SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ- ตัวแทนเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางระดับประเทศ โต้ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวหามีไอ้โม่งอยู่เบื้องหลังการออกมาเรียกร้องกดดันให้บริษัทร่วมทุนยกเลิกการประมูลยางในตลาดกลาง เพราะทำระบบกลไกตลาดกลางพัง พร้อมเรียกร้องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับผิดชอบความล้มเหลวของโครงการจัดตั้งบริษัทร่วมทุน ทำชาวสวนยางเดือดร้อนหนัก

วันนี้ 4 พ.ย. 60 ที่ชุมนุมสหกรณ์จังหวัดตรัง จำกัด สหกรณ์รับซื้อน้ำยางและผลิตยางแผ่นรมควันในสังกัดการยางแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นสมาชิกของชุมนุมสหกรณ์ฯ ได้ทยอยนำยางพารามาขายให้กับชุมนุมสหกรณ์ บางส่วนก็ขายตามปกติ แต่บางส่วนนำมาขายเนื่องจากได้รับความเดือดร้อนจากความผันผวนของราคายางในตลาดกลางยางพาราสงขลา ซึ่งเป็นตลาดอ้างอิงราคาที่สำคัญ

เนื่องจากในระยะที่ผ่านมา บริษัท ร่วมทุนยางพาราไทย จำกัด เข้าประมูลยางในตลาดกลาง แต่ตั้งราคาสูงเกินจริง ทำให้บริษัท 5 เสือไม่รับซื้อยางดังกล่าวเพราะสูงเกินจริง ทำยางล้นตลาดกลาง ระบายออกไม่ได้ จนนำสู่การปิดตลาดกลาง

หรือบางวันเข้าประมูลแต่ไม่ครบทุกตลาด เป็นการทำลายระบบกลไกตลาดกลาง ขาดคู่แข่ง ทำการประมูลล่ม ขาดราคากลางอ้างอิงในตลาดรับซื้อยางที่มีมาตรฐาน เปิดช่องบริษัทยางรายใหญ่ กดดันราคาให้ตกต่ำอย่างต่อเนื่อง จนนำสู่การเรียกร้องกดดันให้บริษัท ร่วมทุนยางพาราไทย จำกัด ซึ่งมีนายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท ร่วมทุนยางพาราไทย จำกัด ด้วยยกเลิกการเข้าประมูลยางในตลาดกลางเป็นการชั่วคราว

พร้อมรับปากจะระบายยางในตลาดกลางออกให้หมดภายใน 1 สัปดาห์ จนทำให้การซื้อขายยางในตลาดกลางเข้าสู่ภาวะปกติ ราคาเป็นไปตามความจริง

ทั้งนี้ นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ในฐานะกรรมการผู้จัดการ บริษัท ร่วมทุนยางพาราไทย จำกัด ยังได้มีการกล่าวหาว่า การเคลื่อนไหวกดดันของเครือข่ายสถาบันเกษตรกรฯ และชาวสวนยาง มีไอ้โม่ง ซึ่งเสียผลประโยชน์ประมูลยางแข่งไม่ได้อยู่เบื้องหลัง

นายถนอมเกียรติ ยิ่งฉ้วน ที่ปรึกษาประธานเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางระดับประเทศ กล่าวว่า ตามที่ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทยได้เรียกประชุมบริษัท 5 เสือการยาง ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนร่วมทุนกับ กยท.และได้แถลงข่าวออกมาว่า มีไอ้โม่งอยู่เบื้องหลัง เป็นผู้สั่งให้เครือข่ายและชาวสวนยางออกมาเคลื่อนไหวให้ บริษัท ร่วมทุน หยุดการเข้าไปประมูลยางในตลาดกลาง ถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่เป็นความจริงและบิดเบือนข้อเท็จจริง แต่การดำเนินการของบริษัท ร่วมทุนได้สร้างความเสียหายต่อระบบกลไกของตลาดอย่างหนัก เพราะตั้งราคาสูงเกินจริง

