SHARE

คัดลอกแล้ว

อย. ร่วมกับ บก.ปคบ. ทลายโรงงานลักลอบผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก และโรงงานเถื่อนลักลอบผลิตยาจุดกันยุงถืน ในจังหวัดสมุทรสาคร ปทุมธานี และ นครราชสีมา รวม 4 แห่ง มูลค่าของกลางรวมกว่า 10 ล้านบาท

วันที่ 14 มิ.ย. 2562 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา พร้อมด้วย นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ และ เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (กก 4.บก.ปคบ.) นำทีมโดยพลตำรวจตรีศิร์ธัชเขต ครูวัฒนเศรษฐ์ ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับผู้บริโภค พร้อมด้วย พันตำรวจเอกวินัย วงษ์บุบผา รองผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับผู้บริโภค พันตำรวจเอกชนันนัทธ์ สารถวัลย์แพศย์ ผู้กำกับการ 4 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับผู้บริโภค และกองบังคับการปราบปราม ร่วมกันแถลงผลการจับกุม

นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้มีการติดตามเฝ้าระวังและตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพมาโดยตลอด และได้รับการแจ้งเตือนภัยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่ปลอดภัยจากต่างประเทศที่ตรวจสอบพบไซบูทรามีน คือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ฉลากระบุ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตรวจพบยาแผนปัจจุบัน Sibutramine Sennosides และ Bisacodyl ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเข้าข่ายจัดเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 จากข้อมูลการอนุญาตสถานที่ผลิตอาหารของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พบว่า บริษัทได้รับใบอนุญาตผลิตอาหาร เลขที่ 74-1-12560 จึงได้สนธิกำลังร่วมกับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (กก 4.บก.ปคบ.) นำหมายค้นลงพื้นที่เก็บข้อมูลหลักฐานและสืบสวนในเชิงลึกจนได้ข้อมูลชัดเจน โดยได้เข้าตรวจสอบสถานที่จำนวน 2 แหล่ง

แหล่งที่ 1 บ้านเลขที่ 9/83 จังหวัดสมุทรสาคร ได้รับอนุญาตเป็นสถานที่ผลิตจาก อย. เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2560 แต่ในขณะที่เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบพบว่าสถานที่ดังกล่าวมีลักษณะเป็นอาคารเช่าประกอบกิจการโรงงาน โดยผู้ประกอบการปัจจุบันชี้แจงว่าได้เช่าโรงงานดังกล่าวมาตั้งแต่ 14 พฤศจิกายน 2561 โดยดำเนินกิจการประกอบชิ้นส่วนเครื่องจักรโรงงาน ไม่ได้ประกอบกิจการผลิตอาหารแต่อย่างใด

แหล่งที่ 2 บ้านเลขที่ 99/24 ทำธุรกิจจำหน่ายน้ำปลาร้าพาสเจอร์ไรส์ ภายในพบถุงกระสอบบรรจุกล่องลูกฟูกบรรจุผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตรวจพบเอกสารเกี่ยวกับการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอื่นๆ รวมทั้งตรวจพบป้ายของบริษัทเก็บไว้อยู่ภายใน ประกอบกับพบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีไว้เพื่อจำหน่าย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อย.74-1-12560-5-0015 ซึ่งระบุวันผลิต 17/2/62 อีกทั้งยังพบกล่องบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตรา…. อย.74-1-12560-5-0014 ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 รายการ แสดงข้อความ ผลิตโดยบริษัทเลขที่ 9/83 หมู่5 ตำบลบางน้ำจืด อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เบื้องต้นพบว่า มีการแสดงฉลากไม่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่จึงได้ยึดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดังกล่าว รวมทั้งบรรจุภัณฑ์ และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ตรวจพบ ส่งตรวจวิเคราะห์ ณ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อหาการปลอมปนยาแผนปัจจุบัน

