อนไม้ และการสอดประสานธรรมชาติ เขาเองหลงไหลกับองค์ประกอบไม้ซ้อนเรียงเป็นชั้นอยู่แล้ว และออกแบบผลงานในลักษณ์นี้มาหลายแห่ง ซึ่งเขาทราบดี ไม่ว่าผลงานจะแพ้หรือชนะ ก็หนีไม่พ้นคำติชมที่ต้องเปิดใจรับฟัง และพร้อมที่จะปรับปรุงพัฒนาตนเองอยู่เสมอ

ดวงฤทธิ์ บุนนาค โพสต์ผ่านทวิตเตอร์ยืนยันว่า “ผมออกแบบเอง 100% ครับ Nikken มาช่วยได้แค่ดูระบบสนามบิน เพราะค่าแบบงานนี้ต่ำมาก ไม่มีบริษัทต่างชาติไหนยินดีรับงานออกแบบครั้งนี้ครับ”

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1536643204_73221_1536620105965.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_image][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_fullwidth_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1536617432_60378_08.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_fullwidth_image][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_code _builder_version=”3.0.63″]<p><!– [et_pb_line_break_holder] –><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p><!– [et_pb_line_break_holder] –><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –>[/et_pb_code][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

ขณะที่ กลุ่มบริษัท เอสเอ กรุ๊ป ออกมาเปิดเผยกับสื่อมวลชน กรณี ทอท.ปัดแพ้ฟาว์ล กลุ่มที่ปรึกษา เอสเอ กรุ๊ป หลังตัดสินให้เป็นผู้ชนะคะแนนเทคนิคสูงสุด ทอท.ได้ทำหนังสือเรียก เมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2561 ให้มาเปิดซองและต่อรองราคาในวันที่ 14 ส.ค. 2561 แต่เมื่อกลุ่ม เอสเอ มาเปิดซองพบว่า ไม่มีต้นฉบับใบเสนอราคางานจาก ทอท.ซึ่งกลุ่มเอสเอ แย้งว่า ไม่ได้รับเอกสารนี้ แต่สุดท้าย ทอท.แจ้งให้แพ้การประมูล

จากนั้น ทอท.จัดการเรียกกลุ่มดวงฤทธิ์ บุนนาค หรือ DBALP Consortium ซึ่งได้ที่ 2 เข้ามาเปิดซองต่อทันทีในวันเดียวกัน และตัดสินให้กลุ่มดวงฤทธิ์ ชนะประมูลอย่างรวดเร็ว ทำให้หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่า การเรียกกลุ่มดวงฤทธิ์มาเปิดซองและต่อรองในวันเดียวกัน หลังเวลาราชการ มิสมควร มีการรวบรัดขั้นตอนอย่างรวดเร็ว ภายในไม่กี่ชั่วโมง โดยทาง ทอท.อ้างว่าสามารถทำได้ เพราะในระเบียบไม่ได้กำหนดไว้

อย่างไรก็ตาม เอสเอ กรุ๊ป ได้พยายามยื่นหนังสือร้องเรียนกระบวนการตัดสิน เช่น อ้างว่าไม่ได้รับต้นฉบับใบเสนอราคาตั้งแต่แรก แต่ ทอท. เห็นว่าเอกชนที่อยู่ในเอสเอ กรุ๊ป มาซื้อทีโออาร์ถึง 2 ราย จึงไม่น่าจะเป็นไปได้

แต่ประเด็นสำคัญที่หลายคนให้ความสนใจคือ หลังจากประกาศผลการคัดเลือกแบบเทอร์มินัล 2 ไปไม่ทันไร ก็มีประกาศจาก ทอท.เรื่องการโยกย้าย นายศิโรตม์ ดวงรัตน์ ผอ.สนามบินสุวรรณภูมิ ไปประจำที่ดอนเมือง แบบทันควัน เมื่อลองสืบย้อนความสัมพันธ์ของศิโรตม์ ดวงรัตน์ กับ ดวงฤทธิ์ บุนนาค ก็พบว่าทั้งคู่เป็นเพื่อนร่วมรุ่นเดียวกันที่สาธิตจุฬาฯ รุ่นที่ 19

