SHARE

คัดลอกแล้ว

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ถูกวางเป็นบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย อันดับ 1 แม้จะไม่มีประสบการณ์ทางการเมือง

เส้นทางของนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งครั้งหลังสุด ย้อนกลับไปในปี 2554 ในการเลือกตั้งทั่วไป 3 ก.ค. แม้ผลการเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทย จะได้ ส.ส. ชนะ พรรคประชาธิปัตย์ ขาดลอย 265-159 คน และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปาร์ตี้ลิสต์ ลำดับที่ 1 ของเพื่อไทย กลายเป็นว่าที่นายกรัฐมนตรีสุภาพสตรีคนแรกของประเทศไทย

แต่กว่าที่จะเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการก็ยังมีช่วงเวลาที่ต้องลุ้นอยู่บ้าง เพราะในการประกาศรับรองผลของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุดนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ในล็อตแรกเมื่อวันที่ 12 ก.ค. จำนวน 358 คน เป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 109 คน และส.ส.แบบแบ่งเขต 249 คน ไม่มีชื่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ อยู่ด้วย เพราะถูกร้องเรียนว่าให้ผู้ถูกเพิกถอนสิทธิ์ทางการเมือง คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร (ยศในขณะนั้น) เข้ามาก้าวก่าย จากกรณีที่พรรคเพื่อไทยชูสโลแกน “ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ”

(ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ก็ไม่มีชื่อในการรับรองครั้งแรกเช่นกัน เพราะถูกร้องว่าใช้อำนาจในฐานะนายกรัฐมนตรีรักษาการสั่งการเจ้าหน้าที่รัฐจัดงานนำสินค้าราคาต่ำเกินจริงไปจำหน่าย ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเลือกตั้งล่วงหน้าที่ จ.สมุทรปราการ ใช้บุคคลอื่นที่เป็นใต้บังคับบัญชาซื้อเสียงแทน และใช้อิทธิพลข่มขู่)

แต่อีก 7 วันให้หลัง 19 ก.ค. 2554 กกต. ก็ประกาศรับรองทั้ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ และนายอภิสิทธิ์ เป็นการสยบข่าวที่ว่าจะมีการล้มการเลือกตั้ง

1 ส.ค.2554 มีพระราชกฤษฎีการเรียกประชุมรัฐสภา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จฯ แทนพระองค์ปฏิบัติพระราชกรณียกิจในรัฐพิธีเปิดการประชุมรัฐสภาอย่างเป็นทางการ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ร่วมโหวตเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร

สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์

2 ส.ค. 2554 มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่รัฐสภา นัดแรก เพื่อเลือกประธานและรองสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งได้คนของเพื่อไทยทั้งหมด คือ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ส.ส.ขอนแก่น วัย 57 ปี เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร และมีนายเจริญ จรรย์โกมล ส.ส.ชัยภูมิ วัย 51 ปี กับ นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ ส.ส.พะเยา วัย 53 ปี เป็นรองประธาน โดยพรรคฝ่ายค้านไม่ได้เสนอชื่อใครเข้าแข่ง

5 ส.ค. 2554 นายสมศักดิ์ ในฐานะประธานสภาผู้แทนราษฎร นัดหมายให้มีการลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรี

นายเสนาะ เทียนทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย เสนอชื่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ แต่เล่นเอาฮากันทั้งสภา เพราะ “ป๋าเหนาะ” เผลอไปพูดว่าเสนอให้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

“ผมขอเสนอ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 1 ของพรรคเพื่อไทย ขึ้นมาดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เอ้ย…รัฐมนตรี…นายกรัฐมนตรี ของประเทศไทย และเป็นสุภาพสตรีคนแรกที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี”

หลังมีผู้ให้การรับรองญัตติตามขั้นตอน และสอบถามแล้วไม่มีใครเสนอชื่ออื่นขึ้นประกบ ประธานสภาฯ จึงได้ให้ นายพิทูร พุ่มหิรัญ ขานชื่อ ส.ส.ทั้ง 500 คนทีละคนตามตัวอักษร

หากผู้ใดเห็นชอบญัตติเสนอให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ให้ขาน “เห็นชอบ” ถ้าไม่เห็นด้วยให้ขาน “ไม่เห็นชอบ” หรือใช้สิทธิ์ขาน “งดออกเสียง”

ใช้เวลาประมาณ 40 นาที ขานชื่อครบ ทั้ง 500 คน กรรมการที่มาจากตัวแทน ส.ส. 6 คน ส่งผลให้ประธาน ปรากฏว่า เห็นชอบ 296 เสียง ไม่เห็นชอบ 3 เสียง และ งดออกเสียง 197 เสียง จาก ส.ส. 497 คนที่เข้าร่วมประชุม

โดยคะแนนเห็นชอบ มาจากพรรคเพื่อไทย 261 เสียง, ชาติไทยพัฒนา 19 เสียง, ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 7 เสียง, พลังชล 7 เสียง, มหาชน 1 เสียง และ ประชาธิปไตยใหม่ 1 เสียง

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ วันโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี

ส่วนคะแนนเสียงไม่เห็นชอบ 3 เสียง มาจาก 3 ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ คือ นายวัชระ เพชรทอง, นายบุญยอด สุขถิ่นไทย และนายอรรถพร พลบุตร

งดออกเสียง 197 เสียง นอกจาก ส.ส. พรรคฝ่ายค้านที่เหลือแล้ว ยังมีอีก 4 เสียงคือ 3 เสียงจากประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งตัว น.ส.ยิ่งลักษณ์เอง

ส่วนอีก 1 เสียงที่หายไป คือ นายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ ที่มาลงชื่อแล้วออกไปนอกห้องและกลับมาลงมติไม่ทัน


น.ส.ยิ่งลักษณ์ จึงได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 ของไทย

ขั้นตอนจากนั้น 10 ส.ค. น.ส.ยิ่งลักษณ์ นำคณะรัฐมนตรีเข้าเฝ้าฯ เพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณตน ณ ห้องประชุม ชั้น 14 อาคารเฉลิมพระเกียรติโรงพยาบาลศิริราช

และแถลงนโยบายต่อรัฐสภา 23-24 ส.ค. 2554

กระทรวงการต่างประเทศ

สำหรับขั้นตอนในปี 2562 นี้ จะมีรัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภา วันศุกร์ที่ 24 พ.ค. เวลา 15.00 น. ณ ห้องประชุมวิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร จากนั้นวันเดียวกัน เวลา 17.30 น. จะมีการประชุมวุฒิสภา เพื่อเลือกประธานและรองประธานวุฒิสภา ณ หอประชุมใหญ่ อาคาร 9 ชั้น 2 บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ถนนแจ้งวัฒนะ

วันเสาร์ที่ 25 พ.ค. จะมีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร

ส่วนวันที่สมาชิกทั้ง 2 สภา รวม 750 คนจะร่วมเลือกนายกรัฐมนตรี (ตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ) จะมีการกำหนดหลังมีพระบรมราชโอการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งประธานสภาแล้ว เบื้องต้นน่าจะเป็นวันที่ 30 พ.ค.

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า