โดยบริษัท ร่วมทุน หรือ กยท.เอง ก็ขายยางให้แก่ 5 เสือ บริษัทดังกล่าวไม่ได้ ทำยางล้นตลาดกลาง เพราะไม่มีที่ระบายยาง ทำตลาดกลางล่ม ประมูลต่อไปไม่ได้ ขาดราคากลางในการอ้างอิงซื้อขายยาง ทั้งหมดเกิดจากการบริหารที่ผิดพลาดล้มเหลวของบริษัท ร่วมทุน และล่าสุดได้ยกเลิกการเข้าประมูลยางในตลาดกลางเป็นการชั่วคราวแล้วตั้งแต่เมื่อวานนี้ (3 พ.ย. 60) ตามที่ชาวสวนเรียกร้อง

และจะเร่งระบายยางที่ขายไม่ออกให้แล้วเสร็จภายใน 1 สัปดาห์ ก็ทำให้ราคายางเป็นไปตามความเป็นจริง และตกต่ำคงเดิม โดยราคายางแผ่นรมควันเหลือประมาณกิโลกรัมละ 45 บาท

ส่วนน้ำยางสด เกษตรกรขายได้ประมาณ 38 – 39 บาท ซึ่งชี้ชัดว่าก่อนหน้านี้แม่บริษัท ร่วมทุนจะเข้ามาประมูลในราคาชี้นำที่สูงกว่าราคาทั่วไปประมาณ 4 บาทต่อ กก. ก็ไม่ได้ทำให้ราคายางดีขึ้นแต่อย่างใด

และหลังจากนี้หากบริษัท ร่วมทุนจะเข้ามาประมูลยางอีกครั้ง ทางเครือข่ายจะติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะเกรงจะมีการนำยางที่ระบายไม่ได้ไปเวียนเทียนขายในตลาดกลางอีกระลอก และขอให้ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องคือ จะต้องเข้าประมูลซื้อทุกตลาด โดยซื้อในราคาที่ไม่สูงหรือต่ำกว่าราคากลางเกินกว่า 2 บาทต่อ กก., ให้มีการกำหนดราคากลางที่สะท้อนความเป็นจริงตามกลไกของตลาด และให้ตลาดยางพารา การยางแห่งประเทศไทย ยึดถือและปฏิบัติตามระเบียบการยางแห่งประเทศไทย ว่าด้วยตลาดยางพารา ตาม พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2560 อย่างเคร่งครัด

ซึ่งหลังจากนี้ทางเครือข่ายฯ และชาวสวนยางจะติดตามการบริหารงานของ บริษัท ร่วมทุน อย่างใกล้ชิด หากดำเนินการอย่างเคยกระทำเหมือนในครั้งที่ผ่านมา ก็พร้อมจะยกระดับการเรียกร้อง

ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้น นอกจากผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ซึ่งรับผิดชอบกำกับดูแล บริษัท ร่วมทุน และ กยท.จะต้องรับผิดชอบแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก็จะต้องรับผิดชอบด้วย เพราะบริษัทร่วมทุนเกิดจากนโยบายของรัฐมนตรี ส่วนที่ผู้ว่าการฯ ยืนยันว่า การดำเนินงานของบริษัทร่วมทุนที่เข้ามาประมูลยางในตลาดกลางนั้น ซื้อในราคาชี้นำ ชาวสวนยางได้ประโยชน์ ทำให้ราคายางดีขึ้น

ตนมองว่าที่ผู้ว่าการ กยท.ให้ข่าวนั้น แค่พูดไปตามหลักการก่อตั้งบริษัทเท่านั้น แต่ผลการปฏิบัติจริง ในฐานะเกษตรกร อยากถามว่าที่ซื้อชี้นำนั้น ประโยชน์เกิดกับใคร ถึงมือเกษตรกรจริงหรือไม่

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า