SHARE

คัดลอกแล้ว

BIOTHAI เผย มีคำขอสิทธิบัตรเกี่ยวกับกัญชาจากบริษัทต่างชาติอีกจำนวนมาก ยังไม่ถูกยกเลิก เมื่อกฎหมายปลดล็อกกัญชามีผลบังคับใช้ จะก่อให้เกิดอุปสรรคกับไทย ในการค้นคว้าวิจัย และนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เข้าข่ายเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทยาข้ามชาติ ส่งผลให้ผู้ป่วยไทยต้องซื้อยาในราคาที่สูง

หลังจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ลงมติเห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 61 โดยสาระสำคัญของ ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ก็คือ การถอนกัญชาและกระท่อมออกจากการเป็นยาเสพติดประเภท 5 ทำให้สามารถนำไปศึกษาวิจัยเพื่อนำไปประโยชน์ทางการแพทย์ได้

โดยที่ผ่านมา มีผลการวิจัยทั้งในและต่างประเทศเป็นจำนวนมากออกมาว่า สารสกัดจากกัญชานั้น สามารถนำรักษาโรคบางชนิดได้ แต่ติดที่กฎหมายที่ระบุว่ากัญชาเป็นยาเสพติด ประเภทที่ 5 จึงเป็นอุปสรรคในการศึกษา ค้นคว้า และนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์

ดังนั้น การลงมติเห็นชอบ ร่างพ.ร.บ. ของ สนช. จึงได้รับเสียงชื่นชมอย่างล้นหลาม เเละเปรียบเปรยว่า ราวของขวัญวันปีใหม่จากรัฐบาล

แต่ถึงกระนั้นก็ตามทีในวันที่ 26 ธ.ค. 61 มูลนิธิชีววิถี หรือ BIOTHAI ก็ได้ออกมาเปิดเผยผ่านเพจของมูลนิธิว่า จากการตรวจสอบพบว่า มีคำขอสิทธิบัตรเกี่ยวกับกัญชาจากบริษัทต่างชาติจำนวน 10 สิทธิบัตร ยังไม่ถูกยกเลิก

และหากปล่อยไว้ให้คาราซังอย่างนี้ เมื่อกฎหมายข้างต้นมีผลบังคับใช้ จะก่อให้เกิดอุปสรรคกับหน่วยงานของรัฐ เอกชน หรือ วิสาหกิจขนาดเล็กในประเทศไทย ในการค้นคว้าวิจัย และนำไปใช้ประโยขน์ เข้าข่ายเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทยาข้ามชาติ ส่งผลให้ผู้ป่วยต้องซื้อยาในราคาที่สูง โดยรายละเอียดของเนื้อหาทั้งหมดมีดังนี้

“พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฉบับแก้ไข เพื่อให้มีการใช้กัญชาเพื่อการแพทย์ซึ่งผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2561 แทนที่จะเป็น “ของขวัญปีใหม่แก่ประชาชน” แต่กลับกลายเป็น “ของขวัญวันคริสต์มาสแก่บริษัทยาข้ามชาติ” เสียมากกว่า เนื่องจากคำขอสิทธิบัตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจำนวน 10 สิทธิบัตร ยังไม่ถูกยกเลิกแต่ประการใด (โดยในจำนวนนั้นมี 3 สิทธิบัตรที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์แถลงเมื่อกลางเดือนพฤศจิกายนว่า ได้ปฏิเสธรับจดสิทธิบัตรแล้ว)

“คำขอสิทธิบัตรที่ไม่ยกเลิกจำนวน 10 สิทธิบัตรนั้นครอบคลุมการรักษาโรคกว้างขวาง ทั้งรักษาโรคมะเร็ง โรคจิตประสาท ลมชัก และการใช้สำหรับระงับปวด เป็นต้น โดยบริษัทที่ยื่นขอจดสิทธิบัตรมากที่สุดคือ บริษัทโอซึกะ / จีดับเบิลยู ฟาร์มา จำนวน 7 สิทธิบัตร บริษัทยูโรเซลติเกอ 2 สิทธิบัตร และบริษัทโซลเวย์ ฟาร์มาซูติคอล 1 สิทธิบัตร

“โดยสถานะของคำขอสิทธิบัตรนั้น อยู่ในชั้นแก้ไขคำขอ 1 คำขอ ประกาศโฆษณาแล้ว 5 คำขอ ยื่นให้มีการตรวจสอบการประดิษฐ์ 2 คำขอ และระบุว่า “อยู่ระหว่างจัดทำเอกสารตอบรับและจัดส่งเอกสาร” จำนวน 2 คำขอ

“จากการวิเคราะห์ของไบโอไทย และเครือข่ายนักวิชาการด้านเภสัชศาสตร์พบว่าทั้ง 10 คำขอสิทธิบัตรนั้น เป็นคำขอสิทธิบัตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น ขัดมาตรา 5 และมาตรา 9 ตามรายละเอียดในแผนภาพ

“หากรัฐบาล และกระทรวงพาณิชย์ ไม่กำกับดูแลและสั่งการให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาดำเนินการเกี่ยวกับคำขอสิทธิบัตรที่ไม่ชอบดังกล่าวแล้ว ในที่สุดแล้วจะเกิดความเสียหายต่อประเทศใน 3 เรื่องใหญ่ ดังนี้

“1) การปล่อยให้สถานะของคำขอสิทธิบัตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายคาราคาซังอยู่เช่นนี้ จะเป็นการปิดกั้นการวิจัยและพัฒนาขององค์การเภสัชกรรม มหาวิทยาลัยและหน่วยงานของรัฐ เอกชน หรือ วิสาหกิจขนาดเล็กในประเทศไทย

เพราะตามมาตรา 35 ใน พ.ร.บ.สิทธิบัตร ได้ให้การคุ้มครองชั่วคราวแก่ผู้ยื่นคำขอสิทธิบัตร (โดยสามารถยื่นหนังสือคัดค้านว่าการวิจัยดังกล่าวนั้นตนได้ยื่นขอสิทธิบัตรไว้แล้ว) โดยมีผลนับตั้งแต่วันที่ยื่นขอสิทธิบัตร อีกทั้งสามารถเรียกค่าเสียหายได้ หากคำขอสิทธิบัตรนั้นได้รับการจดทะเบียน

“2) หากสิทธิบัตรของต่างชาติดังกล่าวได้รับการจดทะเบียน บริษัทยาของต่างชาติจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการพัฒนายาจากกัญชา ทั้งจากการผลิต นำเข้า ส่งออก หรือจำหน่ายยาจากกัญชาในประเทศไทย แทนที่จะเป็นประชาชนในประเทศ ซึ่งได้เคยพัฒนาและใช้ประโยชน์จากกัญชาเป็นยารักษาโรคมาอย่างยาวนาน

“3) ประชาชนและผู้ป่วยจากโรคพาร์กินสัน ลมชัก มะเร็ง เนื้องอก โรคเกี่ยวกับจิตประสาท อาการปวดจากโรคต่างๆ และอื่นๆ จะต้องซื้อยาในราคาแพง ซึ่งเป็นผลมาจากการผูกขาดตลาด และอุปสรรคในการวิจัย ซึ่งเกิดจากการเพิกเฉยของกรมทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าว”

https://www.facebook.com/biothai.net/posts/2091070047598172

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สนช.ผ่านร่าง พ.ร.บ.ยาเสพติด ให้ใช้ กัญชา กระท่อม เพื่อทางการแพทย์

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า