SHARE

คัดลอกแล้ว

สมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทย เสนอ รพ.ทุกแห่งจ่ายยาต้านไวรัสเอชไอวี 4 เดือน ดูแลผู้ติดเชื้อช่วงโรคโควิด-19 แพร่ระบาด ไม่ต้องแออัดรอรับยา มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ร่วมสนับสนุน

วันที่ 17 มีนาคม ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม นายกสมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันด้วยสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ของประเทศไทยกำลังเข้าสู่การแพร่ในระยะที่ 3 เพื่อลดความเสี่ยงในการรับเชื้อไวรัสนี้และควบคุมการแพร่ระบาดไม่ให้ขยายเป็นวงกว้างยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วย รวมถึงผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ที่ต้องเข้ารับยาต้านไวรัสเอชไอวีที่โรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง สมาคมโรคเอสด์ฯ จึงมีความเห็นว่า เพื่อเป็นการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี ขอความร่วมมือโรงพยาบาลทุกแห่งและแพทย์ผู้ให้การรักษาและดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี ทั้งสิทธิรักษาพยาบาลสวัสดิการข้าราชการ ประกันสังคม และหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) รวมถึงสิทธิการรักษาพยาบาลในระบบอื่น ๆ จ่ายยาต้านไวรัสเอชไอวีให้กับผู้ติดเชื้อที่มีอาการคงที่ เพียงพออย่างน้อย 4 เดือน เพื่อไม่ให้ผู้ติดเชื้อต้องมาที่โรงพยาบาลในช่วงนี้ และจากการประสานข้อมูลกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ยืนยันว่ามียาต้านไวรัสสำรองเพียงพอในการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี รวมถึงกรณีหากจำเป็นเพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อโควิด-19

ทั้งนี้ สมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทยขอให้กำลังใจเหล่าบุคลากรทางการแพทย์ที่รับศึกหนักในการป้องกันการแพร่ระบาดและดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ขอให้ระมัดระวังในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อไม่ให้ติดเชื้อ เพราะทุกคนถือเป็นกำลังสำคัญในการร่วมปกป้องคนไทยเพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 ได้

นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า โควิด-19 เป็นวิกฤตสุขภาพที่ทุกคนเผชิญร่วมกัน ขณะนี้สถานการณ์ได้เริ่มเข้าสู่การแพร่ระบาดระยะที่ 3 เริ่มพบผู้ติดเชื้อในแต่ละวันเพิ่มมากขึ้น จำเป็นที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีความบกพร่องด้านภูมิคุ้มกันต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดูแล โดยเฉพาะการกินยาต้านไวรัสที่ต้องเคร่งครัดและตรงเวลา และหลีกเลี่ยงไปยังพื้นที่เสี่ยงต่อการรับเชื้อ เช่น แหล่งชุมชนต่างๆ เป็นต้น และขอสนับสนุนแนวทางที่ให้โรงพยาบาลทุกแห่งจ่ายยาต้านไวรัสให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีอย่างน้อย 4 เดือน เพื่อให้ผู้ติดเชื้อไม่ต้องเข้าไปรอรับยาแออัดที่โรงพยาบาลในช่วงนี้ เพื่อลดความเสี่ยงรับเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้กับผู้ติดเชื้อเอชไอวี หากมีข้อสงสัยในเรื่องการกินยาต้านไวรัสและการปฏิบัติตัวในการดูแลตนเองช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาด สามารถโทร 1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม เพื่อขอรับคำปรึกษาได้

ด้าน นพ.รัฐพล เตรียมวิชานนท์ ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า สปสช.ได้ทำการสำรวจปริมาณยาต้านไวรัสเอชไอวีในระบบจัดเก็บขององค์การเภสัชกรรม (อภ.) ที่ได้สำรองไว้ ยืนยันว่ายังมีปริมาณเพียงพอและสามารถที่จะสนับสนุนโรงพยาบาลในการจ่ายยาต้านไวรัสให้ผู้ติดเชื้ออาการคงที่ มียากินต่อเนื่องเป็นเวลา 4 เดือนได้ โดย สปสช.มีระบบ NAP (National AIDS Program) ในการติดตาม ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงให้กับผู้ติดเชื้อไม่ต้องมาที่โรงพยาบาลในระยะนี้ นอกจากนี้หากโรงพยาบาลใดมีนวัตกรรมอื่นในการจ่ายยาให้กับผู้ติดเชื้อเพื่อไม่ต้องมารอแออัดที่ห้องยาโรงพยาบาลก็สามารถดำเนินการได้ เพราะนอกจากเป็นการดูแลผู้ติดเชื้อแล้ว ยังช่วยลดภาระแพทย์และพยาบาลในการจัดการภาวะการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ด้วย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า