ทั้งนี้ การกระทำดังกล่าวมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 คือ 1.พบการแสดงฉลากไม่ถูกต้อง เช่น ฉลากไม่แสดงข้อความภาษาไทยกำกับไว้ เป็นต้น มีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท ประกอบกับกรณีที่ฉลากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารระบุชื่อที่ตั้งสถานที่ผลิต และระบุรุ่นการผลิต ซึ่งเป็นช่วงเวลา ภายหลังจากสถานที่ตั้งดังกล่าวไม่มีสภาพเป็นสถานที่ผลิตอาหารแล้ว ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเข้าข่ายเป็นอาหารที่มีการแสดงฉลากเพื่อลวง หรือพยายามลวงให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดในเรื่องสถานที่ผลิต จัดเป็นอาหารปลอมมีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน – 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 – 100,000 บาท

2.กรณีตรวจพบยาแผนปัจจุบัน จัดเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่มีสิ่งที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพเจือปนอยู่ เข้าข่ายจัดเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ มีโทษจําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ทั้งนี้กรณีเป็นผู้จำหน่ายปลีกให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ถ้าผู้นั้นกระทำความผิดอีกภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ได้กระทำความผิดครั้งก่อน มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับ ไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากตรวจพบไซบูทรามีนจะมีความผิดตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559 มีโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปีถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 – 400,000 บาท อีกด้วย

พล.ต.ต.ศิร์ธัชเขต ครูวัฒนเศรษฐ์ ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับผู้บริโภค กล่าวเพิ่มเติมว่า บก.ปคบ. ได้มีการตรวจสอบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนผสมของไซบูทรามีน และได้ทำการสืบสวนหาแหล่งที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจนสืบทราบว่าเป็นโรงงานที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ผลิตอาหารตั้งอยู่ที่ย่านคลองสี่ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2562 จึงได้นำหมายค้นเข้าทำการ ตรวจค้นพบแคปซูลผลิตภัณฑ์ลดความอ้วนและแคปซูลอาหารเสริมยังไม่ได้บรรจุแผง จำนวนกว่า 100,000 แคปซูล พร้อมทั้งพบเครื่องจักรที่ใช้ใน การผลิต มูลค่าของกลางรวมกว่า 5 ล้านบาท จึงได้ทำการตรวจยึดผลิตภัณฑ์ทั้งหมด ซึ่งพฤติการณ์ดังกล่าวอาจเป็นความผิดฐาน “ตั้งโรงงานผลิตอาหารโดยไม่ได้รับอนุญาต” มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และฐานผลิต ขายหรือมีไว้เพื่อขายวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 1 โดยผิดกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559 มีโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปีถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 – 400,000 บาท

