SHARE

คัดลอกแล้ว

ข้อหลวม เอ็นข้อหย่อน โรคทางพันธุกรรมที่พ่อแม่ควรรู้ เพจ Drama-addict โพสต์เตือนผู้ปกครอง เห็นเด็กเดินแปลกช่วงหัดเดิน อาจเป็นโรค ‘เอ็นข้อหย่อน’ พร้อมแชร์ประสบการณ์จากผู้ปกครอง เผย ลูกเดินปลายเท้าหันเฉียง เดินช้าๆ ได้

วันที่ 27 ส.ค. 2561 เพจ Drama-addict โพสต์เตือนวานนี้โดยนำข้อมูลของคุณพ่อท่านหนึ่งโพสต์เล่าประสบการณ์ ลูกสาวหัดเดินแต่ปลายเท้ากลับดูไม่ปกติเหมือนเด็กคนอื่น เนื้อหาระบุว่า ลูกสาวอายุ 2 ขวบกว่า แม่สังเกตเห็นความผิดปกติตอนลูกหัดเดินที่ปลายเท้าจะเฉียงแปลกๆ เวลาเดินเท้าขวาจะเดินแบบ ปลายเท้าหันเฉียงด้านขวา และเวลาเดินจะไม่สามารถเดินแบบช้าๆ ได้แต่เวลาใส่รองเท้าจะเห็นอาการไม่ชัดเท่าไม่ใส่จะเดินขาลากไปข้างนึง จะไม่สามารถกระโดดแบบเด็กที่หัดกระโดดได้เพราะจะทรงตัวไม่อยู่ จึงได้พาไปหาแพทย์ที่โรงพยาบาล เกี่ยวกับกระดูก

แพทย์ แจ้งว่า ไม่ได้ผิดปกติอะไรและได้ส่งตัวไปยังแพทย์แผนไทย เพื่อให้ช่วยตรวจสอบ ซึ่งหลังจากแพทย์แผนไทยตรวจสอบแล้วแจ้งผู้ปกครองว่า อาจเป็นเพราะตอนเด็กหัดเดิน ลงน้ำหนักผิด จึงทำให้เดินท่าแบบนี้ จึงแนะนำให้ทำกายภาพ โดยกันนวด ท่านั่งสมาธิกดหัวเข่า ทั้ง 2 ข้าง รักษาแบบนี้อาทิตย์ละ 2 วัน รักษา 4-5 เดือน ก็ยังเหมือนเดิม ทำให้คุณแม่ร้อนใจนำตัวไปที่ ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ซึ่งแพทย์ก็ยังแนะนำเช่นเดียวกันแพทย์แผนไทย

ผู้ปกครอง ตัดสินใจพาลูกไปหาอาจารย์แพทย์อีกคนที่เชี่ยวชาญด้านนี้ เมื่อทำการตรวจวินิจฉัยพบว่า น้องเป็นโรคเอ็นข้อหย่อน ซึ่งเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธกรรม ทำให้เนื้อเยื่อทั่วร่างกายผิดปกติทำให้เกิดปัญหาเอ็นหย่อน ข้อหลวมกระจายทั่วทั้งร่างกาย

แพทย์ แนะนำว่า ให้พาน้องไปว่ายน้ำ เล่นเทควันโด้ จะช่วยให้ตรงส่วนข้อต่อเกิดการแข็งแรงขึ้นมา ซึ่งการรักษาโรคนี้ก็ประมาณนี้ คือเน้นเรื่องสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและข้อต่อ ฝึกการเคลื่อนไหว และหมอจะคอยเช็คสม่ำเสมอว่ามีปัญหาที่การพัฒนาการ

นอกจากนี้แพทย์ได้ขอตรวจคุณแม่ด้วย เพราะโรคนี้ถ่ายทอดทางพันธุกรรมและมักเป็นในเพศหญิงและพบว่า แม่ของลูกสาวก็เป็นและเริ่มมีอาการแทรกซ้อนจากการเป็นโรคนี้ คือเริ่มมีข้อเสื่อมแล้ว ทั้งที่ยังอายุไม่มาก

