SHARE

คัดลอกแล้ว

สทนช.ถกหน่วยเกี่ยวข้อง-นักวิชาการบูรณาการข้อมูล พร้อมหาทางแก้ไขน้ำท่วมลุ่มน้ำชี-มูลตอนล่างอย่างยั่งยืน ชี้ล่าสุดเคาะยอดน้ำคงเหลือ จ.อุบลฯ หลังระดมงัดแผนจัดการน้ำส่งผลปริมาณน้ำค้างลดเหลือ 940 ล้าน ลบ.ม. คาดสิ้นเดือน ก.ย.ระดับน้ำสถานี M.7 อ.วารินชำราบ ลดเท่าระดับตลิ่ง

วันที่ 19 ก.ย.2562 กรมชลประทาน สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ จิสด้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ หารือร่วมกันถึงสถานการณ์น้ำท่วมและวิเคราะห์แนวโน้มผลกระทบจากการเกิดน้ำท่วมในจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อให้เกิดการแก้ไขอย่างยั่งยืนและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการ สทนช. เปิดเผยว่า ตามที่ร่วมกันพิจารณาและประเมินสถานการณ์ในลำน้ำมูลตอนล่างจากทุกหน่วยงานเกี่ยวข้องมีความสอดคล้องตรงกัน คือ ระดับน้ำมีทิศทางที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการประเมินสถานการณ์ล่าสุด พบว่า มวลน้ำที่คงค้างในพื้นที่ในตอนบนของลุ่มน้ำชี และมูล ส่วนใหญ่ใน จ. อุบลราชธานี ศรีษะเกษ ยโสธร ร้อยเอ็ด จ.อุบลราชธานี อยู่ที่ประมาณ 900 – 1,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะส่งผลทำให้ระดับน้ำที่สถานี M.7 อ.วารินชำราบ จะใช้เวลาประมาณ 11 – 18 วัน จะลดลงใกล้เคียงหรือเทียบเท่าระดับตลิ่ง ซึ่งหมายความว่าสถานการณ์ผลกระทบน้ำท่วมในพื้นที่ อ.วารินชำราบ และอ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี โดยส่วนใหญ่ก็น่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

สถานการณ์น้ำแม่น้ำมูลในสถานีวัดน้ำหลักของแม่น้ำมูลล่าสุด เมื่อเวลา 06.00 น.และแนวโน้มคาดการณ์ ดังนี้
1. สถานี M.182 อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ ระดับน้ำ 10.39 ม. ต่ำกว่าตลิ่ง 0.21 เมตร แนวโน้มลดลงวันละ 5-10 เซนติเมตร
2. สถานี M.176 อ.กันทรารมย์ จ.อุบล ระดับน้ำ 7.07 ม. ต่ำกว่าตลิ่ง 2.13 เมตร แนวโน้มลดลง 15-20 เซนติเมตร/วัน
3. สถานี E98 อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี ระดับน้ำ 11.28 ม. สูงกว่าตลิ่ง 1.28 เมตร แนวโน้มลดลง 10-15 เซนติเมตร/วัน
4. สถานี M.7 อ.วารินชำราบ จ. อุบลฯ ระดับน้ำ 10.24 ม. สูงกว่าตลิ่ง 3.24 เมตร อัตราการไหล 4,170 ลบ.ม.ต่อวินาที แนวโน้มลดลง 15-20 เซนติเมตร/วัน
5. สถานี โขงเจียม ต่ำกว่าตลิ่ง 4.49 เมตร และเมื่อเทียบระดับแม่น้ำโขงกับระดับน้ำ อ.เมืองอุบลฯ ต่ำกว่าประมาณ 16 เมตร

สำหรับมาตรการบริหารจัดการน้ำ และการเร่งระบายน้ำ ขณะนี้แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ
1. ระยะเร่งด่วน โดยการควบคุมปริมาณการไหลของน้ำโดยใช้เขื่อนในลำน้ำชี และมูล เพื่อหน่วงน้ำ ชะลอน้ำ และลดการระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดใหญ่ ทั้งในลุ่มน้ำชีและมูล เพื่อลดปริมาณน้ำหลาก
2. ระยะสั้น จัดหาแก้มลิง และทุ่งรับน้ำหลากบริเวณสองฝั่งลำน้ำชี และลำน้ำยัง ในลักษณะรูปแบบ “บางระกำโมเดล“
3. ระยะกลาง โครงการขุดลอกคลองเชื่อมต่อแนว ตะวันตก – ออก เพื่อดึงน้ำออกจากลำน้ำชี – ยัง และโครงการผันน้ำชีลงแก้มลิง เพื่อหน่วงน้ำและลดน้ำหลากบริเวณลุ่มน้ำชี
4. ระยะยาว โครงการศึกษาผันน้ำชี ลงแม่น้ำโขง เพื่อศึกษาแนวทางเลือกผันน้ำเลี่ยง อ.เมืองอุบลราชธานี เพื่อลดอุทกภัย ณ จุดบรรจบแม่น้ำชี -มูล อ.เมือง และ อ.วารินชำราบ
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีการหารือสาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้เกิดอุทกภัยบริเวณกว้างใน จ.อุบลราชธานี เนื่องจากพื้นที่ลุ่มน้ำ แก้มลิงธรรมชาติตื้นเขิน การสร้างพนังคันกั้นน้ำ บุกรุกทางน้ำ และสิ่งกีดขวางทางน้ำ ซึ่งเป็นอุปสรรคการไหลของน้ำ ประกอบกับอิทธิพลของพายุคาจิกิส่งผลให้มีฝนตกหนักบริเวณ จ.ยโสธร และจ.อุบลราชธานี ทำให้ปริมาณน้ำในลำเซบก และลำโดมใหญ่ที่ไหลลงแม่น้ำมูลมีปริมาณเพิ่มขึ้น รวมถึงด้านท้าย อ.เมือง ปริมาณน้ำเพิ่มสูงรวดเร็วเฉลี่ยวันละ 75 เซนติเมตร ภายใน 2 วัน น้ำถึงตลิ่ง เมื่อเทียบกับระดับน้ำในช่วงเดียวกันเมื่อปีที่ผ่านมา

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสถิติข้อมูลเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม การคาดการณ์เป็นไปยากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม สทนช.จะบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาหลักเกณฑ์ทางวิชาการในการคาดการณ์ และประเมินสถานการณ์ภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ เพื่อนำไปสู่การหามาตรการเชิงป้องกันและลดผลกระทบ รวมถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาเพิ่มเติมในอนาคตทั้งระยะเร่งด่วน และระยะยาว โดย สทนช.จะเร่งดำเนินการทำแผนหลักแก้ไขปัญหาระยะยาวตามที่หลายฝ่ายได้เสนอแนะ ในปี 2563 เพื่อบรรจุในแผนปฏิบัติการเสนอกรรมการลุ่มน้ำ และคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) โดยเร่งด่วนต่อไป

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า