SHARE

คัดลอกแล้ว

อย. หารือผู้ประกอบการผลิตอาหาร หาแนวทางลดหรือพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์ไม่ใช้ไขมันทรานส์ พร้อมสั่งคุมเข้มเรื่องสถานที่ผลิต นำเข้า และจัดจำหน่วย หากพบยังฝ่าฝืนจะดำเนินการตามกฎหมาย

วันที่ 22 ก.ค. 2561 นพ.วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) เปิดเผยว่าเพื่อสร้างความมั่นใจกับประชาชนเพื่อไม่ให้กระทบกับการเลือกบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อสุขภาพก่อให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด หลังกระทรวงสาธารณสุขประกาศห้ามใช้ไขมันทรานส์ในอาหาร ทาง อย. จะดำเนินการตรวจสอบเฝ้าระวังทั้ง สถานที่ผลิต สถานที่นำเข้า หรือสถานที่จำหน่ายส่วนประกอบของกรดไขมันทรานส์อย่างเข้มงวด โดยประกาศกระทรวงฯการห้ามใช้กรดไขมันทรานส์ จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 9 ม.ค. 2562 ซึ่งผู้ประกอบการจะมีเวลาจากนี้อีก 6 เดือน และก่อนหน้านี้ก็มีการขอความร่วมมือและมีหลายบริษัทเริ่มมีการปรับตัว แต่หลังจากนี้หากยังพบฝ่าฝืนจะดำเนินการตามกฎหมาย โดยจะเอาผิดทั้งผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้จำหน่าย มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน-2 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000-20,000 บาท

ทั้งนี้ อย.ได้หารือร่วมกับผู้ประกอบการไขมันและน้ำมัน และผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อหาแนวทางในการลดหรือพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์ ซึ่งไม่ใช้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน หรือ ไขมันทรานส์ ซึ่งผู้ผลิตน้ำมันและไขมันยืนยัน ถึงความเป็นไปได้ในการปรับสูตรและกระบวนการผลิตน้ำมันและไขมัน โดยใช้กระบวนการผสมน้ำมัน (Oil blending) แทน และผู้ผลิตอาหารได้พัฒนาและปรับปรุงสูตรส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์อาหาร โดยไม่ใช้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนแล้ว ดังนั้น จึงขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก เนื่องจากผลิตภัณฑ์อาหารที่จำหน่ายในปัจจุบันได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยปราศจากไขมันทรานส์ไปบ้างแล้ว

[ผลเสียต่อสมองและสุขภาพจิตของไขมันชนิดทรานส์ ]

นพ.เจษฎา ทองเถาว์ จิตแพทย์ประจำ รพ.พระศรีมหาโพธิ์ จ.อุบลราชธานี คลินิกเฉพาะทางจิตเวชศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความอธิบายถึงผลเสียต่อสมองและสุขภาพจิตของไขมันชนิดทรานส์ ผ่านเพจคลินิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎา ระบุข้อความว่า เมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก ประกาศแผนเรียกร้องให้รัฐบาลทั่วโลกห้ามการใช้ไขมันทรานส์ และล่าสุดกับประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่มีการบังคับไม่ให้ผู้ใดผลิต จำหน่าย และนำเข้ากรดไขมันทรานส์ โดยมีผลบังคับใช้อีก 180วัน เนื่องจากมีหลักฐานชัดเจนว่าไขมันทรานส์นั้นมีความเสี่ยงต่อการก่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (รวมทั้งผลเสียต่อสมองและจิตใจที่จะกล่าวถึงในบทความนี้อีกด้วย)

ไขมันชนิดทรานส์ (Trans Fatty Acid) มีคุณสมบัติเด่นคือ สามารถเก็บได้นาน แข็งโดยไม่ต้องแช่ตู้เย็น คงรูป ไม่เยิ้ม ไม่เหม็นหืนง่าย ทำขนมกรอบอร่อย และสามารถลดต้นทุนได้มากกว่าเนยสด จึงเป็นที่นิยมของโรงงานผลิตขนม และ ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป เราจะพบไขมันทรานส์ในอาหารหลากหลายชนิด ที่สำคัญก็คือ **อาหารที่มีส่วนประกอบจากเนยขาว (Shortening) หรือ เนยเทียม (มาการีน : Margarine)** ไม่ว่าจะเป็น ขนมอบทั้งหลาย คุ๊กกี้ แครกเกอร์ หน้าครีมของเค้กพาย แป้งพิซซ่า โดนัท เฟรนฟรายด์ ไก่ทอด นักเก็ต มันฝรั่งอบกรอบ ป๊อปคอร์น ขนมปัง ครีมเทียม (นอกจากนี้เราอาจพบไขมันทรานส์ได้ในน้ำมันที่ใช้ซ้ำ เนื้อวัว และนมวัว แต่จะพบในปริมาณที่ไม่ได้สูงมากนัก)

ผลเสียของไขมันทรานส์ต่อการทำงานของสมองและสุขภาพจิต มีงานวิจัยหลายฉบับที่พิสูจน์แล้วพบว่า ไขมันทรานส์มีผลรบกวนการทำงานของผนังเซลล์ประสาท ทำให้ความสามารถของการสื่อประสาทแย่ลง ทำให้ระบบการทำงานของสมองช้าลง และเมื่อกินติดต่อกันนานๆจะส่งผลให้เนื้อสมองเล็กลง โดยเชื่อว่าเกิดจากที่ไขมันทรานส์ไปทำลายเส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองทีละนิดๆ ส่งผลต่อกระบวนการทำงานของสมองโดยรวมทั้งในส่วนของความจำ การคิด การตัดสินใจ อารมณ์ ความรู้สึก จนอาจเกิดการถดถอยของพฤติกรรมการดำเนินชีวิต รวมทั้งเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติทางด้านจิตใจในด้านต่างๆ

(เอาเฉพาะที่มีงานวิจัยรองรับ) ได้แก่…
* ทำให้ความจำแย่ลงจนพัฒนาเป็นโรคสมองเสื่อม
* ทำให้อารมณ์ก้าวร้าวหงุดหงิดง่าย
* ทำให้เกิดภาวะวิตกกังวล ย้ำคิด หรือความคิดฟุ้งซ่าน
* ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า จนอาจพัฒนากลายเป็นโรคซึมเศร้า

https://www.facebook.com/D2JED/photos/a.322084591258114.1073741837.293539557445951/1352103944922835/?type=3

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
– WHO รณรงค์กำจัด ‘ไขมันทรานส์’ ทั่วโลก ภายใน 5 ปี
– สธ.ประกาศ ห้ามผลิต-นำเข้า-จำหน่าย “ไขมันทรานส์” มีผลบังคับใช้อีก 6 เดือน
– ไขมันทรานส์ คืออะไร ทำไมอันตราย

อ่านข่าวอื่นได้ที่
เว็บไซต์ : workpointnews.com
เฟซบุ๊ก: ข่าวเวิร์คพอยท์ ตลาดข่าว   
ยูทูบ: workpoint news   
ทวิตเตอร์: workpoint news   
อินสตาแกรม: workpointnews

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า