SHARE

คัดลอกแล้ว

เวทีการประชุมคณะกรรมการอนุสัญญาไซเตส ครั้งที่ 17ที่ประเทศรัสเซีย มีมติให้ประเทศไทยพ้นจากจากบัญชีดำ 1 ใน 8 ประเทศที่ถูกขึ้นบัญชีดำลักลอบค้างาช้างแอฟริกาผิดกฎหมาย ไม่ต้องทำแผนปฏิบัติการงาช้างรายงานต่อไซเตส แต่ยังกังวลเพื่อนบ้านค้าหนังช้าง

วันนี้ (5 ต.ค.2561) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะกรรมการอนุสัญญาไซเตส ครั้งที่ 17 ที่เมืองโซชิ ประเทศรัสเซีย ระหว่างวันที่ 1-5 ต.ค.นี้ โดยประเทศไทยได้ส่งตัวแทนเข้าร่วม นายสมเกียรติ สุนทรพิทักษ์กุล ผอ.กองคุ้มครองสัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประ เทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (ไซเตส) กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เข้าประชุม

ล่าสุด สำนักเลขาธิการไซเตส มีมติให้ประเทศไทยออกจากแผนปฏิบัติการงาช้างหรือ NIAP โดยไม่ต้องทำแผนต่อไซเตสแล้ว หลังจากก่อนหน้านี้ ประเทศไทยเป็น 1 ใน 8 ชาติ เช่น ฟิลลิปินส์ จีน เคนยา แทนซาเนีย อูกันดา เคยถูกขึ้นบัญชีประเทศ ที่มีปัญหาลักลอบ และเป็นเส้นทางค้างาช้างแอฟริกาผิดกฎหมาย กระทั่งในปี 2560 ไทยถูกปรับสถานะดีขึ้น จาก Primary Concern มาเป็น Secondary Concern

นายสมเกียรติ ระบุว่า การที่ประเทศไทยก้าวพ้นจากแบล็กลิสต์ เนื่องจากตลอดหลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลไทยมีการออกมาตรการจัดแผนปฏิบัติการงาช้าง เพื่อป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำเข้างาช้างแอฟริกามายังประเทศไทย

ภาพจาก งานประชาสัมพันธุ์และเผยเเพร่ กองคุ้มครองสัตว์ป่า

โดยแผนดังกล่าวออกกฎหมายงาช้าง 2558 และการเพิ่มให้ช้างแอฟริกา เพิ่มเติมเพื่อแก้ไขปัญหา เช่น การเพิ่มให้ช้างแอฟริกาเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า 2535 นอกจากนี้ยังปรับปรุง วิธีการ จดทะเบียนตั๋วรูปพรรณ ช้างเลี้ยงของไทย รวมทั้งความเข้มงวดปราบปราม การค้าระหว่างประเทศ ที่ใช้ไทยเป็นทางผ่าน

ที่ประชุม ห่วงใยเรื่องการลักลอบค้าหนังช้าง ในประเทศเพื่อนบ้านของไทย ซึ่งไทยยินดีให้ความร่วมมือในการป้องกันปราบปรามไม่ให้มีการนำเข้ามาในประเทศไทย โดยจะขยายการดำเนินการอย่างเข้มข้นกับสัตว์ชนิดอื่นด้วย ทั้งนี้ประเทศไทย ยังคงจะคงมาตราการเข้มข้น ในการป้องกันปราบปราม การลักลอบค้างาช้าง และฆ่าช้างต่อไป

จากข้อมูลกรมศุลกากรปี 2560 มีรายงานสถิติการเคยจับกุมตรวจยึดงาช้าง และผลิตภัณฑ์จากงาช้างไปแล้วกว่า 16,730 ชิ้น น้ำหนักรวม 75 กิโลกรัม มูลค่ากว่า 7.5 ล้านบาท

ภาพจาก งานประชาสัมพันธุ์และเผยเเพร่ กองคุ้มครองสัตว์ป่า

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า