SHARE

คัดลอกแล้ว

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเปิดเผยรายชื่ออาหารเสริมอันตรายที่มีการร้องเรียนให้ถอดถอนผลิตภัณฑ์ และยังมีขายอยู่บนตลาดออนไลน์ สุ่มตรวจ 16 ตัวอย่าง และพบว่ามีสารไซบูทรามีนและฟลูออกซิทีน

วันที่ 12 มิ.ย.2561 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยผลการสุ่มตรวจผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่บรรยายสรรพคุณว่าสามารถใช้บริโภคเพื่อการลดน้ำหนักได้ จำนวน 16 ตัวอย่าง พบว่า 6 ตัวอย่าง มีสารไซบูทรามีน และฟลูออกซิทีน ซึ่งเป็นยาอันตรายที่ห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ประกอบด้วย

1. AIKA รุ่นผลิต 21/11/2017 พบ ไซบูทรามีน และฟลูออกซิทีน
2. MINIMAL  พบ ไซบูทรามีน
3. S – Line  พบ ไซบูทรามีน
4. LYN รุ่นผลิต 10-01-2561 พบไซบูทรามีน
5. L-Fin by Luk-Sam-Rong รุ่นผลิต 1/7/60 พบ ไซบูทรามีน
6. Kalo พบ ฟลูออกซิทีน

และยังพบด้วยว่าผลิตภัณฑ์ AIKA, L-Fin และ Kalo นั้น มีชื่อผู้รับอนุญาตคนเดียวกัน

น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เรียกร้องให้ตลาดออนไลน์ ที่พบการขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มียาอันตราย นำสินค้าออกจากระบบทันที เพื่อแสดงความรับผิดชอบ และให้ตลาดและร้านค้าออนไลน์ตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพก่อนจำหน่ายทุกรายการ หลังจากนี้จะนำข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบให้หน่วยงานกำกับดูแลไปบังคับใช้กฏหมายที่เกี่ยวข้องโดยใช้บทลงโทษสูงสุด

น.ส.สถาพร อารักษ์วทนะ รายงานเพิ่มเติมว่า ได้สำรวจข้อมูลล่าสุดวันที่ 10 มิถุนายน 2561 พบว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ตรวจพบสารประกอบอันตรายไซบูทรามีน และฟลูออกซิทีน ทั้ง 6 ผลิตภัณฑ์ ยังพบการขายในร้านค้าออนไลน์ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยี่ห้อ ลีน (Lyn) ที่ทาง อย. ได้ประกาศว่าเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ และยกเลิกเลขทะเบียนผลิตภัณฑ์แล้ว อีกทั้งผลิตภัณฑ์ยี่ห้อนี้ยังเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตถึง 4 ราย  จึงขอเรียกร้องให้ทาง หน่วยงานกำกับดูแลหลัก (อย.) และหน่วยงานกำกับดูแลอื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้อง บังคับใช้กฎหมายโดยทันที กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จะต้องบังคับใช้กฎหมายกับผู้ประกอบการออนไลน์ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ มาตรา 15 – ผู้ให้บริการ หรือ ผู้ดูแลระบบ หรือแอดมินเพจ ที่เปิดให้มีการนำเข้าข้อมูล เมื่อพบเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย ถ้าได้รับการแจ้งเตือนแล้วลบออก ไม่ต้องรับโทษ แต่ถ้าไม่ยอมลบออก โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สารไซบูทรามีน เป็นยาต้านอาการซึมเศร้า ถูกถอนออกจากตลาดในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ยุโรป และอีกหลายประเทศ เพราะยาดังกล่าวมีความเสี่ยงทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันเลือดสูง เสี่ยงการที่ทำให้หัวใจขาดเลือดและการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ปัจจุบันในประเทศไทย ห้ามผู้รับอนุญาตนำเข้าหรือขายยาดังกล่าว ตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ. 2510 มาตรา 72(5) ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุก 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนประชาชนที่ขายหรือนำเข้ายานี้ ถือว่าเป็นการขายหรือนำเข้ายาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา 12 ต้องรับโทษตามมาตรา 101 คือ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 50,000 บาท

ส่วนฟลูออกซิทีนนั้นเป็นยาที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคหิวไม่หายแบบทานแล้วอาเจียน จัดเป็นยาแผนปัจจุบันประเภทยาอันตรายตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งหากผลิตภัณฑ์ใดได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์อาหารในประเทศไทย แล้วตรวจพบไซบูทรามีนหรือฟลูออกซิทีนในส่วนผสม ถือว่าเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ ตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และอาจเข้าข่ายอาหารปลอมถ้าหากมีฉลากเพื่อลวงให้เกิดความเข้าใจผิด ซึ่งมีโทษจำคุกทั้งแต่ 6 เดือน ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 – 100,000 บาท

https://www.facebook.com/fconsumerthai/videos/1594731693983720/

 

อ้างอิงข้อมูลจาก มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า