SHARE

คัดลอกแล้ว

ทำความรู้จัก “ไพรมารีโหวต” ที่พรรคการเมืองทำแล้วประชาชนจะได้อะไรจากการที่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 กำหนดให้พรรคการเมืองทุกพรรคต้องทำการเลือกตั้งเบื้องต้น เพื่อให้ได้ตัวแทนไปลงสมัคร ส.ส. ที่มาจากประชาชนอย่างแท้จริง

แม้คำสั่ง คสช.ที่13/2561 ยกเลิกการทำ “ไพรมารีโหวต” ในการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นตามเป้าหมาย วันที่ 24 ก.พ. 2562 ให้มีคณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง จำนวน 11 คน ในการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง พร้อมกำหนดให้ คณะกรรมการสรรหา รับฟังความคิดเห็นของ หัวหน้าสาขาพรรคการเมือง ตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดและสมาชิกด้วย

โดยวันที่ 22 พ.ย. นี้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เตรียมเชิญพรรคการเมืองมาประชุมหารือเกี่ยวกับการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง และการรับฟังความคิดเห็นของพรรคการเมืองต่อร่างพระราชบัญญัติการหาเสียงอิเล็กทรอนิกส์ที่สำนักงานฯ ยกร่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว เหลือเพียงแต่ให้คณะกรรมการ กกต. พิจารณา ค่าใช้จ่ายในการหาเสียงเลือกตั้ง การติดป้ายหาเสียงของพรรคการเมืองแต่ละเขต ว่าจะยังมีอยู่หรือไม่

ไพรมารีโหวต คือ การเลือกตั้งเบื้องต้น ที่กำหนดไว้บังคับให้พรรคการเมือง ต้องใช้การทำไพรมารีโหวต เพื่อ “เลือกผู้สมัครรับเลือกตั้ง” หรือตัวแทนของพรรคจากอดีตใครจะได้ลงสมัคร ส.ส.เขต หรือ ส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองใด ขึ้นอยู่กับผู้มีอิทธิพลในพรรค

วิธีการทำ “ไพรมารีโหวต”

  • ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง

-กรรมการสรรหา ประกาศให้มีการสมัครให้สาขาพรรคการเมือง หรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด จัดประชุมเพื่อลงคะแนนเลือกตั้งเบื้องต้น

-สาขาพรรค ต้องมีผู้มาประชุมไม่น้อยกว่า 100 คน

-ตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด ต้องมีผู้มาประชุมไม่น้อยกว่า 50 คน

-เพื่อคัดเลือกว่าใครเหมาะสมที่จะเป็นตัวแทนไปเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง

-จากนั้นส่งรายชื่อ ลำดับ 1 และ 2 มาที่กรรมการสรรหา / กรรมการสรรหาส่งให้กรรมการบริหารพรรคเป็นผู้เลือก

-ถ้าไม่เลือกคนที่ได้ลำดับ 1 กรรมการบริหารพรรคต้องชี้แจงเหตุผล

-หากไม่เลือกทั้งสองคน ต้องประชุมร่วมกับกรรมการสรรหา แต่หากไม่เห็นด้วยให้กลับไปเริ่มกระบวนการใหม่

  • ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ

-กรรมการสรรหา ประกาศรับสมัคร ตรวจสอบและจัดทำบัญชี ไม่เกิน 150 คน จากนั้นส่งรายชื่อให้ สาขาพรรค และ ตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด ลงคะแนนเลือก ลงคะแนนได้คนละ 50 ชื่อ

-จากนั้นประกาศคะแนนและส่งกลับมาห้กรรมการสรรหา จัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยเรียงลำดับตามผลรวมของคะแนน โดยให้หัวหน้าพรรค เป็นผู้สมัครบัญชีรายชื่ออันดับหนึ่ง เสร็จแล้วส่งให้กรรมการบริหารพรรคเห็นชอบ เพื่อประกาศเป็นผู้สมัคร แต่หากไม่เห็นชอบให้เริ่มกระบวนการใหม่

“ข้อดี” ระบบสรรหาแบบไพรมารี่โหวต คือ การทำให้พรรคการเมือง หลุดจากบุคคลที่มีอิทธิพลภายในพรรค หรือพวกนายทุน มาเป็นให้อำนาจประชาชนคัดเลือกผู้สมัคร

“ข้อเสีย” โอกาสที่พรรคเล็ก จะหาคนไปลงสมัครเลือกตั้งให้ครบทุกพื้นที่มีโอกาสน้อยกว่า

ระบบไพรมารีโหวต นั้นมีเจตนาให้อำนาจประชาชนเลือก “ตัวแทน” ตั้งแต่ต้นทาง ในรัฐธรรมนูญปี 60 กำหนดให้ทุกพรรคการเมืองต้องทำไพรมารีโหวต แต่เนื่องจาก การเลือกตั้งทั่วไปที่จะเกิดขึ้นในปี 2562 ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา และความพร้อมต่างๆ คสช. จึงคลายล็อกจุดนี้ให้พรรคการเมือง คงการทำไพรมารีโหวต ในส่วนของการรับฟังความคิดเห็นจาก สาขาพรรค และตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด แต่หาก ไพรมารีโหวตเต็มรูปแบบ ประชาชนที่เป็นสมาชิกพรรคจะเลือกได้เองว่า จะส่งใครลงสมัครในเขตใด บัญชีใด

ซึ่งพรรคการเมืองใหม่หลายพรรค เช่น พรรครวมพลังประชาชาติไทย (รปช.)  พรรคอนาคตใหม่ อาจทำไพรมารีโหวตเต็มรูปแบบ เพื่อสร้างความแตกต่างในการเลือกตัวแทนของประชาชน!!

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า