โรคเอ็นข้อหย่อน สามาสังเกตได้จาก ท่ายืนปลายเท้าแปออก หรือเข่าชนกันแต่เท้ากางออก หรือเด็กนั่งท่าที่ขาเป็นรูปตัวเอ็ม (M) หรือ W บ่อยๆ เพราะถ้าเด็กมีปัญหานี้จะนั่งท่านี้ได้ง่าย หากสังเกตว่าเด็กขาแปลกๆ ขาโก่ง เข่าโค้ง นั่งตัว W อย่าประมาทให้รีบพาไปหาหมอ แล้วไม่ต้องไปนั่งดัดขาเด็กเอง แบบนั้นไม่ช่วยอะไรอาจทำให้ขาเด็กมีปัญหาหนักกว่าเดิมได้ด้วย

 

ทั้งนี้  ข้อหลวม เอ็นข้อหย่อน มีระดับความรุนแรงตั้งแต่น้อยถึงมาก

1. ข้อหลวม เอ็นข้อหย่อนอย่างเดียวไม่มีอาการอื่นๆ หรือความผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย ภาวะนี้จะดีขึ้นเองตามอายุ

2. ข้อหลวม เอ็นข้อหย่อนโดยมีอาการ หรือความผิดปกติอื่นร่วมด้วย แต่ไม่รุนแรง เด็กในกลุ่มนี้มักมีอาการปวดตามข้อ เช่น ข้อเข่า ข้อนิ้วมือ ข้อมือ ข้อตะโพก ข้อศอก และข้อไหล่ ร่วมด้วยบางรายอ่อนเพลียนอนไม่หลับ เดินเชื่อช้า กระปลกประเปลี้ย ต้องได้รับการวินิจฉัย และดูแลใกล้ชิดเป็นพิเศษกว่าเด็กในกลุ่มแรก

3. ข้อหลวม เอ็นข้อหย่อนเป็นมาก มีอาการรุนแรงหรือมีความพิการผิดรูปร่วมด้วย ซึ่งจะปรากฏเด่นชัดตอนเด็กอายุมากขึ้น เด็กเหล่านี้จะมีกลุ่มอาการที่สำคัญ ได้แก่ การผิดรูป ผิดสัดส่วนของลำตัว แขนขา มีหลังคด เท้าบิด เข่าชนกัน ขาโก่ง เข่าโค้ง มือผิดรูป ผิดสัดส่วน ข้อตะโพกอาจเคลื่อนหรือหลุด เด็กอาจมีปัญหาทางตา ปัญหาการพูดการได้ยิน อาการข้างต้นที่กล่าวนี้จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาหลายฝ่ายร่วมกัน และมีการติดตามผลระยะยาว

ข้อหลวม เอ็นข้อหย่อนสาเหตุเกิดจาก การถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่ทำให้เนื้อเยื่อทั่วร่างกายผิดปกติและส่งผลให้เกิดความผิดปกติของระบบโครงสร้างและการเคลื่อนไหวของหลายโรคในเด็ก 10 อาการของความผิดปกติข้อหลวม เอ็นข้อหย่อน ที่พบบ่อยในทารกและเด็กเล็กอายุไม่เกิน 8 ปี

1. เท้าปุก (CLUB FOOT)

2. เท้า / ข้อเท้า / ข้อเข่า และข้อต่อทั่วไปอ่อนปวกเปียก

3. เท้าผิดรูปที่โครงสร้างส่วนกลางเท้า(MID-FOOT)

4. ต้นขาและขาบิดคด (TWISTED LEGS) ขาโก่ง เข่าโค้ง (BOW LEGS) ร่วมกับปลายเท้าบิดเข้าด้านใน

5. เข่าชนกัน (KNOCKED KNEE) มักร่วมกับ เท้าแป (FLAT FEET) และข้อต่อทั่วร่างกายอ่อนปวกเปียก (HYPER MOBILE JOINT) มักพบในเด็กที่ยืนเดินได้แล้ว

6. อุ้งเท้าแบนราบ / เท้าแป

7. นิ้วเท้าผิดปกติ เช่น หัวแม่เท้าชี้เข้าข้างใน , หัวแม่เท้าชี้ออกนอกโดยมีปุ่มชี้เข้าข้างใน , หัวแม่เท้าชี้ออกนอกโดยมีปุ่มที่โคนนิ้วใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และเจ็บ

8. นิ้วเท้าคดงอ / นิ้วเกยกัน

9. เท้าขนาดไม่เท่ากัน ขาสองข้างยาวไม่เท่ากัน

10. เท้าที่ขาดความรู้สึก (ANESTHETIC FOOT)

อ่านรายละเอียด โรคเอ็นข้อหย่อน

 

https://www.facebook.com/DramaAdd/photos/pcb.10156835448593291/10156835428518291/?type=3&theater

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า