SHARE

คัดลอกแล้ว

กองควบคุมโรค กทม. รายงานสถานการณ์ไข้เลือดออกระบาดหนักในเขตกรุงเทพฯ พบผู้ป่วยแล้วเกือบ 6 พันคน เขตหนองจอก, ดินแดง, ปทุมวัน และเขตบางกะปิ มีผู้เสียชีวิตรวม 5 ราย ทั้งหมดอยู่ในวัยทำงาน

วันที่ 18 ก.ย. 2561  พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ สั่งการให้สำนักอนามัย และสำนักงานเขตพื้นที่ทั้ง 50 เขต วางมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก หลังพบผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง เบื้องต้ยขอให้ลงพื้นที่ฉีดพ้นสารเคมีกำจัดยุงลายในจุดต่างๆ ซึ่งประชาชนสามารถแจ้งข้อมูลการแพร่ระบาดของยุงในพื้นที่ให้กทม.เข้าดำเนินการกำจัดและป้องกันโรคได้

นายเมธิพจน์ ชาตะเมธีกุล ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย กทม. เปิดเผยว่า สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่กรุงเทพปี 2561 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกสะสม จำนวน 5,899 ราย มีผู้เสียชีวิตจำนวน 5 ราย อยู่ในเขตหนองจอก 1 ราย, เขตดินแดง 2 ราย, เขตปทุมวัน 1 ราย และเขตบางกะปิ 1 ราย ผู้เสียชีวิตทั้งหมดอยู่ในกลุ่มคนวัยทำงาน ขณะที่สถิติปี 2560 มีจำนวนผู้ป่วยตลอดทั้งปีรวม 9,368 ราย มีผู้เสียชีวิตรวม 6 ราย ซึ่งแนวโน้มผู้ป่วยในปี 2561 มีการคาดการณ์จำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น

สำหรับพื้นที่เขตหนองจอก เป็นพื้นที่ในระยะ 1 เดือนที่ผ่านมา มีผู้ป่วยมากที่สุด ซึ่งพื้นที่เขตหนองจอกจากการสอบสวนโรคพบเป็นพื้นที่กว้าง และมีแหล่งพื้นที่ริมทาง จุดน้ำขังหลายบริเวณ อีกทั้งในชุมชนบางพื้นที่ มีการทิ้งขยะหมักหมมในบริเวณบ้านซึ่งเมื่อฝนตกเกิดน้ำท่วมขัง จึงเป็นแหล่งเพาะพันธ์ของยุงลายได้จำนวนมาก

สำหรับมาตราการเฝ้าระวัง เมื่อพบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก กทม.จะส่งทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วลงดำเนินการสอบสวนการระบาด ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายทั้งในบ้านและบริเวณรอบบ้าน พ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวเต็มวัยในรัศมี 100 เมตร รอบบ้านผู้ป่วย ภายใน 24 ชั่วโมง และจะลงพื้นที่เฝ้าระวังต่อเนื่องไปอีก 5ครั้ง เพื่อให้ควบคุมโรคเกิดประสิทธิภาพสูงสุด นอกเหนือจากที่พักอาศัย จะมีการตรวจสอบโรคจากสถานที่ทำงาน หรือโรงเรียนของผู้ป่วย ซึ่งอาจเป็นแหล่งก่อโรคได้เช่นกัน ซึ่งในพื้นที่เขตที่พบผู้เสียชีวิตจะเฝ้าติดตามต่อเนื่องอย่างเข้มข้นอย่างน้อย 1-2เดือน เพื่อไม่ให้เกิดผู้ป่วยซ้ำ

ทั้งนี้ ข้อมูลจากผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่พักอาศัยรูปแบบบ้านเช่า บ้านเดี่ยว และกลุ่มคนงานก่อสร้าง ซึ่งในพื้นที่นั้นๆ อาจมีจุดอับ หรือจุดที่เป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายได้ ดังนั้น กทม.จะมีการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในพื้นที่เสี่ยงทุกสัปดาห์

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า