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_fullwidth_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1536635620_53551_F106028A4B6D493CBAF036D4592FF148.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_fullwidth_image][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1536621164_92810_0666.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_image][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

วิเคราะห์ความปลอดภัยแบบอาคาร Terminal 2 ที่ชนะการประกวด

จากการแถลงข่าวไขปม เทอร์มินัล 2 สุวรรณภูมิ…ความท้าทายทางวิศวกรรมและความปลอดภัย นายเกชา ธีระโกเมน อุปนายก วสท. กล่าวว่า เบื้องต้นที่ได้เห็นแบบประกวดใช้ไม้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการตกแต่ง และยังไม่เห็นแบบผังอาคารส่วนอื่น ๆ ซึ่งอาจยังไม่ได้พัฒนานั้น

ความเห็นด้านอัคคีภัย คือ การออกแบบใช้ไม้เป็นท่อน ๆ จำนวนมากเรียงประกอบกันที่หัวเสาและเพดาน หากเกิดไฟไหม้จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงอันตรายจากอัคคีภัย ไม้เป็นชิ้นเป็นท่อนมีพื้นที่ผิวมากกว่าไม้ท่อนเดียว ทำให้สามารถติดไฟได้เร็วและมีขนาดไฟใหญ่รุนแรงกว่ามาก ท่อนไม้ประดับในระดับสูงจะจมอยู่ในชั้นระดับความร้อนจากเพลิงไหม้ที่ลอยขึ้นไป และสะสมอยู่ใต้เพดาน จะทำให้ท่อนไม้ติดไฟเร็วขึ้น ระบบดับเพลิงที่มีตามมาตรฐาน ทั้งจากเครื่องฉีดและระบบท่อ ไม่สามารถรองรับขนาดไฟที่เกิดขึ้นได้ในระยะเริ่มต้น

“ไม้” เป็นวัสดุติดไฟ ในทางปฏิบัติเราไม่นำวัสดุติดไฟมาหุ้ม โดยที่อ้างว่าจะเพิ่มอัตราการทนไฟ ด้วยความเป็นห่วงถ้าเข้าใจผิด มันก็เหมือนฟืน เราไม่ควรเอาฟืนมาไว้ในอาคารเยอะ ๆ เพราะหากเกิดอะไรขึ้นมันเยอะเกินกว่าที่จะจัดการได้” เกชา ธีระโกเมน กล่าว

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_fullwidth_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1536616909_24625_12.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_fullwidth_image][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_code _builder_version=”3.0.63″]<p><!– [et_pb_line_break_holder] –><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p>https://www.facebook.com/NewsWorkpoint/videos/321662931937827/</p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p><!– [et_pb_line_break_holder] –><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –><p><!– [et_pb_line_break_holder] –></p><!– [et_pb_line_break_holder] –>[/et_pb_code][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

อาคารผู้โดยสารถือเป็นอาคารชุมนุมคนและมีคนในเวลาเดียวกันหลายหมื่นคน มาตรฐานสากล NFPA 101 ของสมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา หรือ National Fire Protection Association  – USA จึงกำหนดให้วัสดุตกแต่งผิวที่ลุกลามไฟช้าประเภท A หรือ B เท่านั้น แต่ไม้จัดเป็นประเภท C สำหรับไม้เนื้ออ่อน เนื้อแข็งทั่วไป จะมีเปลวไฟกระจาย ประมาณ 100 เช่น ไม้โอ๊คแดง จึงตกที่ Class C ตามมาตรฐาน NFPA101 จึงไม่อนุญาตให้ใช้ไม้หรือโฟมหรือฟองน้ำหรือพลาสติกที่เป็น Class C ในโถงหรือทางเดินหรือช่องบันได กรณีมีคนจำนวนมากกว่า 300 คน

