SHARE

คัดลอกแล้ว

ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ยอมรับ ประเทศไทย จองวัคซีนช้ากว่าประเทศอื่น คาด ‘แอสตร้าเซนเนก้า’ เดือน ก.ค. ได้ไม่ถึง 10 ล้านโดส ต้องจัดหาวัคซีนยี่ห้ออื่นมาช่วยเสริม

วันที่ 2 ก.ค. 2564 นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ระบุถึงการจัดหาวัคซีนโควิด-19 ว่า มีด้วยกัน 2 ส่วน คือ การวางแผนจัดหาวัคซีน และการขยายศักยภาพการฉีดวัคซีน ซึ่งทั้ง 2 ส่วนยังคงทำได้ต่อเนื่อง แต่ติดปัญหาการส่งมอบวัคซีน แม้ว่าวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าจะผลิตในประเทศไทย แต่มีความจำเป็นต้องส่งออกไปประเทศอื่นที่มีการจองวัคซีน แอสตร้าเซนเนก้า ที่ผลิตในประเทศไทยเช่นกัน

ขณะเดียวกัน ได้มีการวางแผนกับ แอสตราเซนเนก้า เรื่องการส่งมอบวัคซีน ทางกรมควบคุมโรค ได้ส่งแผนไปที่แอสตราเซนเนก้า โดยพิจารณาจากกำลังการฉีดที่จะเพิ่มขึ้นหวังจะให้ได้ถึง 10 ล้านโดส ซึ่งหวังว่าจะได้รับการจัดสรรจากแอสตร้าเซนเนก้า แต่เมื่อไปดูสถานการณ์จริง กำลังการผลิตที่สยามไบโอไซเอนท์ อยู่ที่ 180 ล้านโดสต่อปี เฉลี่ยอยู่ที่ 15 ล้านโดสต่อปี และในช่วงแรกของการผลิตวัคซีนกำลังการผลิตจะน้อยแล้วค่อยๆ ไต่ระดับสูงขึ้น

ทั้งนี้ จากการคาดการณ์วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เดือน ก.ค. และ ส.ค. นี้ คาดว่า จะผลิตวัคซีน 16 ล้านโดสต่อเดือน ซึ่งในจำนวนนี้ต้องส่งมอบให้ประเทศอื่นด้วย เพราะเป็นนโยบายของบริษัทฯ ที่ต้องการจัดสรรวัคซีนให้ทั่วถึง เพราะฉะนั้นการส่งมอบวัคซีนในเดือน ก.ค. นี้ ไทยจะได้ไม่ถึง 10 ล้านโดส ตามแผนการที่วางไว้ จากการพูดคุยกับรองประธานของแอสตร้าเซนเนก้า เขาจะส่งมอบให้เราได้ 5-6 ล้านโดสต่อเดือน ไม่ถึง 10 ล้านโดส ต้องจัดหาวัคซีนแหล่งอื่นมาเพิ่มให้ครบ 10 ล้าน ตามที่เราตั้งเป้า ซึ่งในสัญญาทั้ง 2 ฝ่ายเราก็ไม่ได้กำหนดเป็นเดือนแต่กำหนดภาพรวม 61 ล้านโดส ส่วนการจัดหาจากที่อื่นก็เป็นเรื่องยาก เพราะทุกที่ต้องการวัคซีนเหมือนกันหมด

อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุข ได้พยายามจัดหาวัคซีนจากแหล่งอื่น เพื่อให้การฉีดวัคซีนของไทยเป็นไปตามเป้า ซึ่งในไตรมาส 3 จะมีวัคซีนซิโนแวค และวัคซีนซิโนฟาร์ม เข้ามาเพิ่ม ส่วนในไตรมาส 4 จะมีวัคซีนแอสตร้าฯ เข้ามา 20 ล้านโดส

ส่วนที่มีข่าวว่ายังไม่ได้เซ็นสัญญากับไฟเซอร์ นพ.นคร กล่าว่า ตอนนี้ผ่านขั้นตอนจองอยู่ระหว่างทำสัญญากรมควบคุมโรคกำลังดำเนินการ วันนี้ (2 ก.ค.) ยังดูสัญญากันอยู่ เพราะสัญญาจัดซื้อวัคซีนช่วงนี้ผู้ซื้อเสียเปรียบจากข้อจำกัด จึงต้องปรึกษาหารือกับหน่วยงานกฎหมาย เช่น สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา รวมทั้ง ขอ ครม. ให้เรายอมเสียเปรียบได้ ส่วนการที่เพื่อนบ้านได้ตั้งแต่ ส.ค. เพราะเขาจองก่อน และต้องยอมรับว่าเราจองช้ากว่า เพราะกระบวนการต้องใช้เวลา

ทั้งนี้ เรายังมีการเจรจาแบบรัฐต่อรัฐ กระทรวงการต่างประเทศและสถาบันวัคซีนแห่งชาติ พยายามเจรจาในช่องทางทางการทูต มีทั้งวัคซีนของคิวบา ชนิดซับยูนิตโปรตีน ประสิทธิผลป้องกัน 92% ที่ค่อนข้างปลอดภัย ที่เขามีกำลังการผลิตได้มาก รวมทั้งเจรจา mRNA เจ้าอื่นๆ รวมถึง เคียวแวค ของเยอรมนี เราก็เจรจาก่อนที่เขาจะประกาศผล แต่จากผลที่ออกมาทำให้ต้องรอเขาพัฒนาต่อ

ส่วนการกระตุ้นภูมิเข็ม 3 นพ.นคร ระบุว่า โรงเรียนแพทย์กำลังทำการศึกษา ว่าจะเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันได้อย่างไร และมีความจำเป็นในการฉีดเข็มที่ 3 ให้กับคนไทยหรือไม่ โดยอาจจะให้กลุ่มเปราะบาง ที่อาจต้องได้รับวัคซีนเข็มที่ 3 ก่อน

ทั้งนี้ นพ.นคร ยอมรับว่า ประเทศไทยมีการจองวัคซีนช้ากว่าประเทศอื่น ประกอบกับการจองต้องใช้เวลา ทำให้เราได้รับวัคซีนช้ากว่าหลายประเทศ นอกจากนี้ประเทศไทย ได้มีการศึกษาการกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนชนิดเชื้อตายในเด็ก อายุระหว่าง 12-18 ปี ซึ่งตอนนี้ได้ทำการจองวัคซีนไฟเซอร์ ไปแล้ว 20 ล้านโดส  โดยจากข้อมูลการฉีดในเด็ก 12-17 ปี ทำให้หลายประเทศตื่นตัว เนื่องจากการศึกษา การฉีดวัคซีนไฟเซอร์ เข็มที่ 2 ในกลุ่มเด็ก ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเกิดในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง ซึ่งการนำวัคซีนไฟเซอร์มาฉีดให้เด็ก ประเทศไทยขอศึกษาเพิ่มเติมด้านความปลอดภัยก่อน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า