Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

นายประลอง ดำรงค์ไทย อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.)

อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ยืนยันกณฑ์ดัชนีคุณภาพอากาศ  50 มคก./ลบ.ม.เป็นไปตามข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก ตอบไม่ได้ว่าคุณภาพอากาศในไทยวิกฤตแล้วหรือไม่ แต่ถ้าอ่านจากค่าตัวเลขสภาพอากาศอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

วันที่ 22 ม.ค.2563 นายประลอง ดำรงค์ไทย อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เปิดเผยกับเวิร์คพอยท์ ทูเดย์ ถึงแนวทางการปรับเปลี่ยนเกณฑ์ดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) ของไทยที่ตั้งไว้ว่าค่าระดับฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 อยู่ที่ระดับ 50 มคก./ลบ.ม. ว่า อยู่ในแผนของกรมควบคุมมลพิษที่นำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีไปแล้วเมื่อวันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา ยืนยันว่าเกณฑ์ดัชนีคุณภาพอากาศเป็นไปตามข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)

เมื่อถามว่าประชาชนรู้สึกว่าปัญหาฝุ่นอยู่ในระดับวิกฤตแล้วแต่ดูเหมือนกรมควบคุมมลพิษพยายามออกมาบอกว่ามันไม่ได้แย่ขนาดนั้น อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ชี้แจงว่าตามมาตรฐานที่ได้รับคำแนะนำจากองค์การอนามัยโลกว่า ค่ามาตรฐาน 50 มคก./ลบ.ม. ค่าตัวเลขขึ้นเท่าใดก็จะอยู่ในกรอบที่มีอยู่ ถ้าจะถามว่าวิกฤตหรือไม่ ต้องดูจากค่าที่อ่านได้ ถ้าถามว่าเป็นห่วงสุขภาพหรือไม่ ต้องตอบว่าเป็นห่วงทั้งสุขภาพตัวเองและทุกคน ยืนยันทำตามแนวทางมาตรฐานที่มีอยู่ คือ เกณฑ์ของดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย สภาพอากาศดี อยู่ที่ระดับ 0 – 25 มคก./ลบ.ม.ปานกลาง 26 – 50 มคก./ลบ.ม. ปานกลาง 51 – 100 มคก./ลบ.ม. เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ 101 – 200 มคก./ลบ.ม. และ 201มคก./ลบ.ม.ขึ้นไป มีผบกระทบต่อสุขภาพ

นายประลอง กล่าวว่า การกำหนดค่ามาตรฐานฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศจะต้องผ่านคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติแล้วจึงประกาศใช้ ซึ่งองค์การอนามัยโลกเวลาแนะนำจะพิจารณาจากบริบทของแต่ละประเทศว่าเป็นอย่างไร ซึ่งของไทยพิจารณาแล้วว่าดัชนีคุณภาพอากาศมาตรฐานที่ 50 มคก./ลบ.ม. เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย ซึ่งบริบทของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน ตอนนี้ไทยยังใช้รถยนต์ที่มีอายุมากกว่า 20-30 ปี เพราะประชาชนมีรายได้ระดับปานกลางถึงน้อย ไม่มีกำลังทรัพย์ที่จะซื้อรถใหม่ รถยิ่งเก่าสภาพก็ยิ่งเสื่อมโทรมลงไปแม้จะบำรุงรักษา ค่าฝุ่นจึงเข้มข้นขึ้น แต่เราก็ดูไม่ให้ค่าควันที่ออกมาเกินค่ามาตราฐานตามกฎหมาย ประกอบกับการจราจรและการขนส่งสาธารณะยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ยังไม่เรียบร้อย ตรงนี้ต่างจากต่างประเทศ ไทยยังทำไม่ได้และต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 ปี รถไฟฟ้าจึงจะเสร็จและจะมีการขยายส่วนไปอีก

อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ย้ำว่า บริบทของประเทศไทยยังไม่พร้อม ขนส่งสาธารณะยังไม่พร้อม เราจะไปห้ามประชาชนไปใช้รถยนต์ส่วนตัวก็ยังไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม แต่เมื่อไดที่ประเทศไทยระบบขนส่งสาธารณะเสร็จและสมบูรณ์ เมื่อนั้นถ้าเรายังไม่ลดการการใช้รถยนต์อยู่ ตรงนี้จะเป็นแนวทางที่เราจะต้องหาวิธีการ