ส่วนประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัย “ไม้” เป็นทรัพยากรที่สำคัญ การออกแบบอาคารหลังนี้สามารถเลือกใช้วัสดุอื่นมาทดแทนไม้ได้ ส่วนซอกมุมที่ไม้ร้อยถักจำนวนมากและอยู่สูงระดับ 15 – 20 เมตร จะดูแลกันอย่างไรในเรื่องฝุ่น การทำความสะอาดและการซ่อมแซมค่อนข้างลำบาก

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_fullwidth_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1536625486_23131_39925417_1234205273387731_3802476311134339072_o.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_fullwidth_image][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1536636039_12177_07.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_image][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

เปรียบเทียบมาตรฐานงานก่อสร้างตามหลักสากล เหตุใดจึงเสี่ยงไฟไหม้มาก ?

ผศ.ดร.ชูชัย สุจิวรกุล คณะอนุกรรมการมาตรฐานอาคารคอนกรีต วสท. กล่าวว่า การใช้วัสดุก่อสร้างจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานหลักสากล หรือหากมีมาตรฐานภายในประเทศ เช่นมาตรฐานของกรมโยธาธิการและผังเมือง ก็ควรนำมาใช้ในการออกแบบ

อาคารผู้โดยสารเทอร์มินัล 2 ถือเป็นทั้งอาคารสาธารณะและอาคารขนาดใหญ่พิเศษ ต้องการวัสดุก่อสร้างที่มีคุณภาพมากกว่าปกติ โดยเฉพาะคุณสมบัติด้านอัคคีภัย วัสดุก่อสร้างที่ใช้ในอาคาร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน

ส่วนแรก คือ วัสดุที่ใช้ทำโครงสร้างอาคารซึ่งเป็นส่วนที่รับน้ำหนัก ได้แก่ เสา คาน พื้น ผนัง โครงถัก โครงอาร์ค และโครงหลังคา

ส่วนที่สอง คือ วัสดุตกแต่ง ได้แก่ วัสดุตกแต่งผิวผนังและฝ้าเพดานภายใน วัสดุตกแต่งผิวพื้นภายใน

วัสดุที่ใช้เป็นโครงสร้างของอาคารจะต้องมีสมบัติการทนไฟ (Fire-Resistance Rating) เป็นไปตามชนิดของโครงสร้างและประเภทของการก่อสร้าง ตัวอย่างเช่น เสาหรือคานต้องมีอัตราการทนไฟไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง และพื้นต้องมีอัตราการทนไฟไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง ตาม พรบ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และวัสดุเหล่านี้ต้องได้รับการรับรองจากสถาบันที่เชื่อถือได้ หากวัสดุที่ใช้เป็นโครงสร้างที่รับน้ำหนักได้ทำจากไม้จริง ต้องเป็นไม้เนื้อแข็งมากและต้องมีขนาดของโครงสร้างไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ตามมาตรฐาน NFPA 415

สำหรับการใช้ท่อนไม้มาเรียงต่อกัน ดังที่ใช้ในอาคารเทอร์มินัล 2 ของผู้ออกแบบนั้น มองว่าเป็นโครงสร้างที่รับน้ำหนัก หรือหากมีโครงสร้างอื่นที่ไม่ใช่ไม้ มารองรับท่อนไม้เหล่านี้ อาจมองว่าท่อนไม้เป็นวัสดุตกแต่งภายในอาคารผู้โดยสารก็ได้ ซึ่งถ้าเป็นโครงสร้างที่รับน้ำหนัก การใช้ไม้จริงทั่วไปอาจไม่เหมาะสมกับการใช้งาน เนื่องจากไม้จริงมีอัตราการทนไฟที่ต่ำ หากต้องการให้มีอัตราการทนไฟสูงขึ้นควรใช้วัสดุอื่นแทนไม้

นอกจากนี้ วัสดุตกแต่งภายในอาคารเทอร์มินัล 2 ต้องมีคุณสมบัติการลามไฟและการกระจายควันไม่น้อยกว่าระดับชั้น A หรือ B ตามการทดสอบมาตรฐาน มยผ. 8206-52 หรือ ASTM E84 หรือ NFPA 255 ซึ่งขึ้นอยู่กับการติดตั้งระบบดับเพลิงอัตโนมัติ และส่วนประกอบภายในอาคาร