นอกจากนี้ ยังได้บุกทลายโรงงานผลิตยาจุดกันยุงเถื่อนยี่ห้อกวางทอง หรือ goldeer ตั้งอยู่ที่โรงงานเลขที่ 225 หมู่ 3 ตำบลหนองบัวศาลา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ขณะตรวจพบคนงานประมาณ 10 คนกำลังผลิต โดยนำขดยาจุดกันยุงเข้าเครื่องเพื่อพ่นเคลือบน้ำยาส่วนผสมสารกำจัดแมลง ก่อนนำมาแพคบรรจุ ซึ่งของกลางที่พบประกอบด้วยยาจุดกันยุงยี่ห้อกวางทองที่พร้อมจำหน่ายจำนวน 79,200 กล่อง ถังผสมน้ำยา วัตถุดิบสารกำจัดแมลง ตัวทำละลาย น้ำหอม ขดยาจุดกันยุงเปล่าที่ยังไม่ได้เคลือบยา 1,320 ลัง และกล่องยาจุดกันยุงกวางทอง ซึ่งคาดว่าสามารถผลิตยาจุดกันยุงเพื่อจำหน่ายได้เพิ่มอีก 70,000 กล่อง ยาจุดกันยุงยี่ห้อดังกล่าว ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนและไม่ได้ขออนุญาตกับทาง อย. ทั้งนี้ ตัวผู้ผลิตเองก็ไม่ทราบว่ายาจุดกันยุงที่ผลิตใช้สารกำจัดแมลงชนิดใด แต่จากผลการตรวจวิเคราะห์เดิมที่ อย. เคยเก็บ พบสาร meperfluthrin เป็นสารกลุ่ม pyrethriods ซึ่งจัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ที่ต้องขึ้นทะเบียนและขออนุญาตก่อนผลิตหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักร นอกจากนี้ สาร meperfluthrin ซึ่งเป็นสารสำคัญในยาจุดกันยุงกวางทอง ยังไม่เคยได้รับขึ้นทะเบียนกับ อย. มาก่อน จึงไม่ได้ผ่านการประเมินความปลอดภัยและประสิทธิภาพ อัตราส่วนผสมที่เหมาะสมในการใช้ จึงก่อให้เกิดความเสี่ยงเป็นอันตรายต่อตัวผู้ใช้ได้ โดยอันตรายจากสารกลุ่ม pyrethriods จะส่งผลกระทบต่อระบบประสาทและความรุนแรงขึ้นอยู่กับปริมาณที่ร่างกายรับเข้าไป ซึ่งร่างกายรับสารนี้ได้ทางการกินกับการหายใจ และจะถูกกำจัดออกจากร่างกายใช้เวลา 4-12 วัน หากได้รับปริมาณมากจะมีอาการมึนงง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุกชัก หมดสติ หรือพบอาการอื่น ๆ เช่น การระคายเคืองผิวหนังหรือทางเดินหายใจ

การกระทำดังกล่าวมีความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย ดังนี้ 1.ผลิตวัตถุอันตราย โดยไม่ได้ขออนุญาตผลิตวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ, 2.ผลิตวัตถุอันตรายที่ต้องขึ้นทะเบียนแต่มิได้ขึ้นทะเบียน มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน300,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ, 3.ขายวัตถุอันตรายที่แสดงฉลากไม่ถูกต้องโดยเป็นการกระทำของผู้ผลิต มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และ4.ปลอมปนสารที่อาจเป็นอันตรายแก่สุขภาพในเครื่องอุปโภค เพื่อบุคคลอื่นเสพหรือใช้ มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ มูลค่าของกลางทั้งสิ้นจากการเข้าตรวจสอบทั้ง 4 แหล่ง รวมกว่า 10 ล้านบาท

เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า ขอย้ำเตือนไปยังผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่โฆษณาอวดอ้างเกินจริงทางสื่อออนไลน์ โดยอ้างว่าสามารถลดน้ำหนัก บำบัด บรรเทาหรือรักษาโรคที่ร้ายแรงได้ ในส่วนของผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย ขอให้ผู้บริโภคให้ความสำคัญและตรวจดูเลขทะเบียน และเครื่องหมาย อย. ในผลิตภัณฑ์ที่เลือกใช้ด้วย เพื่อสร้างความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์นั้นได้ผ่านการตรวจสอบแล้วว่าปลอดภัย ใช้แล้วไม่เกิดอันตราย โดยผู้บริโภคสามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพก่อนการเลือกซื้อได้ที่ Application “ตรวจเลข อย.” ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางการสื่อสารที่ช่วยเข้าถึงมือผู้บริโภคได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว เป็นการสร้างความมั่นใจเบื้องต้นให้กับผู้บริโภค ย้ำอย่าได้หลงเชื่อตกเป็นเหยื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารที่โอ้อวดสรรพคุณเกินจริง ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายทางช่องทางใดก็ตามขอให้พิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนซื้อ อย่าหลงเชื่อโฆษณาอวดอ้างว่าสามารถให้ผลในการบำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกัน

https://www.facebook.com/MTlikesara/posts/1033429100196607

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า