กทม. นำร่องมาตรการเร่งด่วนแก้ปัญหาช่วงวิกฤติคุณภาพ PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน สั่งปิดโรงเรียนในสังกัด 1 วัน พร้อมให้ข้าราชการหน่วยงานในสังกัด เหลื่อมเวลาเข้าและเลิกงาน

ขณะที่วานนี้ ( 21 ม.ค.63)  ร.ต.อ.พงศกร ขวัญเมือง รองโฆษกกรุงเทพมหานคร แถลงมาตรการเร่งด่วนของกรุงเทพมหานคร  4 มาตรการ เพื่อแก้ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน ประกอบด้วย

  1. หน่วยงานของกทม. เหลื่อมเวลาทำงาน เริ่ม 10.00 – 18.00 น. ตั้งแต่ 22 ม.ค. เป็นต้นไป
  2.  วันที่ 22 ม.ค. ประกาศหยุดเรียน โรงเรียนในสังกัดกทม. 437 แห่ง
  3.  เพิ่มการแจกหน้าอนามัย N95 ที่สถานีรถไฟฟ้า-รถเมล์ตั้งแต่วันนี้
  4.  ขอประชาชนป้องกันตัวเองด้วยการสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ออกนอกอาคาร

ร.ต.อ.พงศกร ขวัญเมือง รองโฆษกกรุงเทพมหานคร

ร.ต.อ.พงศกร กล่าวว่า เหตุที่ต้องใช้มาตรการเหลื่อมเวลาการทำงานของข้าราชการกทม. ต้องเข้าใจว่าช่วงเวลาเร่งด่วนตั้งแต่ 06.00 – 09.00 น. และช่วงเวลา 15.30 – 18.00 น. เพื่อจะเอารถออกจากถนนในช่วงเวลาเร่งด่วน จราจรลื่นไหล ไม่ต้องแตะเบรคบ่อย เพราะการเร่งเครื่องทำให้เกิดฝุ่น อยากรณรงค์ให้หน่วยงานอื่นๆ เหลื่อมเวลาทำงานด้วย ยืนยันการให้บริการประชาชนจะไม่ได้รับผลกระทบ การเหลื่อมเวลา ไม่ได้ทำกับหน่วยงานบริการประชาชน

ส่วนการประกาศให้โรงเรียนหยุดในวันพรุ่งนี้ 1 วันก่อน เพราะจากการพยากรณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา คาดว่า พรุ่งนี้ยังมีฝุ่นอยู่ นอกจากจะลดรถบนถนนในช่วงวิกฤติ ที่สำคัญคือเด็กที่ต้องทำกิจกรรมกลางแจ้ง หลายโรงเรียนในสังกัดไม่มีเครื่องฟอกอากาศ ย้ำประชาชนเรื่องการสวมหน้ากากอนามัย N95 สามารถรับได้ที่สถานีอนามัย 68 ศูนย์

ทั้งนี้ จะติดตามสถานการณ์ในวันพรุ่งนี้ก่อนจะพิจารณาปิดโรงเรียนหรือมาตรการอื่นๆ ต่อไป

สำหรับเช้านี้ 22 ม.ค.2563  เวลา 07.00 น. กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) รายงานข้อมูลคุณภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีปริมาณฝุ่นละอองในภาพรวมมีแนวโน้มลดลงในหลายพื้นที่ โดยตรวจพบฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เกินค่ามาตรฐาน 18 พื้นที่ อยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น ริมถนนลาดพร้าว ซอยลาดพร้าว 95 เขตวังทองหลาง ตรวจวัดได้ 73 มคก./ลบ.ม., ริมถนนดินแดง เขตดินแดง ตรวจวัดได้ 65 มคก./ลบ.ม., แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ ตรวจวัดได้ 64 มคก./ลบ.ม., ริมถนนพหลโยธิน เขตบางเขน ตรวจวัดได้ 63 มคก./ลบ.ม.
ริมถนนนวมินทร์ แยกบางกะปิ เขตบางกะปิ ตรวจวัดได้ 61 มคก./ลบ.ม.

ทั้งนี้ คพ.ขอให้ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น และติดตามสถานการณ์ฝุ่นละอองอย่างใกล้ชิด โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเร่งบรรเทาสถานการณ์ฝุ่นละอองให้กลับสู่ปกติ ประชาชนสามารถติดตามสถานการณ์ได้ทางเว็บไซต์ Air4Thai.com แอปพลิเคชั่น Air4Thai และ bangkokairquality.com

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า