“ในมาตรฐานการตกแต่งผนังและเพดาล “ไม้” ถือเป็นวัสดุติดไฟ ยิ่งในลักษณะที่ว่างสุมกันเป็นชั้น แล้วมีความหนามีไฟล์โหลตมาก ในอนาคตอาจจะไม่เหมาะสม”  ผศ.ดร.ชูชัย  กล่าว

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_fullwidth_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1536620186_59035_09.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_fullwidth_image][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1536637078_13022_terminal4landsideconcession1.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_image][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

เมื่อเปรียบเทียบกับสนามบินอันดับหนึ่งของโลก

ท่าอากาศยานชางงี ประเทศสิงคโปร์ (Singapore Changi Airport) หนึ่งในสนามบินที่ดีที่สุดในโลก กำลังจะเปิดตัวอาคารพักผู้โดยสาร 4 หรือ เทอร์มินัล 4 ด้วยระบบอัตโนมัติเต็มตัว ผู้โดยสารจะบริการตนเองตั้งแต่จุดเช็คอิน จนถึงจุดขึ้นเครื่อง เป็นการก้าวเข้าสู้การเปลี่ยนแปลงระบบสายการบินอีกขั้นหนึ่ง

เปิดตัวเทอร์มินัล 4 อาคารพักผู้โดยสารสองชั้น ทีมงานต้องรับมือกับความแปลกใหม่ สรรค์สร้างในสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยเฉพาะการสร้างงานศิลปะและพื้นที่สีเขียวในพื้นที่ 50,000 ตารางเมตร ซึ่งเทียบเท่ากับสนามฟุตบอลถึง 5 สนาม ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ภายใต้แนวคิดอินไซต์ ทีโฟร์ เทอร์มินัลแห่งอนาคต (Inside T4 Terminal of Tomorrow) เพื่อยกระดับประสบการณ์ของผู้โดยสาร และการนำต้นไม้ขนาดใหญ่มาปลูกไว้ภายในอาคารเทอร์มินัล เชื่อว่าจะช่วยลดระดับความเครียดของผู้โดยสาร ซึ่งผู้ออกแบบจะให้ความสำคัญกับการสร้างธรรมชาติอย่างมาก

ทุกสัปดาห์เที่ยวบินกว่า 7,000 เที่ยว พาผู้โดยสารนับล้านสู้จุดหมาย 400 เมืองทั่วโลก สนามบินบันทึกจำนวนผู้โดยสาร 62 ล้านคน ในปี 2017 และทั่วโลกจำนวนผู้โดยสารถูกตั้งไว้เป็น 2 เท่า คือ 7.2 พันล้านคน ในปี 2035 ด้วยเหตุผลนี้สนามบินชางงีจึงจำเป็นต้องขยายให้ทันภายในระยะเวลา 4 เดือน

เทอร์มินัล 4 หนึ่งในเทอร์มินัลอัตโนมัติครบวงจรแห่งแรกของโลก โดยทางสิงคโปร์มีการทดสอบเทคโนโลยีใหม่พร้อมกัน จากอาสาสมัคร 200 คน ในการจำลองเป็นผู้โดยสาร และต้องผ่านระบบอัตโนมัติทั้งหมด ตั้งแต่เช็คอิน โหลตสำภาระ ไปถึงการตรวจคนเข้าเมือง จนกระทั่งขึ้นเครื่อง โดยไม่ต้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่ ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องง่ายสำหรับเด็กหรือวัยรุ่น แต่เพื่อให้มั่นใจว่า แม้แต่กลุ่มผู้สูงอายุก็ทำได้ โดยใช้ความช่วยเหลือให้น้อยที่สุด

