SHARE

คัดลอกแล้ว

สถานการณ์ภัยแล้งปีนี้มีแนวโน้มรุนแรงกว่าปีที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินภัยแล้ง ปี 2562 กระทบเศรษฐกิจเสียหาย 15,300 ล้านบาท นอกจากแล้งแล้ว สภาพอากาศที่แปรปรวน ทำให้ปลาในกระชังของเกษตรกร อุบลราชธานี น๊อกน้ำตาย มูลค่าความเสียหายนับล้านบาท

วันที่ 26 มี.ค.2562 เกษตรกรผู้เลี้ยงปลากระจังต้องขาดทุนอย่างหนัก หลังปลานิลที่เลี้ยงไว้น็อกน้ำตายเกือบหมดบ่อ ต้องช่วยกันตักขึ้นบนบก เพื่อนำไปแช่ในถังใส่น้ำแข็ง เเล้วจะนำไปขายราคาถูกให้กับประชาชนกิโลกรัมละ 30-40 บาท และ บางส่วนชำแหละทำเป็นปลาร้า ลดการขาดทุน

นางสายสมร เถ้าทุมมา เกษตรกร อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี บอกว่า ที่ปลาน็อคน้ำตายจำนวนมากครั้งนี้เนื่องจากเมื่อวานอากาศปิด และมีฝนตกลงมาต่อเนื่องนานหลายชั่วโมงทำให้ปลาที่เลี้ยงไว้และมีอายุใกล้เก็บเกี่ยวเริ่มมีอาการขาดออกซิเจน ในพื้นที่มีเกษตรกรได้รับความเสียหายแล้ว 4 ราย จากจำนวนผู้เลี้ยงปลาทั้งหมด 13 ราย คิดเป็นปริมาณปลานิลที่ตายครั้งนี้กว่า 20ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 1 ล้านบาท

ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า สภาพอากาศโดยเฉพาะภัยเเล้งอาจทำให้เกิดมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจกว่า 15,300 ล้านบาท หรือคิดเป็น 0.1% ของ จีดีพี หากรวมผลเสียหายของพืชเกษตรอื่นอาจทำให้มีมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจมากกว่าที่ประเมินไว้

ทั้งนี้ ภัยแล้งได้ส่งสัญญาณที่มาเร็วและยาวนานกว่าทุกปีซึ่งส่อเค้าถึงระดับน้ำในเขื่อนที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด ในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะกระทบต่อพืชเกษตรสำคัญที่กำลังเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูแล้งซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคดังกล่าว/ คือ ข้าวนาปรังซึ่งมีผลผลิตอยู่ในภาคกลางเป็นหลักถึง 47.8% และอ้อยซึ่งมีผลผลิตอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นหลักถึง 43.5%

ส่วนสินค้าเกษตรจะแพงขึ้นมั้ย ในเมื่อแล้งแบบนี้ /ศูนย์วิจัยกสิกรประเมินว่า อาจไม่ได้ทำให้ราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นมากนัก กระทบจำกัด กระทบพืชเกษตรเพียงไม่กี่รายการ เเนะนำเกษตรกรอาจต้องวางแผนการเพาะปลูกให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำอย่างเหมาะสมหรือเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ใช้น้ำน้อยทดแทนเพื่อเป็นรายได้เสริม

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า