ด้านเทคโนโลยีโดยเฉพาะเครื่องโหลดกระเป๋าอัตโนมัติ สามารถรองรับการจัดเจ็บได้ถึง 5,400 ใบต่อชั่วโมง ทำให้ผู้โดยสารใช้เวลาเดินจากเกต ไปขึ้นเครื่องได้รวดเร็ว ที่สำคัญพนักงานต้องพัฒนาวิธีตรวจสอบกระเป๋าให้ถูกต้อง คือการใช้กล้องวิดีโอพิเศษ แต่ละอันจะถ่ายภาพสามมิติของกระเป๋า ข้อมูลนับล้านจะถูกวิเคราะห์เพียงไม่กี่นาที ทำให้มีความปลอดภัยและมั่นใจว่าของที่ถูกต้องเท่านั้นจึงจะสามารถผ่านเข้าระบบไปได้ รวมถึงระบบตรวจจับกระเป๋าที่ทันสมัยแห่งเดียวในโลก ด้วยวิธีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือซีที สแกนเนอร์ เพื่อความปลอดภัย ทำให้เทอร์มินัลแห่งนี้สามารถเป็นต้นแบบของเทอร์มินัลในอนาคตได้

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_fullwidth_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1536637235_30766_11.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_fullwidth_image][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

ไม่จบง่าย ๆ ออกแบบเทอร์มินัล 2 อาจยืดเยื้อ

กรณีกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา เอสเอ กรุ๊ป ยื่นฟ้องบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท.กรณีประมูลงานจ้างสำรวจออกแบบโครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หลังกลุ่มบริษัท ดวงฤทธิ์ บุนนาค ชนะการประมูลโดยมองว่าเป็นการชนะโดยมิชอบ เนื่องจากเอสเอ กรุ๊x ไม่ได้รับต้นฉบับใบเสนอราคาจาก ทอท.ตั้งแต่ต้น ส่งผลให้เอสเอ กรุ๊ป ไม่ได้แนบเอกสารดังกล่าวในข้อเสนอและเป็นเหตุให้บริษัทถูกตัดสิทธิ์ในที่สุด โดยขณะนี้ศาลปกครองยังไม่มีคำสั่งคุ้มครองหรือคำสั่งอื่นใดออกมา

นายนิตินัย ศิริสมรรถการ ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปัจจุบัน ทอท.ยังไม่สามารถลงนามสัญญาจ้างผู้ชนะสิทธิ์ คือ กลุ่มดวงฤทธิ์ บุนนาค เนื่องจากต้องรอคำตัดสินจากศาลปกครอง

อย่างไรก็ตาม หากศาลปกครองมีคำสั่งให้เดินหน้ากระบวนได้ ก็สามารถลงนามสัญญากับกลุ่มดวงฤทธิ์ บุนนาคได้ทันที แต่ถ้ากระบวนการลงนามในสัญญายืดเยื้อออกไป ก็อาจส่งผลต่อกระทบต่อการประมูลพื้นที่สินค้าปลอดภาษี (Duty Free) ในสนามบินสุวรรณภูมิ เพราะการประมูลต้องรอความชัดเจนเรื่องขนาดพื้นที่ดิวตี้ฟรีในอาคารผู้โดยสารแห่งที่ 2 ด้วย

โดยหากกระบวนการยืดเยื้อและไม่ได้ข้อสรุป ทอท.ก็อาจปรับแผนให้นำพื้นที่อาคารผู้โดยสารหลังที่ 1 และอาคารแซทเทิลไลท์ของสนามบินสุวรรณภูมิ ออกมาเปิดประมูลดิวตี้ก่อน โดยไม่ต้องนำพื้นที่ในอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 มารวม เพื่อให้เปิดบริการดิวตี้ฟรีได้ทันปี 2563 เดิม ทอท. คาดว่าจะได้ลงนามกับกลุ่มดวงฤทธิ์ บุนนาคในเดือนกันยายนนี้ แต่หากการลงนามล่าช้าออกไป 1-2 เดือน คงยังไม่ส่งผลกระทบใด ๆ กับโครงการ

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

ขอบคุณข้อมูลและภาพ : Thailand Skyline, wikipedia, sanook, @Atch Sreshthaputra, @duangritbunnag

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_fullwidth_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1536637337_42758_06.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_fullwidth_image][/et_pb_section]

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า